แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การถอดถอนเจ้าอาวาสนั้นตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา23บัญญัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคมตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่5(พ.ศ.2505)ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการข้อ33ประกอบข้อ23เจ้าคณะจังหวัดมีอำนาจให้พระสังฆาธิการตำแหน่งเจ้าอาวาสออกจากตำแหน่งหน้าที่ได้ดังนั้นคำสั่งคณะสงฆ์ที่ให้โจทก์ออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจึงเป็นคำสั่งที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่1ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดตามกฎมหาเถรสมาคมแล้วและคำสั่งคณะสงฆ์ดังกล่าวจำเลยที่1มิได้สั่งให้โจทก์ออกจากตำแหน่งหน้าที่เพราะประพฤติผิดพระธรรมวินัยแต่ให้ออกจากตำแหน่งหน้าที่เพราะโจทก์หย่อนสมรรถภาพซึ่งเป็นเหตุตามข้อ33แห่งกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่5(พ.ศ.2505)ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการเมื่อตามฟ้องโจทก์มิได้อ้างว่าจำเลยที่1มีคำสั่งโดยไม่มีเหตุดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าคำสั่งของจำเลยที่1ที่สั่งให้โจทก์ออกจากตำแหน่งหน้าที่เป็นคำสั่งที่มิชอบโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและขอให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่2เป็นพระสังฆาธิการแล้วให้โจทก์กลับเข้าดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการต่อไป
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ มี สมณศักดิ์เป็น พระครู ชั้นสัญญาบัตร เคยดำรง ตำแหน่ง เจ้าอาวาส (พระสังฆาธิการ ) วัด บางยี่โท จำเลย ที่ 1มี สมณศักดิ์เป็น พระราชธานินทราจารย์ ตำแหน่ง เจ้าคณะ จังหวัด มีอำนาจ แต่งตั้ง ถอด ถอน พระสังฆาธิการ ภายใน จังหวัด เมื่อ ประมาณ ปี 2518 โจทก์ ได้รับ แต่งตั้ง เป็น พระสังฆาธิการวัดบางยี่โท ตาม ระเบียบ มหาเถรสมาคม ว่าด้วย การ จัดตั้ง หน่วย อบรม ประชาชนประจำ ตำบล พ.ศ. 2518 โจทก์ เป็น ประธาน โดย ตำแหน่ง และมี จำเลย ที่ 2 เป็น พระ ลูก วัด ต่อมา ประมาณ กลาง ปี 2529 ได้ มีผู้ร้องเรียน ต่อ จำเลย ที่ 1 กล่าวหา ว่า โจทก์ ใน ฐานะ ประธาน หน่วย อบรมประชาชน ประจำ ตำบล บางยี่โท (อ.ป.ต.) ได้ นำ เงิน ของ มูลนิธิ หน่วย อบรม ประชาชน ประจำ ตำบล บางยี่โท ไป ใช้ ผิด วัตถุประสงค์ ที่ ได้ ตั้ง ไว้ และ กระทำ ไป โดย พลการ ซึ่ง ไม่เป็น ความจริง ต่อมา จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ประธาน การ สอบสวน มี คำสั่ง ให้ โจทก์นำ เงิน ที่ นำ ไป ใช้ คืน หน่วย อบรม ประชาชน ตำบล บางยี่โท ภายใน กำหนด 30 วัน แต่ หน่วย อบรม ประชาชน ประจำ ตำบล บางยี่โท ยัง มิได้ จดทะเบียน เป็น มูลนิธิ และ โจทก์ มิได้ นำ เงิน ดังกล่าว ไป ใช้ ผิดวัตถุประสงค์ ของ หน่วย ดังกล่าว โจทก์ กระทำ ไป ตาม วัตถุประสงค์ที่ ตรา ไว้ ใน ระเบียบ มหาเถรสมาคม ว่าด้วย การ จัดตั้ง หน่วย อบรมประชาชน ประจำ ตำบล พ.