คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยที่2ไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องที่โจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ อ. ไปทำความตกลงเรื่องชดใช้ค่าเสียหายไว้การที่จำเลยที่2นำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งจึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่2ในเรื่องดังกล่าว ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1ประมาทเพียงฝ่ายเดียวจำเลยที่3ไม่ได้ประมาทด้วยจำเลยที่2กลับยื่นอุทธรณ์ว่าจำเลยที่1มิได้ประมาทเพียงฝ่ายเดียวแต่จำเลยที่3เป็นฝ่ายประมาทร่วมด้วยโดยกล่าวลอยๆเพียงเท่านี้ มิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่2จะต้องรับผิดในผลเสียหายที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่1เพียงไรและจำเลยที่3มีส่วนจะต้องแบ่งความรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพียงไรดังนั้นการที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยที่3ประมาทด้วยหรือไม่ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่2ในข้อนี้จึงชอบแล้ว โจทก์ทั้งสองเป็นทายาทซึ่งมีหน้าที่จัดการศพของผู้ตายทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1649จึงมีสิทธิเรียกค่าปลงศพจากผู้กระทำละเมิดแม้ว่าจะมีผู้อื่นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการปลงศพให้ก็ตาม

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น สามี ของ นาง ลำใย คงเปลี่ยน โจทก์ ที่ 2 เป็น มารดา ของ นาง มะลิ สืบเทศ จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 3 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 4 และ ที่ 5จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ต่าง ขับ รถยนต์ มา ใน ทางการที่จ้าง โดยประมาทเป็นเหตุ ให้ รถ ทั้ง สอง คัน ชนกัน ทำให้ นาง ลำใยและนางมะลิ ซึ่ง โดยสาร มา ใน รถ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ ถึงแก่ความตาย จำเลย ที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 5จึง ต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่โจทก์ ที่ 1 และ โจทก์ ที่ 2 พร้อม ดอกเบี้ย
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ทั้ง สอง ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 1 ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ไม่อาจ เรียก ค่า ปลงศพ ได้เพราะ มิได้ ชำระ ค่า ปลงศพ จำเลย ที่ 1 ไม่ใช่ ลูกจ้าง จำเลย ที่ 2แต่ เป็น ผู้เช่า รถ ใน วันเกิดเหตุ นาง มะลิ และ โจทก์ ที่ 2 ร่วมกัน ใช้ หรือ จ้างวาน จำเลย ที่ 1 ขับ รถ ให้ จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ต้อง รับผิดจำเลย ที่ 1 มิได้ เป็น ฝ่าย ประมาท แต่ ความประมาท เกิดขึ้น เพราะการกระทำ ของ จำเลย ที่ 3 โจทก์ ทั้ง สอง ไม่เคย ทวงถาม จำเลย ที่ 2โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 4 และ ที่ 5 ให้การ ว่า เหตุ ที่ เกิดขึ้น ไม่ใช่ ความผิดของ จำเลย ที่ 3 จำเลย ที่ 3 ไม่ใช่ ลูกจ้าง หรือ ตัวแทน ของ จำเลย ที่ 4และ ที่ 5 ภายหลัง เกิดเหตุ มี การ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กันมูลหนี้ เกิดจาก การ ละเมิด จึง ระงับ ไป จำเลย ที่ 4 และ ที่ 5 ไม่ต้องรับผิด ต่อ โจทก์ ทั้ง สอง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 ชำระ เงิน 61,000 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 25,000 บาทนับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ที่ 1 และชำระ เงิน 51,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีจาก ต้นเงิน 15,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์ ที่ 2 ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า การ ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ว่า ส่วน โจทก์ ทั้ง สอง จะ ได้ มอบอำนาจ ให้ นาย อัษฎางค์ ไป ทำ ความ ตกลง เรื่อง ชดใช้ ค่าเสียหาย ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 จริง หรือไม่จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ ให้การ ต่อสู้ ไว้ จึง ไม่เป็น ประเด็น ที่ จำเลย ที่ 2จะ ยกมา ว่ากล่าว ได้ นั้น แม้ จำเลย ที่ 2 มิได้ ให้การ ต่อสู้ ไว้แต่เมื่อ ศาลอุทธรณ์ ฟัง