คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้การขอต่อศาลให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทของจำเลยจากจ. กับพวกผู้รับโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา114จะเป็นอำนาจของผู้ร้องแต่หากผู้รับโอนกระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็เพิกถอนการโอนไม่ได้จึงยังไม่แน่นอนว่าจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่การที่ จ. ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอให้เงินแทนการโอนที่ดินพิพาทแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามมาตรา145ประกอบด้วยมาตรา41เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ จ. และไม่คัดค้านที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนต่อศาลเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบและแม้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะมีจำนวนถึง57รายแต่มีเจ้าหนี้มาประชุม15รายและที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ก็หาใช่เป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างน้อยไม่มติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอของ จ. จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายอันผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นตามมาตรา36ได้

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย เป็น บุคคล ล้มละลายและ ผู้ร้อง ได้ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาลชั้นต้น ขอให้ เพิกถอน การ โอน ที่ดินโฉนด เลขที่ 25936 ระหว่าง นาย เจริญ เจริญทรัพย์ กับพวก รวม 7 คน ผู้รับโอน กับ จำเลย ผู้โอน ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 และ มาตรา 116 ต่อมา ขณะ คดี ดังกล่าว อยู่ ใน ระหว่างการ พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น นาย เจริญ ขอ ยุติ ข้อพิพาท การ เพิกถอน การ โอน โดย เสนอ ขอ ใช้ เงิน 1,000,000 บาท ให้ แก่ กอง ทรัพย์สินของ จำเลย แทน การ โอน ที่ดิน โดย จะ ชำระ เงิน ให้ เสร็จสิ้น ภายใน กำหนด30 วัน นับแต่ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ยอมรับ ข้อเสนอ ของ นาย เจริญ และ ให้ ผู้ร้อง ขอ ถอน คำร้องขอ เพิกถอน การ โอน ต่อ ศาล ผู้ร้อง ได้ เรียก ประชุมเจ้าหนี้ ใน วัน ประชุม เจ้าหนี้ นาย เจริญ เสนอ จำนวนเงิน เพิ่ม เป็น 1,200,000 บาท ที่ ประชุม เจ้าหนี้ มี มติ เป็น เอกฉันท์ ยอมรับ ข้อเสนอยุติ ข้อพิพาท ของ นาย เจริญ ทุกประการ และ ไม่ คัดค้าน ที่ ผู้ร้อง จะ ยื่น คำร้องขอ ถอน คำร้องขอ เพิกถอน การ โอน ต่อ ศาล
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง ขอให้ เพิกถอน การ โอน ให้ กลับคืนสู่ ฐานะ เดิม หาก กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม ไม่ได้ ขอให้ ใช้ ราคา เป็น เงิน4,500,000 บาท การ ที่ ผู้รับโอน เสนอ ใช้ ราคา เป็น เงิน 1,200,000 บาทเป็น จำนวน น้อยมาก มติ ของ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ที่ ยอมรับ ข้อเสนอ ของนาย เจริญ ไม่ ก่อ ให้ เกิด ประโยชน์ อัน ร่วมกัน ของ เจ้าหนี้ ทั้งหลาย ขอให้ มี คำสั่ง ห้าม มิให้ ผู้ร้อง ปฏิบัติ ตาม มติ ของ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ดังกล่าว ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 36
ผู้คัดค้าน ที่ 1 ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ ผู้ขอรับชำระหนี้ ยื่นคำคัดค้าน ขอให้ ยกคำร้อง ของ ผู้ร้อง
ผู้คัดค้าน ที่ 2 ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ ผู้ขอรับชำระหนี้ ยื่นคำคัดค้าน ขอให้ ยกคำร้อง ของ ผู้ร้อง และ มี คำสั่ง ให้ ผู้ร้อง ปฏิบัติตาม มติ ของ ที่ ประชุม เจ้าหนี้
ระหว่าง พิจารณา ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ผู้ร้อง แถลงรับ ข้อเท็จจริงกัน ว่า ใน การ ซื้อ ที่ดินพิพาท นั้น นาย เจริญ ได้ ชำระ เงิน ไถ่ถอน จำนอง ที่ดินพิพาท ให้ แก่ ผู้รับจำนอง เป็น เงิน 2,375,000 บาท และ ชำระ เงินค่าซื้อ ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย อีก 1,000,000 บาท ศาลชั้นต้น เห็นว่าคดี พอ วินิจฉัย ได้ โดย ไม่จำต้อง สืบพยาน จึง ให้ งดสืบพยาน ผู้ร้อง และผู้คัดค้าน แล้ว มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ ผู้ร้อง ว่า มติ ของ ที่ประชุม เจ้าหนี้ ที่ ยอมรับ ข้อเสนอ ของ นาย เจริญ ผู้รับโอน ที่ดินพิพาท ซึ่ง เสนอ ขอ ใช้ เงิน จำนวน 1,200,000 บาท แทน การ โอน ที่ดินพิพาท คืนแก่ กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลย นั้น ขัด ต่อ กฎหมาย หรือ ประโยชน์ อัน ร่วมกัน ของเจ้าหนี้ ทั้งหลาย ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 36หรือไม่ เห็นว่า การ ที่ ผู้ร้อง ร้องขอ ต่อ ศาล ให้ เพิกถอน การ โอน ที่ดินพิพาท ระหว่าง นาย เจริญ กับพวก ผู้รับโอน และ จำเลย ผู้โอน ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 นั้น แม้ จะ เป็นอำนาจ ของ ผู้ร้อง และ ก่อน ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาล ผู้ร้อง ได้ สอบสวนข้อเท็จจริง เบื้องต้น ได้ความ ว่า อยู่ ใน ข่าย ที่ จะ เพิกถอน ได้ ก็ ตาม แต่เมื่อ คดี ยัง อยู่ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น และ ตาม มาตรา 114ดังกล่าว หาก ผู้รับโอน กระทำ โดยสุจริต และ มีค่า ตอบแทน ก็ เพิกถอน การ โอนไม่ได้ กรณี จึง ยัง ไม่แน่ นอน ว่า จะ เพิกถอน การ โอน ได้ หรือไม่ การ ที่นาย เจริญ ขอ ยุติ ข้อพิพาท โดย เสนอ ให้ เงิน จำนวน 1,200,000 บาท แทน การ โอน ที่ดินพิพาท แก่ กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลย เป็น การ ขอประนีประนอม ยอมความ ซึ่ง ผู้ร้อง จะ ประนีประนอม ยอมความ ได้ ต่อเมื่อได้รับ ความเห็น ชอบ ของ กรรมการ เจ้าหนี้ หรือ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 145 ประกอบ ด้วย มาตรา 41การ ที่ ผู้ร้อง นัด ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ สาม เพื่อ พิจารณา ว่า จะ ยอมรับข้อเสนอ ของ นาย เจริญ หรือไม่ เป็น การ ขอ ความเห็น ชอบ ของ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว และ เป็น การ ปรึกษา ถึง วิธี ที่ จะ จัดการทรัพย์สิน ของ จำเลย ใน การ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้ง อื่น ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 32 ดังนี้ เมื่อ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ มี มติยอมรับ ข้อเสนอ ของ นาย เจริญ และ ไม่ คัดค้าน ที่ ผู้ร้อง จะ ยื่น คำร้อง ขอ ถอน คำร้องขอ เพิกถอน การ โอน ต่อ ศาล ซึ่ง เท่ากับ เป็น การ ให้ความเห็น ชอบ ใน การ ที่ ผู้ร้อง จะ ประนีประนอม ยอมความ กับ นาย เจริญ จึง หา เป็น ล่วง อำนาจ ของ ผู้ร้อง ไม่ แม้ เจ้าหนี้ ที่ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้จะ มี จำนวน ถึง 57 ราย แต่เมื่อ วันนัด ประชุม เจ้าหนี้ มี เจ้าหนี้ มาประชุม 15 ราย และ ที่ ประชุม มี มติ เป็น เอกฉันท์ กรณี ก็ หาใช่ เป็น มติของ เจ้าหนี้ ฝ่าย ข้าง น้อย ตาม ที่ ผู้ร้อง ฎีกา ไม่ ทั้ง เมื่อ ข้อเท็จจริงที่ แถลงรับ กัน ได้ความ ว่า ใน การ รับโอน ที่ดินพิพาท นาย เจริญ ได้ ชำระ เงิน ไถ่ถอน จำนอง ที่ดินพิพาท ให้ แก่ ผู้รับจำนอง เป็น เงิน2,375,000 บาท และ ได้ ชำระ เงิน ค่าซื้อ ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย อีก1,000,000 บาท แสดง ว่า นาย เจริญ รับโอน ที่ดินพิพาท โดย มีค่า ตอบแทน และ เมื่อ รวมกับ จำนวนเงิน ที่นาย เจริญ เสนอ ใช้ เพื่อ ยุติ ข้อพิพาท เป็น เงิน 1,200,000 บาท แล้ว ยัง เกินกว่า ราคา ที่ดินพิพาท ที่ ผู้ร้องตี ไว้ เสีย อีก โดย ผู้ร้อง ตีราคา ที่ดินพิพาท ไว้ 4,500,000 บาท แม้ที่นาย เจริญ ได้ ชำระ เงิน ไถ่ถอน จำนอง ที่ดินพิพาท และ ค่าซื้อ ที่ดิน พิพาท นั้น จะ เกิดขึ้น ก่อน จำเลย ถูก พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด ก็ นำ มา ประกอบการ พิจารณา ข้อเสนอ ของ นาย เจริญ ได้ เมื่อ นาย เจริญ รับโอน โดย มี ค่าตอบแทน และ เมื่อ รวมกับ จำนวนเงิน ตาม ข้อเสนอ แล้ว เป็น เงิน เกินกว่าราคา ที่ ผู้ร้อง ตี ไว้ ก็ นับ ว่า ข้อเสนอ ของ นาย เจริญ เป็น ประโยชน์ อัน ร่วมกัน ของ เจ้าหนี้ ทั้งหลาย โดย เหตุ ดังกล่าว ได้ วินิจฉัย มา มติของ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ที่ ยอมรับ ข้อเสนอ ของ นาย เจริญ จึง ไม่ ขัด ต่อ กฎหมาย หรือ ประโยชน์ อัน ร่วมกัน ของ เจ้าหนี้ ทั้งหลาย อัน ผู้ร้องจะ ร้องขอ ให้ ศาล มี คำสั่ง ห้าม มิให้ ปฏิบัติ ตาม มติ นั้น ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 36 ได้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ยก คำร้อง ชอบแล้ว ฎีกา ของ ผู้ร้อง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share