ศ. 2518 โจทก์ จึง ไม่คืน เงิน ตาม คำสั่งของ จำเลย ที่ 1 ต่อมา วันที่ 9 กรกฎาคม 2530 จำเลย ที่ 1 ได้ จงใจกลั่นแกล้ง โจทก์ ด้วย เหตุ ไม่เป็นธรรม ออกคำสั่ง คณะสงฆ์ ที่ 6/2530ให้ โจทก์ ออกจาก ตำแหน่ง พระสังฆาธิการวัดบางยี่โท ซึ่ง ไม่ต้อง ด้วย ระเบียบ มหาเถรสมาคม ว่าด้วย การ แต่งตั้ง ถอด ถอน พระสังฆาธิการ ซึ่ง ออก ตาม ความใน พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 เพราะ โจทก์ไม่ได้ ประพฤติ ผิด พระ ธรรม วินัย ที่ จะ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ต้อง ออกจากตำแหน่ง พระสังฆาธิการ และ งาน ที่ โจทก์ ทำ ใน ฐานะ ประธาน หน่วย อบรม ประชาชน ประจำ ตำบล บางยี่โท มิใช่ งาน โดยตรง ใน ตำแหน่ง พระสังฆาธิการ โจทก์ ได้ ร้องทุกข์ ต่อ เจ้าคณะ ภาค โดย ผ่าน จำเลย ที่ 1เมื่อ วันที่ 13 กรกฎาคม 2530 ต่อมา วันที่ 5 พฤษภาคม 2532จำเลย ที่ 1 ได้ มี คำสั่ง แต่งตั้ง จำเลย ที่ 2 ให้ ดำรง ตำแหน่ง พระสังฆาธิการ แทน โจทก์ ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ไม่มี อำนาจ กระทำ เพราะ คำสั่ง ถอด ถอน โจทก์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้ง จำเลย ที่ 2 ประพฤติ ผิดธรรม วินัย ต้อง คำสั่ง ให้ ออกจาก วัด บางยี่โท และ ยัง ไม่ได้ รับคำ สั่ง ให้ กลับ เข้า มา ภายใน วัด บางยี่โท ขาด คุณสมบัติ ใน การ ดำรง ตำแหน่ง พระสังฆาธิการ เพราะ เป็น ผู้ ก่อ ให้ เกิด ความ แตก แยก ใน หมู่ สงฆ์ ไม่ได้ รับ ความ เลื่อมใส ศรัทธา ใน หมู่ คฤหัสถ์ และ เคย ต้อง อธิกรณ์การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง ทำให้ โจทก์ เสียหาย ต้อง พ้น จาก ตำแหน่ง พระสังฆาธิการ ขอให้ ศาล เพิกถอน คำสั่ง คณะสงฆ์ ที่ 6/2530ที่ ให้ โจทก์ ออกจาก ตำแหน่ง พระสังฆาธิการวัดบางยี่โท ให้ เพิกถอน คำสั่ง แต่งตั้ง จำเลย ที่ 2 เป็น พระสังฆาธิการวัดบางยี่โท และ ให้ โจทก์ เข้า ดำรง ตำแหน่ง พระสังฆาธิการวัดบางยี่โท ตาม เดิม
ศาลชั้นต้น ตรวจ และ พิจารณา คำฟ้อง ของ โจทก์ แล้ว มี คำสั่ง ว่าตาม มาตรา 23 พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 การ แต่งตั้ง เจ้าอาวาสให้ เป็น ไป ตาม หลักเกณฑ์ และ วิธีการ ที่ กำหนด ใน กฎมหาเถรสมาคม และ หากมี ผู้ ไม่พอ (ที่ ถูก น่า จะ เป็น คำ ว่า พอใจ ) คำสั่ง ดังกล่าว มิได้ กำหนดให้ เยียวยา โดย ฟ้องร้อง ทาง ศาล ทั้งนี้ เพราะ เป็น เรื่อง ทาง พุทธจักรไม่เกี่ยวกับ ฝ่าย