คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้นเป็นการยากที่จะนำสืบด้วยประจักษ์พยาน จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลจากกรณีแวดล้อมและพิรุธแห่งการกระทำการที่จำเลยที่1ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ด่านทหารไทยและทหาร กัมพูชาแล้วพาคนร้ายนำรถยนต์บรรทุกสิบล้อข้ามแดนไปขายในประเทศ กัมพูชาโดยไม่มีการจดทะเบียนและต้องจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ด่านชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่1รู้อยู่แล้วว่ารถยนต์บรรทุกสิบล้อที่จำเลยที่1ช่วยพาไปจำหน่ายนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นความผิดฐานรับ ของโจร แม้คำให้การในชั้นสอบสวนจะเป็น พยานบอกเล่า แต่ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนบันทึกคำให้การของ ส. ไว้โดยไม่ถูกต้องและคำให้การของผู้รู้เห็นเหตุการณ์ในชั้นสอบสวนก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังประกอบพยานอื่นทั้งได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนหลังเกิดเหตุเพียง5วันคำให้การชั้นสอบสวนของ ส. จึงมีน้ำหนักรับฟังได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289,340, 340 ตรี , 357 และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน คืน หรือ ชดใช้ราคา รถยนต์บรรทุก สิบล้อ เป็น เงิน 1,870,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคสอง ลงโทษ จำคุก 4 ปี คำให้การชั้นสอบสวน ของ จำเลย ที่ 1 เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สี่ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 3 ปีให้ จำเลย ที่ 1 คืน หรือ ชดใช้ ราคา รถยนต์บรรทุก สิบล้อ คัน เกิดเหตุจำนวน 1,870,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย ด้วย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า ตาม วัน เวลา และ สถานที่เกิดเหตุ ตาม ฟ้อง มี คนร้าย 7 คนปล้นทรัพย์ เอา รถยนต์บรรทุก สิบล้อ ของ นาง มณีรัตน์ แซ่เส่น ผู้เสียหาย ไป ใน การ ปล้นทรัพย์ คนร้าย ใช้ อาวุธปืน ยิง นาย ทัพไทย โคมสูงเนิน คนขับ รถยนต์บรรทุก สิบล้อ ถึงแก่ความตาย แล้ว นำ รถยนต์ บรรทุก สิบล้อ ไป ขาย ใน ประเทศ กัมพูชา มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ว่า จำเลย ที่ 1 กระทำผิด ฐาน รับของโจร หรือไม่โจทก์ ไม่มี ประจักษ์พยาน มา เบิกความ ถึง เหตุการณ์ ตอน เกิดเหตุคง มี แต่ คำให้การ ชั้นสอบสวน ของ นาย สุธีสา แซ่อุ้ย ซึ่ง เป็น ประจักษ์พยาน มา แสดง ตาม บันทึก คำให้การ ของ พยานเอกสาร หมาย จ. 19โดย นาย สุธิสา ให้การ ว่า คนร้าย ขับ รถยนต์บรรทุก สิบล้อ ไป อำเภอ อรัญประเทศ แล้ว ไป ที่ บ้าน จำเลย ที่ 1 รอ จน กระทั่ง มืด จำเลย ที่ 1ก็ พา คนร้าย ขับ รถ ไป ที่ ด่าน ของ ทหาร มี ทหาร มาตร วจพอ เห็น หน้า จำเลย ที่ 1ก็ ให้ สัญญาณ รถ ผ่าน ไป ได้ จาก นั้น ก็ ถึง จุด ตรวจ ของ เจ้าหน้าที่ ทหาร ไทยชายแดน จำเลย ที่ 1 ลง ไป พูด กับ เจ้าหน้าที่ ทหาร ก็ ปล่อย รถ ผ่าน ข้าม แดนเข้า ไป ใน ประเทศ กัมพูชา ประมาณ 2 กิโลเมตร ถึง หมู่บ้าน กัมพูชา มี คน กัมพูชา บอก ให้ พวก คนร้าย ลง จาก รถ แล้ว ขับ รถ ไป จาก นั้น ก็ มี คน กัมพูชา อีก คนหนึ่ง มา พา คนร้าย กับ นาย สุธิสา ไป นอน ที่ บ้าน หลัง หนึ่ง วันรุ่งขึ้น คน กัมพูชา ที่ ขับ รถ ไป พา คนร้าย กับ นาย สุธิสา ไป บ้าน ผู้กอง จัน ซึ่ง