ว่า มี เอกสาร หมาย ล. 1 จริง เอกสาร นี้ และการ เกิด ของ เอกสาร นี้ ก็ ต้อง นำเข้า มา วินิจฉัย ด้วย เห็นว่า จำเลย ที่ 2มิได้ ให้การ ต่อสู้ ไว้ เลย ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ได้ มอบอำนาจ ให้ นาย อัษฎางค์ ไป ทำ ความ ตกลง เรื่อง ชดใช้ ค่าเสียหาย ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 คดี ย่อมไม่มี ประเด็น ที่ ศาลอุทธรณ์ จะ ต้อง วินิจฉัย ใน ข้อเท็จจริง ดังกล่าวการ ที่ จำเลย ที่ 2 นำสืบ ใน ชั้นพิจารณา ว่า โจทก์ ทั้ง สอง มอบอำนาจ ให้นาย อัษฎางค์ ไป ทำ ความ ตกลง ชดใช้ ค่าเสียหาย ตาม เอกสาร หมาย ล. 1จึง เป็น การ นำสืบ นอกเหนือ คำให้การ ถือว่า เป็น ข้อ ที่ ไม่ได้ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัย อุทธรณ์ของ จำเลย ที่ 2 ใน ข้อ นี้ จึง ชอบแล้ว
ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ประการ ต่อไป ที่ ว่า แม้ ศาลชั้นต้น จะ ฟัง ว่าจำเลย ที่ 3 ไม่ได้ ประมาท จำเลย ที่ 2 ก็ สามารถ อุทธรณ์ ได้ว่าจำเลย ที่ 3 ประมาท ด้วย ซึ่ง หาก ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย เช่นนั้นจำเลย ที่ 3 ก็ ต้อง รับผิด การ ที่ จะ พิจารณา ว่า จำเลย ที่ 2 ต้อง รับผิดน้อยลง หรือไม่ เพียงใด เป็น ดุลพินิจ ของ ศาล ไม่ จำเลย ที่ 2ต้อง อุทธรณ์ ขอให้ รับผิด น้อยลง เพราะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 432 บัญญัติ ไว้ อย่าง แจ้งชัด ศาลอุทธรณ์ จึง ควร วินิจฉัยใน ปัญหา นี้ นั้น เห็นว่า โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3ต่าง ขับ รถ โดยประมาท เลินเล่อ เป็นเหตุ ให้ รถ ทั้ง สอง คัน ชนกัน ทำให้นาง ลำใยและนางมะลิ ถึงแก่ความตาย จำเลย ที่ 2 ยื่นคำให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ เป็น ฝ่าย ประมาท แต่ ความประมาท เกิดขึ้น เพราะจำเลย ที่ 3 ขับ รถ กิน ทาง เข้า มา ชน รถ ของ จำเลย ที่ 2 ใน ช่อง เดินรถของ จำเลย ที่ 1 ขณะที่ จำเลย ที่ 1 หยุด รถ เพื่อ รอ ให้ รถ ของ จำเลย ที่ 3ขับ ผ่าน ไป ก่อน กรณี จึง ไม่ต้อง ด้วย บทบัญญัติ แห่ง ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 432 ดัง ที่ จำเลย ที่ 2 อ้าง มา ใน ฎีกา เพราะจำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 มิได้ ร่วมกัน ทำละเมิด ทั้ง การ ที่ บุคคล หลาย คนร่วมกัน ทำละเมิด กฎหมาย ก็ บัญญัติ ให้ ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อ ความเสียหาย นั้น ตาม มาตรา 432 วรรคหนึ่งหาใช่ ให้ แยก ความรับผิด ดัง ที่ จำเลย ที่ 2 เข้าใจ ไม่ เมื่อ ศาลชั้นต้นฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ที่ 1 ประมาท เพียง ฝ่ายเดียว จำเลย ที่ 3ไม่ได้ ประมาท ด้วย จำเลย ที่ 2 กลับ ยื่น อุทธรณ์ ว่า จำเลย ที่ 1มิได้ ประมาท เพียง ฝ่ายเดียว แต่ จำเลย ที่ 3 เป็น ฝ่าย ประมาท ร่วม ด้วยโดย กล่าว ลอย ๆ เพียง เท่านี้ มิได้ อุทธรณ์ ว่า จำเลย ที่ 2 จะ ต้องรับผิด ใน ผลเสีย หาย ที่ เกิดจาก การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 เพียงไรและ จำเลย ที่ 3 มี ส่วน จะ ต้อง แบ่ง ความรับผิด ต่อ โจทก์ ทั้ง สอง เพียงไรดังนั้น การ ที่ จะ วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 3 ประมาท ด้วย หรือไม่ย่อม ไม่เป็น ประโยชน์ แก่ คดี ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัย อุทธรณ์ของ จำเลย ที่ 2 ใน ข้อ นี้ จึง ชอบแล้ว
ประเด็น สุดท้าย ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สองมี ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ซึ่ง ไม่ได้ จ่าย ค่า ปลงศพ ผู้ตาย ทั้ง สอง จะ มีสิทธิเรียก ค่า ปลงศพ จาก จำเลย ที่ 2 ได้ หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ ทั้ง สองเป็น ทายาท ซึ่ง มี หน้าที่ จัดการ ศพ ของ ผู้ตาย ทั้ง สอง ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1649 จึง ย่อม มีสิทธิ เรียก ค่า ปลงศพ จากผู้กระทำ ละเมิด เมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง มีสิทธิ เรียก ค่า ปลงศพ แล้ว ไม่ว่าผู้ใด จะ เป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่าย ใน การ ปลงศพ จำเลย ที่ 2 ก็ จะ ยก เป็น ข้อ ปัดความรับผิด มิได้ โจทก์ ทั้ง สอง จึง เป็น ผู้เสียหาย มีสิทธิ เรียกค่า ปลงศพ จาก จำเลย ที่ 2 ได้
พิพากษายืน

Share