อาณาจักร เป็น เรื่อง บริหาร โดย แท้ ศาล ไม่มี อำนาจ เข้า ไปก้าวก่าย เรื่อง ที่ เป็น อำนาจ ทาง พุทธจักร โดย แท้ โจทก์ จึง ไม่มีอำนาจฟ้อง ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ว่า โจทก์มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ โจทก์ บรรยายฟ้อง โดย ยก ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหา ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าคณะ จังหวัด มีอำนาจ แต่งตั้งถอด ถอน พระสังฆาธิการ ภายใน จังหวัด จำเลย ที่ 1 กลั่นแกล้ง โจทก์ ด้วย เหตุ อัน ไม่เป็นธรรม ออกคำสั่ง คณะสงฆ์ ที่ 6/2530 ให้ โจทก์ออกจาก ตำแหน่ง โดย ไม่ต้อง ด้วย ระเบียบ มหาเถรสมาคม ว่าด้วยการ แต่งตั้ง และ ถอด ถอน พระสังฆาธิการ ซึ่ง ออก ตาม ความใน พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 เพราะ โจทก์ ไม่ได้ ประพฤติ ผิด พระ ธรรม วินัยที่ จะ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ออกจาก ตำแหน่ง นั้น เห็นว่า สำหรับ การ ถอด ถอนเจ้าอาวาส นั้น ตาม พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 23บัญญัติ ให้ เป็น ไป ตาม หลักเกณฑ์ และ วิธีการ ที่ กำหนด ใน กฎมหาเถรสมาคม และตาม กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2505) ว่าด้วย การ แต่งตั้ง ถอด ถอน พระสังฆาธิการ ข้อ 33 ประกอบ ข้อ 23 เจ้าคณะ จังหวัด มีอำนาจ ให้ พระสังฆาธิการ ตำแหน่ง เจ้าอาวาส ออกจาก ตำแหน่ง หน้าที่ ได้ ดังนั้น คำสั่ง คณะสงฆ์ ที่ 6/2530 ที่ ให้ โจทก์ ออกจาก ตำแหน่งเจ้าอาวาส วัด บางยี่โท จึง เป็น คำสั่ง ที่อยู่ ใน อำนาจ หน้าที่ ของ จำเลย ที่ 1 ตาม กฎมหาเถรสมาคม แล้ว ส่วน ที่ โจทก์ อ้างว่า คำสั่ง ของจำเลย ที่ 1 ไม่ชอบ เพราะ โจทก์ มิได้ ประพฤติ ผิด พระ ธรรม วินัย ที่ จะเป็นเหตุ ให้ โจทก์ ต้อง ออกจาก ตำแหน่ง พระสังฆาธิการ นั้น เห็นว่า ตาม คำสั่ง คณะสงฆ์ ที่ 6/2530 จำเลย ที่ 1 มิได้ สั่ง ให้ โจทก์ ออกจากตำแหน่ง หน้าที่ เพราะ ประพฤติ ผิด พระ ธรรม วินัย แต่ ให้ ออกจากตำแหน่ง หน้าที่ เพราะ โจทก์ หย่อนสมรรถภาพ ซึ่ง เป็นเหตุ ตาม ข้อ 33 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2505) ว่าด้วย การ แต่งตั้งถอด ถอน พระสังฆาธิการ เมื่อ ตาม ฟ้องโจทก์ มิได้ อ้างว่า จำเลย ที่ 1มี คำสั่ง โดย ไม่มี เหตุ ดังกล่าว จึง ถือไม่ได้ว่า คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 1ที่ สั่ง ให้ โจทก์ ออกจาก ตำแหน่ง หน้าที่ เป็น คำสั่ง ที่ มิชอบ โจทก์ จึงไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ เพิกถอน คำสั่ง ดังกล่าว และ ขอให้ เพิกถอนคำสั่ง แต่งตั้ง จำเลย ที่ 2 แล้ว ให้ โจทก์ กลับ เข้า ดำรง ตำแหน่ง พระสังฆาธิการ ต่อไป
พิพากษายืน