คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยแทงผู้เสียหายก่อนผู้เสียหายแย่งมีดจำเลยสะบัดหลุดแล้วแทงหน้าท้องผู้เสียหายและดึงปืนไปจากเอวผู้เสียหายและวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันการที่จำเลยฎีกาว่าผู้เสียหายชักปืนออกก่อนแล้วกระชากลูกเลื่อนจำเลยจึงเข้ากอดปล้ำและแทงหน้าท้องผู้เสียหายเป็นการป้องกันจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีจำเลยจึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218. ผู้เสียหายถูกจำเลยใช้มีดพกปลายแหลมยาวประมาณ1ฟุตแทงมีบาดแผล3แห่งคือที่ชายโครงขวา2แผลขอบเรียบ5เซนติเมตรลึกกล้ามเนื้อขาดเป็นรูปปากฉลามที่ด้านหลังซ้ายขอบเรียบ1เซนติเมตรแผลลึกที่หัวไหล่ซ้ายขอบเรียบ1เซนติเมตรแผลตืนแพทย์ผู้ตรวจรักษาเบิกความว่าบาดแผลที่1ลึกมากเป็นแผลสำคัญถูกกล้ามเนื้อและเส้นเลือดมีอาการเลือดออกมากผู้เสียหายรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ7-8วันก็ไปรักษาตัวต่อที่บ้านระหว่างรักษาตัวผู้เสียหายว่าไม่สามารถไปทำนาได้ตามปกติผู้เสียหายไปให้การในชั้นสอบสวนหลังเกิดเหตุ25วันว่าบาดแผลภายนอกหายแล้วแต่ยังรู้สึกเจ็บข้างในแถวลิ้นปี่กับเอวเชื่อว่าผู้เสียหายมีอาการป่วยเจ็บจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันซึ่งเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา297.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ใช้ มีดพก ปลายแหลม ยาว ประมาณ 1 ฟุต แทงผู้เสียหาย ได้ รับ บาดเจ็บ สาหัส โดย มี เจตนา ฆ่า ขอ ให้ ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา297 จำคุก 2 ปี 8 เดือน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย แทงผู้เสียหาย ข้างหลัง ก่อน และ ผู้เสียหาย จับ มือ แย่ง มีด จำเลย สะบัดหลุด จึง สามารถ แทง หน้าท้อง ผู้เสียหาย จน ล้ม ลง แล้ว จำเลย ฉวยโอกาส ดึง ปืน ไป จาก เอว ผู้เสียหาย เพราะ เกรง จะ ถูก ผู้เสียหายใช้ ปืน ทำร้าย การ กระทำ ของ จำเลย ไม่ เป็น การ ป้องกัน การ ที่ จำเลยฎีกา ว่า ผู้เสียหาย ชัก ปืน ออก ก่อน แล้ว กระชาก ลูกเลื่อน จำเลยจึง เข้า กอดปล้ำ และ แทง หน้าท้อง ผู้เสียหาย เป็น การ ป้องกัน จึงเป็น ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง คดี นี้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน ตามศาลล่าง และ ให้ ลงโทษ จำคุก จำเลย ไม่ เกิน ห้า ปี จำเลย จึง ฎีกาใน ปัญหา ข้อเท็จจริง มิได้ ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ศาลฎีกา จึง ไม่ รับวินิจฉัย ใน ปัญหา ข้อนี้
ส่วน ปัญหา ที่ ว่า ผู้เสียหาย ได้ รับ บาดเจ็บ สาหัส หรือ ไม่ นั้นปรากฏ จาก รายงาน ชันสูตร บาดแผล ผู้เสียหาย เอกสาร หมาย ปจ.1 ว่าผู้เสียหาย มี บาดแผล 3 แห่ง คือ ที่ ชายโครง ขวา 2 แผล ขอบ เรียบ5 เซนติเมตร ลึก กล้ามเนื้อ ขาด เป็น รูป ปากฉลาม ที่ ด้านหลัง ซ้ายขอบ เรียบ 1 เซนติเมตร แผล ลึก ที่ หัวไหล่ ซ้าย ขอบ เรียบ 1เซนติเมตร แผล ตื้น นาย จำเรียง เหราปัตย์ แพทย์ ผู้ตรวจ รักษาผู้เสียหาย เบิกความ ว่า บาดแผล ของ ผู้เสียหาย ที่ 1 ลึก มาก เป็นบาดแผล สำคัญ ถูก กล้ามเนื้อ และ เส้น เลือด มี อาการ เลือด ออก มากผู้เสียหาย และ นาง ลำเจียก เบิกความ ตรง กัน ว่า ผู้เสียหาย รักษาตัว ใน โรงพยาบาล ประมาณ 7 – 8 วัน ก็ ไป รักษา ตัว ต่อ ที่ บ้านระหว่าง รักษา ตัว ผู้เสียหาย ว่า ไม่ สามารถ ไป ทำนา ได้ ตาม ปกติผู้เสียหาย ไป ให้การ ใน ชั้น สอบสวน เมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน 2526หลัง เกิดเหตุ 25 วัน ว่า บาดแผล ภายนอก หาย แล้ว แต่ ยัง รู้สึก เจ็บข้าง ใน แถว ลิ้นปี่ กับ เอว จึง มี เหตุผล พอ เชื่อ ได้ ว่าผู้เสียหาย มี อาการ ป่วย เจ็บ จน ประกอบ กรณียกิจ ตาม ปกติ ไม่ ได้เกิน กว่า ยี่สิบ วัน ซึ่ง เป็น อันตราย สาหัส ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ลงโทษ จำเลย มา นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน.

Share