คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2484

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ปัญหาที่ว่าพินัยกรรม์จะใช้ได้หรือไม่นั้น ไม่เป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในสภาพบุคคลและสิทธิในครอบครัว

ย่อยาว

เดิมพระยาสุรเทพภักดีทำพินัยกรรม์ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรภริยาเดิม ต่อมาพระยาสุรเทพฯทำพินัยกรรมฉะบับใหม่ยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่จำเลย เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาสุรเทพฯถึงแก่กรรมโจทก์ยื่นคำร้องขอจัดการศพและมฤตก จำเลยคัดค้าน โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ขอให้ศาลแสดงว่าพินัยกรรม์ของพระยาสุรเทพฯที่จำเลยอ้างเป็นฌมฆะ เพราะทำไม่ถูกแบบ เป็นพินัยกรรม์ปลอมหรือมิฉะนั้นก็ได้ใช้กลฉ้อฉลให้ผู้ตายทำ เพราะผู้ตายเป็นโรคอัมพาตสติฟั่นเฟือง
ศาลแพ่งเห็นว่าพินัยกรรม์พิพากษานี้ พระยาสุรเทพฯ ได้เขียนทั้งฉะบับลงลายมือชื่อด้วยตนเอง และทำขึ้นโดยสุจริตเป้นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ถูกต้องตามแบบที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา ๑๖๕๗ หาใช่พินัยกรรมปลอมหรือทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลซึ่งผู้ทำมีสติฟั่นเฟืองไม่สมประกอบดังฟ้องอย่างใดไม่ จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่าพินัยกรรมฉะบับพิพาตเป็นพินัยกรรมปลอมโดยพระยาสุรเทพฯ ไม่ได้ทำหรือทำก็ไม่มีเจตนาจะทำเพราะสติไม่ปกตินั้น โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.๒+๘ วรรคต้นและไม่เข้าข้อยกเว้นในวรรค ๒ เพราะคดีนี้เป้นกรณีพิพาตโต้เถียงแต่ในเรื่องพินัยกรรม์ว่าจะใช้ได้หรือไม่เท่านั้น ไม่มีข้อพิพาทที่เกี่ยวด้วยสภาพแห่งบุคคลและสิทธิในครอบครัว ในที่สุดให้บัคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง

Share