แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยที่8เป็นสาขาของจำเลยที่7โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่8จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจำเลยที่8จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดตามกฎหมายได้ จำเลยที่1ที่2ที่3เป็นข้าราชการของโจทก์มีหน้าที่ต้องนำเช็คสั่งจ่ายในนามของจำเลยทั้งสามไปขอเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่8ซึ่งเป็นสาขาของจำเลยที่7และนำเงินไปมอบโจทก์จำเลยทั้งสามได้ดูลายมือชื่อด้านหลังเช็คและไปขอเบิกเงินจากจำเลยที่8จำเลยที่11พนักงานของจำเลยที่7ได้ตรวจดูบัตรประจำตัวของจำเลยที่1และที่3จำเลยที่10ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีได้ตรวจดูข้อความในเช็คลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายกับผู้รับเงินและเห็นว่าถูกต้องตลอดจนไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยที่7จะไม่จ่ายเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา991และไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ทำให้จำเลยที่7หมดหน้าที่และอำนาจที่จะจ่ายเงินตามเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา992จำเลยที่10จึงอนุมัติให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่1ไปถือว่าจำเลยที่9ถึงที่11ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วแม้จำเลยที่1จะยักยอกเงินไปแต่ความเสียหายของโจทก์ก็มิใช่เพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่7ที่9ถึงที่11 จำเลยที่1ถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์คดีส่วนแพ่งซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์จึงต้องห้ามมิให้โจทก์นำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่1อีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา148
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สาม มี ฐานะ เป็น กรม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 6 เป็น ข้าราชการ สังกัดโจทก์ ที่ 1 จำเลย ที่ 7 เป็น นิติบุคคล ประกอบ กิจการ ธนาคารพาณิชย์จำเลย ที่ 8 เป็น นิติบุคคล สาขา ร้อยเอ็ด ของ จำเลย ที่ 7 จำเลย ที่ 9ที่ 10 และ ที่ 11 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 7 ตำแหน่ง ผู้จัดการสมุห์บัญชี และ พนักงานบริการ ประจำ ธนาคาร ประจำ สำนักงาน สาขา ร้อยเอ็ดตามลำดับ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ซึ่ง เป็น กรรมการ รับ เงิน และ ส่ง เงินของ สำนักงาน ศึกษาธิการอำเภอ เสลภูมิ ตาม คำสั่ง อำเภอ เสลภูมิ จะ ต้อง ร่วมกัน ไป รับ เช็ค ของ จำเลย ที่ 7 สาขา ร้อยเอ็ด จาก จำเลย ที่ 4ถึง ที่ 6 ที่ สำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด ร้อยเอ็ด แล้ว นำ ไป เข้าบัญชีที่ ธนาคาร ออมสิน สาขา ร้อยเอ็ด เพื่อ เรียกเก็บเงิน จาก จำเลย ที่ 8และ โอน เงิน ไป ยัง ธนาคาร ออมสิน สาขา เสลภูมิ เพื่อ เบิกจ่าย เป็น เงินเดือน และ เงิน อื่น ๆ แก่ ข้าราชการ ใน สังกัด โจทก์ ทั้ง สาม หรือ เมื่อรับ เช็ค แล้ว จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ต้อง ร่วมกัน นำ เช็ค ไป เบิกเงิน แล้วนำ เงิน ไป จ่าย เป็น เงินเดือน และ เงิน อื่น ๆ ดังกล่าว มา แล้ว แต่ จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 3 ร่วมกัน จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ ใน การปฏิบัติหน้าที่โดย