เป็น คน กัมพูชา พูด ภาษา ไทย ได้ จำเลย ที่ 1กับ คนร้าย คนหนึ่ง ไป หา คน ที่ รับ ซื้อ รถ ประมาณ 1 ชั่วโมง ก็ กลับมาภริยา ผู้กอง จัน มอบ เงิน ให้ คนร้าย จำนวน 100,000 บาท คนร้าย ก็ จ่าย เงิน ค่าแรง ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 แล้ว พา กัน กลับ เข้า เขต ประเทศ ไทยโดย จ่ายเงิน ให้ แก่ เจ้าหน้าที่ ทหาร ไทย ที่ ด่าน แรก จำนวน 20,000 บาทด่าน ที่ สอง จำนวน 10,000 บาท ศาลฎีกา เห็นว่า แม้ คำให้การ ชั้นสอบสวนดังกล่าว เป็น พยานบอกเล่า จะ รับฟัง ดัง คำเบิกความ ของ พยาน ใน ชั้นพิจารณาไม่ได้ แต่ ศาล ก็ อาจ รับฟัง ว่า นาย สุธิสา เคย ให้การ ไว้ เช่นนั้น ต่อ พนักงานสอบสวน เพื่อ วิเคราะห์ สอดส่อง ถึง ข้อเท็จจริง ใน คดี ได้คดี นี้ ไม่ปรากฏ ว่า พนักงานสอบสวน บันทึก คำให้การ ของ นาย สุธิสา ไว้ โดย ไม่ถูกต้อง และ คำให้การ ของ ผู้รู้เห็น เหตุการณ์ ใน ชั้นสอบสวนก็ ไม่มี กฎหมาย ห้าม มิให้ รับฟัง ประกอบ พยาน อื่น ทั้ง ปรากฏว่า นาย สุธิสา กับ จำเลย ที่ 1 ไม่เคย รู้ จัก กัน มา ก่อน และ ได้ ให้การ ต่อ พนักงานสอบสวน หลัง เกิดเหตุ เพียง 5 วัน คำให้การ ชั้นสอบสวน ของนาย สุธิสา จึง มี น้ำหนัก รับฟัง ได้ นอกจาก นี้ พัน ตำรวจ ตรี ประภาษ พลรบ พนักงานสอบสวน ก็ เบิกความ ยืนยัน ว่า ชั้นสอบสวน จำเลย ที่ 1ให้การรับสารภาพ ว่า ได้ ช่วย นำ รถยนต์บรรทุก สิบล้อ เข้า ไป ขาย ในประเทศ กัมพูชา ตาม บันทึก คำให้การ ของ ผู้ต้องหา เอกสาร หมาย จ. 13โดย จำเลย ที่ 1 ให้การ ถึง รายละเอียด ตาม ขั้นตอน เกี่ยวกับ สถานที่บุคคล และ จำนวนเงิน รวมทั้ง รายละเอียด อื่น ๆ ซึ่ง เป็น การ ยาก แก่บุคคล ที่ ไม่รู้ ความจริง จะ จัดทำ ขึ้น เอง ได้ ชี้ ให้ เห็นว่า จำเลย ที่ 1ให้การ ด้วย ความสมัครใจ ประกอบ กับ การกระทำ ความผิด ฐาน รับของโจรนั้น การ ที่ จะ ค้นหา เจตนา ของ จำเลย ที่ 1 ว่า รับ ทรัพย์ นั้น ไว้ หรือช่วย จำหน่าย ทรัพย์ นั้น โดย รู้ ว่า เป็น ทรัพย์ ที่ ได้ มาจาก การกระทำ ผิดเป็น การ ยาก จะ นำสืบ ด้วย ประจักษ์พยาน ได้ จึง จำเป็น ต้อง อาศัย เหตุผลจาก กรณี แวดล้อม และ พิรุธ แห่ง การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ดังนี้ตาม พฤติการณ์ ที่ จำเลย ที่ 1 ไป ติดต่อ เจ้าหน้าที่ ด่าน ทหาร ไทย และทหาร กัมพูชา แล้ว พา คนร้าย นำ รถยนต์บรรทุก สิบล้อ ข้าม แดนไป ขาย ใน ประเทศ กัมพูชา โดย ไม่มี การ จดทะเบียน และ ต้อง จ่ายเงิน ให้ แก่ เจ้าหน้าที่ ทหาร ที่ ด่าน ชี้ ให้ เห็นว่า จำเลย ที่ 1 รู้ อยู่ แล้ว ว่ารถยนต์บรรทุก สิบล้อ ที่ จำเลย ที่ 1 ช่วย พา ไป จำหน่าย นั้น เป็น ทรัพย์ที่ ได้ มาจาก การกระทำ ผิด การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 จึง เป็น ความผิดฐาน รับของโจร ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา อ้างว่า โจทก์ ไม่ได้ รถยนต์บรรทุก สิบล้อ มา เป็น ของกลาง เพื่อ ยืนยัน ว่า เป็น คัน เดียว กับ รถยนต์บรรทุก สิบล้อ ของ ผู้เสียหาย ที่ ถูก ปล้น ไป นั้น เห็นว่า นาย สุธิสา อาศัย มา กับ รถยนต์บรรทุก สิบล้อ ของ ผู้เสียหาย เมื่อ คนร้าย ปล้นทรัพย์แล้ว คนร้าย ก็ พา นาย สุธิสา ไป พร้อม กับ รถยนต์บรรทุก สิบล้อ จน กระทั่ง นำ ไป ขาย ใน ประเทศ กัมพูชา แม้ ไม่ได้ รถยนต์บรรทุก สิบล้อ มา เป็น ของกลาง ก็ ฟังได้ ว่า เป็น รถยนต์ คัน เดียว กัน กับ รถยนต์บรรทุก สิบล้อของ ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share