แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497มาตรา3(1)บัญญัติว่า’ออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น’และข้อความในตอนท้ายของมาตราดังกล่าวที่บัญญัติว่า’ถ้าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นมีความผิด…….ฯลฯ……..’เป็นองค์ประกอบที่ทำให้การกระทำผิดเกิดขึ้นสำเร็จจะขาดองค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่งมิได้การกระทำที่จะเป็นความผิดดังกล่าวจะต้องได้ความว่าจำเลยไม่มีเงินอยู่ในบัญชีเพียงพอที่จะจ่ายตามเช็คของตนในวันออกเช็คฉะนั้นหากมีการเรียกเก็บเงินตามเช็คหลังจากวันที่เช็คถึงกำหนดโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าในวันออกเช็คจำเลยไม่มีเงินในบัญชีธนาคารพอจ่ายตามเช็คคดีนี้เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายตามเช็คนั้นได้หรือไม่ข้อนำสืบของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าคดีโจทก์มีมูลความผิดตามฟ้องแม้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ก็ต้องนำสืบให้ปรากฏถึงข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นด้วยเมื่อโจทก์มิได้นำสืบคดีโจทก์ก็ไม่มีมูล.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ออกเช็ค ชำระ หนี้ ให้ โจทก์ เมื่อ เช็ค ถึงกำหนด โจทก์ นำ เข้า บัญชี แต่ ธนาคาร ตาม เช็ค ปฏิเสธ การ จ่าย เงินด้วย เหตุผล ว่า บัญชี ปิด แล้ว การ กระทำ ของ จำเลย เป็น การ สั่งจ่ายเช็ค โดย มี เจตนา จะ ไม่ ให้ มี การ ใช้ เงิน ตาม เช็ค ขอ ให้ ลงโทษตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497มาตรา 3
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ ฎีกา ว่า ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ไม่ มี คำว่า’ใบ ขณะ ออกเช็ค’ ดังนั้น เมื่อ ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน จำเลย จึงต้อง มี ความผิด ซึ่ง ใน ชั้น ไต่สวน มูลฟ้อง โจทก์ นำสืบ ว่า จำเลยเป็น ผู้ออกเช็ค และ ธนาคาร ตาม เช็ค ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน คดี โจทก์ จึงมีมูล แล้ว พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ตาม คำฟ้อง โจทก์ บรรยาย การ กระทำของ จำเลย ที่ อ้าง ว่า เป็น ความผิด ก็ คือ จำเลย ออก เช็ค โดย เจตนาที่ จะ ไม่ ให้ ใช้ เงิน ตาม เช็ค นั้น ซึ่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3(1) บัญญัติ ว่า ‘ออกเช็ค โดย เจตนา ที่ จะ ไม่ ให้ มี การ ใช้ เงิน ตาม เช็ค นั้น’และ ข้อความ ใน ตอนท้าย ของ มาตรา ดังกล่าว ที่ บัญญัติ ว่า ‘ถ้า ธนาคารปฏิเสธ ไม่ จ่าย เงิน ตาม เช็ค นั้น มี ความผิด……..ฯลฯ………’เป็น องค์ประกอบ ที่ ทำ ให้ การ กระทำ ผิด เกิดขึ้น สำเร็จ จะ ขาดองค์ประกอบ ข้อใด ข้อหนึ่ง มิได้ ดังนั้น การ กระทำ ที่ จะ เป็น ความผิดดังกล่าว จะ ต้อง ได้ ความ ว่า จำเลย ไม่ มี เงิน อยู่ ใน บัญชี เพียงพอที่ จะ จ่าย ตาม เช็ค ของ ตน ใน วัน ออกเช็ค เพราะ ถ้า จำเลย มี เงินพอ จ่าย ตาม เช็ค แต่ เป็น เพราะ ความผิด ของ โจทก์ ผู้ทรง ที่ ไม่นำ เช็ค ไป เรียก เก็บ เงิน ตาม วัน สั่งจ่าย ที่ ระบุ ลง ใน เช็ค หรือวัน ออกเช็ค ย่อม จะ ถือ ว่า จำเลย ออก เช็ค ดังกล่าว โดย เจตนา ที่ จะไม่ ให้ มี การ ใช้ เงิน ตาม เช็ค นั้น ไม่ ได้ ด้วย เหตุ นี้ หาก มีการ เรียกเก็บ เงิน ตาม เช็ค หลังจาก วันที่ เช็ค ถึง กำหนด เช่นนี้โจทก์ จะ ต้อง นำสืบ ให้ ได้ ความ ว่า ใน วัน ออกเช็ค จำเลย ไม่ มี เงินใน บัญชี ธนาคาร พอ จ่าย ตาม เช็ค ด้วย คดี นี้ เมื่อ โจทก์ มิได้นำสืบ ให้ เห็น ว่า ใน วันที่ 20 พฤษภาคม 2526 ซึ่ง เป็น วัน ออก เช็คจำเลย มี เงิน ใน บัญชี พอ ที่ จะ จ่าย ตาม เช็ค นั้น ได้ หรือ ไม่ข้อ นำสืบ ของ โจทก์ จึง ขาด สาระ สำคัญ ที่ จะ แสดง ให้ เห็น ว่า คดีโจทก์ มีมูล ความผิด ตาม ฟ้อง แม้ ใน ชั้น ไต่สวน มูลฟ้อง โจทก์ ก็ ต้องนำสืบ ให้ ปรากฏ ถึง ข้อเท็จจริง เช่นว่า นั้น ด้วย เมื่อ โจทก์ มิได้นำสืบ คดี โจทก์ ก็ ไม่ มีมูล
พิพากษา ยืน.