เมื่อ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ลงชื่อ รับ เช็ค ของ จำเลย ที่ 8เลขที่ 4916687 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 จำนวนเงิน 719,471.62บาท จาก จำเลย ที่ 4 ถึง ที่ 6 แล้ว จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ปล่อยปละละเลยให้ จำเลย ที่ 1 นำ เช็ค ไป เบิกเงิน จำนวน ดังกล่าว ซึ่ง เป็น เงิน งบประมาณประเภท เงินเดือน และ เงิน ประเภท อื่น ๆ ของ โจทก์ ที่ 1 จำนวน 11,366.50บาท ของ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 707,936.12 บาท และ ของ โจทก์ ที่ 3 จำนวน169 บาท จาก จำเลย ที่ 8 โดย จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่ได้ ร่วม ไปรับ เงิน ด้วย ใน การ นี้ จำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็น ผู้บังคับบัญชา ของ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 6 ปล่อยปละละเลย ไม่ ควบคุม ดูแลระมัดระวัง ใน การ เบิกจ่าย เงิน ให้ ถูกต้อง ตาม ระเบียบ และ คำสั่ง ของทางราชการ ซึ่ง ระบุ ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 มา ลงชื่อ รับ เช็ค จากจำเลย ที่ 4 ถึง ที่ 6 พร้อมกัน จำเลย ที่ 4 ถึง ที่ 6 ยอม ให้ จำเลย ที่ 2ลงชื่อ รับ เช็ค และ ลงชื่อ รับ เงิน ใน เช็ค ไว้ ก่อน ล่วงหน้า 1 วัน ต่อมาจึง ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 มา ลงชื่อ รับ เช็ค ไป เบิกเงิน และ ลงชื่อรับ เงิน ใน เช็ค แล้ว จำเลย ที่ 5 และ ที่ 6 มอบ เช็ค ให้ จำเลย ที่ 1และ ที่ 3 ไป รับ เงิน เป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 1 นำ เช็ค ไป เบิกเงิน คนเดียวเมื่อ จำเลย ที่ 1 นำ เช็ค ไป ขอ เบิกเงิน จำเลย ที่ 11 ตรวจ ดู ลายมือชื่อผู้รับเงิน และ ตรวจ บัตร ประจำตัว ของ จำเลย ที่ 1 โดย มิได้ ตรวจ ลายมือชื่อและ บัตร ประจำตัว ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 หลังจาก นั้น จำเลย ที่ 9ถึง ที่ 11 ก็ ได้ จ่ายเงิน ตามเช็ค ให้ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น การ ไม่ชอบเพราะ เช็ค ดังกล่าว สั่งจ่าย กรรมการ 3 คน การ ตรวจ บัตร ประจำตัว ไม่ครบทุกคน และ ผู้รับเงิน ทุกคน มิได้ ลงลายมือชื่อ ต่อหน้า จำเลย ที่ 9ถึง ที่ 11 จึง เป็น การ จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรง ใน การ ที่ได้ จ่ายเงิน ตามเช็ค ให้ จำเลย ที่ 1 รับ ไป คนเดียว เมื่อ รับ เงิน จำนวนดังกล่าว มา แล้ว จำเลย ที่ 1 มิได้ นำ เงิน ไป จ่าย เป็น เงินเดือน และเงิน อื่น ๆ ให้ แก่ ข้าราชการ ใน สำนักงาน ศึกษาธิการอำเภอ เสลภูมิ แต่ นำ เงิน ไป ใช้ เป็น ประโยชน์ ส่วนตัว จำเลย ที่ 1 จึง ต้อง รับผิดใช้ เงิน จำนวน ดังกล่าว แก่ โจทก์ ทั้ง สาม จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 11ซึ่ง ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วย ความประมาท เลินเล่อ เป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 1ยักยอก เงิน ไป จึง ต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ต่อ โจทก์ ทั้ง สาม ด้วยจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ต่อ ศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ยอม ใช้ เงิน จำนวน 719,471.62 บาทแก่ โจทก์ ทั้ง สาม แต่ ไม่ยอม ชำระ โจทก์ ทั้ง สาม รู้ เหตุ ละเมิด และ บุคคลที่ จะ ต้อง รับผิด เมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2528 วันที่ 14 พฤศจิกายน2528 และ วันที่ 6 ธันวาคม 2528 ตามลำดับ โจทก์ ทั้ง สาม ทวงถาม ให้จำเลย ทั้ง สิบเอ็ด ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว แล้วแต่ จำเลย ทั้ง สิบเอ็ดเพิกเฉย พนักงานอัยการ จังหวัด ร้อยเอ็ด เป็น โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1เป็น คดีอาญา ศาล พิพากษา ลงโทษ จำคุก จำเลย ที่ 1 และ ให้ จำเลย ที่ 1คืน หรือ ใช้ เงิน ที่ ยัง ไม่ได้ คืน จำนวน 718,471.62 บาท แก่ โจทก์ทั้ง สาม แล้ว ตาม คำพิพากษา คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 2383/2528 ของศาลชั้นต้น ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สิบเอ็ด ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน719,471.62 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 กับ ที่ 11 ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1ยักยอก เงิน ไป จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 22 มิได้ ประมาท เลินเล่อ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน719,471.62 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระให้ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 11 ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้อง สำหรับ จำเลย ที่ 7ถึง ที่ 11 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ที่ คู่ความ มิได้ โต้เถียง กันใน ชั้นฎีกา ฟังได้ ว่า เมื่อ เดือน ตุลาคม 2522 สำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด ร้อยเอ็ด ได้ เปิด บัญชี เงินฝาก กระแสรายวัน กับ จำเลย ที่ 8บัญชี เลขที่ 2126 ระบุ เงื่อนไข การ สั่งจ่าย ว่า นาย ประเสริฐ บุญท้าว ศึกษาธิการจังหวัด ร้อยเอ็ด หรือ จำเลย ที่ 4 คนใด คนหนึ่ง มีสิทธิสั่งจ่าย เงิน ตาม บัญชี หรือ ระงับ การ สั่งจ่าย เงิน ตามเช็ค ได้ และ ได้มอบตัว อย่าง ลายมือชื่อ ของ บุคคล ดังกล่าว ให้ จำเลย ที่ 8 ไว้ ด้วยหลังจาก นั้น ก็ ออก เช็ค เบิกเงิน จาก บัญชี ตลอดมา ใน วันที่ 30 พฤศจิกายน2527 จำเลย ที่ 1 นำ เช็ค ของ จำเลย ที่ 8 เลขที่ 4916687 สั่งจ่าย เงินแก่ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 จำนวน 719,471.62 บาท โดย มี จำเลย ที่ 4ลงลายมือชื่อ เป็น ผู้สั่งจ่าย จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ได้ ลงลายมือชื่อไว้ ด้านหลัง เช็ค แล้ว ปรากฏ ตามเช็ค เอกสาร หมาย จ. 8 ไป ขอ เบิกเงินจาก จำเลย ที่ 8 จำเลย ที่ 10 ตรวจ ดู แล้ว เห็นว่า เช็ค ดังกล่าว มี รายการต่าง ๆ ถูกต้อง ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย ถูกต้อง ตาม ตัวอย่าง ที่ ให้ ไว้และ มี ลายมือชื่อ ผู้มีสิทธิ รับ เงิน ลง ไว้ ด้านหลัง เช็ค เรียบร้อยจึง อนุมัติ ให้ จ่ายเงิน ตามเช็ค และ พนักงาน ผู้ รักษา เงิน ของ จำเลย ที่ 8ได้ จ่ายเงิน ให้ จำเลย ที่ 1 ไป ต่อมา ปรากฏว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ยักยอกเงิน จำนวน ดังกล่าว ไป เป็น ประโยชน์ ส่วนตัว ต่อมา จำเลย ที่ 1 ถูกจับ กุมได้ พร้อม เงิน ของกลาง 1,000 บาท และ พนักงานอัยการ จังหวัด ร้อยเอ็ดเป็น โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 เป็น จำเลย ใน คดีอาญา ข้อหา เจ้าพนักงานยักยอก ทรัพย์ และ ขอให้ จำเลย ที่ 1 คืนเงิน ของกลาง และ คืน หรือ ใช้ เงินที่ ยัง ไม่ได้ คืน 718,471.62 บาท ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษ จำคุกจำเลย ที่ 1 กับ ให้ คืนเงิน ของกลาง และ คืน หรือ ใช้ เงิน ส่วน ที่ ยัง ไม่ได้คืน แก่ สำนักงาน ศึกษาธิการอำเภอ เสลภูมิ จังหวัด ร้อยเอ็ด คดีถึงที่สุด ตาม สำนวน คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 2383/2528 ของ ศาลชั้นต้น
