แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การได้มาโดยนิติกรรมในสิทธิทางเดิน แม้ตามกฎหมายเก่าก่อนใช้ประมวลแพ่งฯก็ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์มีผลได้ตามกฎหมาย ปพพม 1299-1387-1429-1349 ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.142-247 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางในชั้นฎีกากล่าวด้วยว่าถ้าเจ้าของข้างเคียงปิดอย่างจำเลย+แล้วโจทก์ไม่มีทางออกดังนี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ย่อยาว
ได้ความว่าโจทก์มีที่ดินอยู่แห่งหนึ่งซึ่งมารดาโจทก์แบ่งซื้อไว้จาก ธ.ที่รายนี้มีที่ดินของ ท.ปิดขวางหน้าอยู่ออกถนนใหญ่ไม่ได้ ธ.ได้ทำถนนขึ้นติดที่ของ ท.แลอนุญาตให้โจทก์แลผู้ซื้อคนอื่น ๆ ใช้ถนนนี้เดินไปมาได้ ที่ ๆ ธ.ทำถนนขึ้นนี้ยังอยู่ในโฉนดของ ธ.ระหว่างนี้ ธ.เอาโฉนดรายนี้ซึ่งมีถนนรวมอยู่ด้วยไปจำนองไว้ กับจำเลยแล้วผิดนัด จำเลยจึงฟ้องขอบังคับจำนอง ในที่สุดจำเลยเป็นผู้รับซื้อที่รายนี้พร้อมทั้งถนนไว้ได้ จากการขายทอดตลาดจำเลยจึงทำรั้วกั้นถนนรายนี้เสีย โจทก์เดินเข้าออกไม่ได้ จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายแลขอให้รื้อถอน รั้วที่กีดขวางทางออก
ศาลเดิมเห็นว่าสัญญาระวางโจทก์กับ ธ.ในเรื่องให้โจทก์มีสิทธิในที่รายพิพาทนี้ได้นั้น ไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ได้จดทะเบียนตาม พรบออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.๑๒๗ ม.๓๙ จึงพิพากษาให้ยกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ศาลฎีกาเห็นว่าสิทธิเช่นนี้แม้ตามกฎหมายเก่าก่อนประมวลแพ่ง ฯ ก็ต้องจดทะเบียนเหมือนกันดังที่ศาลล่างอ้างไว้ ส่วนที่ว่าเป็นถนนสาธารณนั้น เห็นว่าฟ้องโจทก์ก็มิได้กล่าวว่าเป็นทางสาธารณ แล ธ.เจ้าของที่ยังสงวนไว้เป็นกรรมสิทธิของตนทั้งเพื่อ+ใช้เดินมา ๘ ปีเท่านั้น ส่วนข้อที่โจทก์ว่าถ้าเจ้าของที่ดินพากันปิดทางเสียหมด โจทก์ก็ไม่มีทางออกนั้น ศาลฎีกาเห็นว่ายังไม่มีใครทำเช่นนั้นจึงไม่วินิจฉัยถึงจึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์