พิเคราะห์ แล้ว ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สาม มี ว่าจำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11 จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ทั้ง สาม หรือไม่ เห็นว่าสำหรับ จำเลย ที่ 8 ซึ่ง เป็น สาขา ของ จำเลย ที่ 7 ประจำจังหวัด ร้อยเอ็ดนั้น โจทก์ ไม่มี พยานหลักฐาน ใด มา แสดง ให้ เห็นว่า จำเลย ที่ 8 จดทะเบียนเป็น นิติบุคคล คง ได้ความ แต่เพียง ว่า จำเลย ที่ 8 เป็น เพียง ที่ทำการสาขา ของ จำเลย ที่ 7 เท่านั้น จำเลย ที่ 8 จึง มิได้ เป็น นิติบุคคลอัน อาจ ถูก ฟ้อง ให้ รับผิด ได้ ส่วน จำเลย ที่ 7 และ ที่ 9 ถึง ที่ 11นั้น เห็นว่า จำเลย ที่ 7 เป็น ธนาคาร ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 991 จำเลย ที่ 7 มี หน้าที่ ต้อง จ่ายเงิน ตามเช็ค ที่ ผู้ เคย ค้ากับ ธนาคาร ได้ ออก เบิกเงิน แก่ ตน เว้นแต่ ใน บัญชี ของ ผู้สั่งจ่ายไม่มี เงิน พอ ที่ จะ จ่าย ตามเช็ค นั้น ได้ หรือ เช็ค นั้น ยื่น เพื่อ ให้ ใช้เงิน เมื่อ พ้น เวลา หก เดือน นับแต่ วันออกเช็ค หรือ ได้ มี คำบอกกล่าว ว่าเช็ค นั้น หาย หรือ ถูก ลัก ไป เช็ค ที่ จำเลย ที่ 1 นำ ไป ขอ เบิกเงิน ใน คดี นี้ไม่ เข้า ข้อยกเว้น ที่ จำเลย ที่ 7 จะ ไม่จ่าย เงิน ให้ ดังกล่าว แล้วยิ่งกว่า นั้น เช็ค ดังกล่าว ก็ ไม่มี การ บอก ห้าม ใช้ เงิน หรือ ปรากฏว่าผู้สั่งจ่าย ถึงแก่ความตาย หรือ ผู้สั่งจ่าย ถูก ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ชั่วคราว หรือ ล้มละลาย อัน จะ ทำให้ จำเลย ที่ 7 หมด หน้าที่และ อำนาจ ที่ จะ จ่ายเงิน ตามเช็ค ทั้งนี้ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 992 จึง ไม่มี เหตุ ตาม กฎหมาย ที่ จำเลย ที่ 7จะ ปฏิเสธ ไม่ ใช้ เงิน ตามเช็ค ที่ จำเลย ที่ 1 นำ ไป ขอ เบิกเงิน ตาม ที่กล่าว แล้ว ได้ และ เห็นว่า เช็ค เป็น ตรา สาร ที่ ออก ใช้ แทน เงินสด ทั้งนี้เพื่อ ความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และ คล่อง ตัว ใน การ ประกอบ ธุรกิจดังนั้น หาก ธนาคาร ผู้จ่าย เงิน ตามเช็ค ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วย ความระมัดระวัง ตาม ควร แก่ หน้าที่ ที่ ผู้ประกอบ ธุรกิจ เช่นนี้ จะ พึง ปฏิบัติก็ นับ ว่า เป็น การ เพียงพอ แล้ว จะ ถือว่า ธนาคาร ประมาท เลินเล่อ มิได้เมื่อ พิเคราะห์ เช็คพิพาท เอกสาร หมาย จ. 8 แล้ว เห็นว่า เป็น เช็ค ระบุชื่อ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 เป็น ผู้รับเงิน และ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3ก็ ได้ ลงลายมือชื่อ รับ เงิน ไว้ ด้านหลัง เช็ค ถูกต้อง เป็น ลายมือชื่อที่ แท้จริง มิใช่ ลายมือชื่อปลอม เมื่อ จำเลย ที่ 11 ซึ่ง เป็น พนักงานบริการ ได้รับ เช็ค และ บัตร ประจำตัว จาก จำเลย ที่ 1 แล้ว ได้ สอบถาม ถึงบัตร ประจำตัว ผู้รับเงิน ที่ ยัง ขาด อีก 1 ใบ ก็ ได้ความ ว่า จำเลย ที่ 2มิได้ นำ บัตร ประจำตัว มา จำเลย ที่ 11 จึง ไม่ติดใจ ซึ่ง อาจจะ เป็นเพราะ เห็นว่า ผู้รับเงิน ตามเช็ค ได้ ลงลายมือชื่อ ไว้ ด้านหลัง เช็คครบถ้วน แล้ว และ จำเลย ที่ 1 ก็ มี บัตร ประจำตัว มา แสดง จึง ได้ นำหมายเลข ลำดับ มา ติด เช็ค ไว้ กับ มอบ ให้ จำเลย ที่ 1 ถือ ไว้ รอ ขาน ชื่อ อีก1 ใบ จาก นั้น ก็ นำ เช็ค เสนอ พนักงานบัญชี พนักงานบัญชี นำ เสนอจำเลย ที่ 10 เมื่อ จำเลย ที่ 10 ซึ่ง เป็น สมุห์บัญชี ได้รับ เช็ค มา แล้วก็ ได้ ตรวจ ดู ความ ถูกต้อง สมบูรณ์ ของ เช็ค เห็นว่า เป็น เช็ค ของ จำเลยที่ 8 วันที่ สั่งจ่าย ถูกต้อง จำนวนเงิน ที่ ลง ทั้ง ตัวเลข และ ตัว หนังสือตรง กัน ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย ตรง ตาม ตัวอย่าง ที่ ให้ ไว้ ผู้รับเงินได้ ลงลายมือชื่อ ไว้ ที่ ด้านหลัง เช็ค ถูกต้อง และ เช็ค มิได้ ถูก อายัดรายการ ต่าง ๆ ดังกล่าว ครบถ้วน ถูกต้อง ที่ จะ อนุมัติ ให้ จ่ายเงิน ได้จึง ได้ อนุมัติ ให้ จ่ายเงิน และ ให้ พนักงาน นำ ไป ให้ นาง เพชรรัตน์ พนักงาน รักษา เงิน เป็น ผู้จ่าย เงิน ต่อไป จาก คำเบิกความ ของนาง เพชรรัตน์ ได้ความ ว่า เมื่อ ได้รับ เช็คพิพาท มา แล้ว ก็ ได้ ตรวจ ดู ความ ถูกต้อง ของ เช็ค ก่อน จะ จ่ายเงิน และ เห็นว่า เช็ค ดังกล่าว มี รายการถูกต้อง สมบูรณ์ กับ จำเลย ที่ 10 ได้ อนุมัติ ให้ จ่ายเงิน แล้ว จึง ได้ขาน หมายเลข ตาม ที่ ติด มา กับ เช็ค ปรากฏว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ แสดง ตนเป็น ผู้รับเงิน และ มี หมายเลข ตรง ตาม ที่ ขาน นาง เพชรรัตน์ จึง จ่ายเงิน ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 รับ ไป จะ เห็น ได้ว่า จำเลย ที่ 9 ถึง ที่ 11 ได้ ปฏิบัติหน้าที่ ด้วย ความระมัดระวัง ตาม ควร แก่ หน้าที่ แล้ว เมื่อ เช็คพิพาทไม่มี เหตุ ตาม กฎหมาย ที่ ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ได้ ดังกล่าว แล้วข้างต้น และ จำเลย ที่ 9 ถึง ที่ 11 ก็ ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วย ความระมัดระวัง ตาม ควร แก่ หน้าที่ แล้ว เช่นนี้ ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้นจึง มิใช่ เพราะ ความประมาท เลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 7 ที่ 9 ถึง ที่ 11หาก จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 มิได้ ลงลายมือชื่อ รับ เงิน ไว้ ด้านหลัง เช็คหรือ หาก จำเลย ที่ 4 ถึง ที่ 6 ขีดคร่อม เช็ค ดังกล่าว เสีย จำเลย ที่ 10และ ที่ 11 ก็ จะ ไม่จ่าย เงิน ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สามฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ปรากฏว่า จำเลย ที่ 1 ถูก พนักงานอัยการ จังหวัด ร้อยเอ็ดฟ้อง เป็น คดีอาญา ต่อ ศาลชั้นต้น ใน ข้อหา เจ้าพนักงาน ยักยอก ทรัพย์ซึ่ง เป็น เงิน ตามเช็ค เอกสาร หมาย จ. 8 ใน คดี นี้ ขอให้ ลงโทษ และ ให้จำเลย ที่ 1 คืน หรือ ใช้ เงิน ที่ ยักยอก ไป ยัง ไม่ได้ คืน เป็น การ ฟ้องคดีแพ่ง เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา เมื่อ คดีถึงที่สุด โดย ศาล พิพากษาลงโทษ จำเลย ที่ 1 กับ ให้ คืน หรือ ใช้ เงิน ที่ ยักยอก ไป ส่วน ที่ ยัง ไม่ได้คืน ตาม คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 2383/2528 ของ ศาลชั้นต้น คำพิพากษาดังกล่าว ย่อม ผูกพัน โจทก์ ทั้ง สาม ซึ่ง เป็น เจ้าของ เงิน เป็น ผู้เสียหายใน คดีอาญา เพราะ ถือว่า พนักงานอัยการ จังหวัด ร้อยเอ็ด ฟ้องคดี แทน โจทก์ทั้ง สาม จึง ต้องห้าม มิให้ โจทก์ ทั้ง สาม นำ คดี มา รื้อ ร้อง ฟ้อง จำเลย ที่ 1อีก ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ปัญหา เรื่องฟ้องซ้ำ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชนศาลฎีกา เห็นควร หยิบยก ขึ้น วินิจฉัย เอง ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ ทั้ง สาม สำหรับ จำเลย ที่ 1นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1