คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2477

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เป็นหลักทั่วไปว่าเมื่อสามีอนุญาตให้ภรรยาทำนิติกรรมแล้วนิติกรรมที่ภริยาทำไปผูกพันสินบริคณห์ของสามีภริยาทั้งหมด มาตรา 41 วรรค 3 นั้นใช้บังคับฉะเพาะในกรณีที่หญิงมีสามีได้รับอนุญาตของสามีได้รับอนุญาตของสามีให้ทำการค้าขายเป็นส่วนหนึ่งต่างหากเท่านั้น และถ้าหญิงเป็นหนี้ในกิจการค้าขายดังในวรรค 1-2 เจ้ายึดได้แต่สินบริคณห์ฉะเพาะที่เป็นส่วนของหญิง ฎีกาที่ 338/2474

ย่อยาว

ได้ความว่า ก.กู้เงินโจทก์ไป ๘๐๐ บาทภรรยา ม. จำเลยที่ ๓ เป็นผู้ค้ำประกัน โดย ม.ได้รู้เห็นยินยอม เมื่อ ก.ผิดนัดโจทก์ไปทวงถาม ม. ยังรับรอง
ศาลมณฑลพายัพพิพากษาให้จำเลยที่ ๑ ใช้ต้นเงินและดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ถ้าจำเลยที่ ๑ ใช้ไม่ได้ให้จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ใช้แทน
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยที่ ๓ เป็นบุคคลนอกไม่ใช่คู่สัญญา ถึงแม้จะรู้เห็นยินยอมให้ภรรยาค้ำประกันก็ดีตามป.พ.พ.ม. ม.๔๑ ตอน ๓ บัญญัติว่า หญิงมีสามีจะทำการผูกพันสินบริคณห์ได้แต่ฉะเพาะเพียงเท่าที่เป็นส่วนของตนเท่านั้น จึงไม่เป็นการผูกพันสินบริคณห์ของขาย จำเลยที่ ๓ ไม่ต้องรับผิด ส่วนดอกเบี้ยศาลเดิมไม่ได้อัตราไว้จึงบังคับเพิ่มให้คิดดอกเบี้ยชั่งละบาท นอกนั้นยืน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าป.พ.พ.ม. ๓๘ หญิงมีสามีหาอาจทำการผูกพันสินบริคณห์ของสามีได้ไม่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสามี เมื่อจำเลยที่ ๓ ผู้เป็นสามีอนุญาตแล้วก็ต้องรับผิดชอบผูกพันถึงสินบริคณห์แม้จะไม่ใช่คู่สัญญาก็ดี ส่วนมาตรา ๔๑ วรรค ๓ นั้นใช้บังคับฉะเพาะในกรณีที่หญิงมีสามีได้รับอนุญาตให้ทำการค้าขาย ถ้าหญิงมีสามีได้รับอนุญาตให้ทำการค้าขาย ถ้าหญิงมีสามีทำ หนี้ขึ้นในกิจการค้าขายดังวรรค ๑-๒ เจ้าหนี้ยึดได้แต่สินบริคณห์ฉะเพาะที่เป็นส่วนของหญิง มาตรา ๔๑ ตอน ๓ จึงเป็นเรื่องหญิงมีสามีทำการค้าขายเท่านั้น ตามฎีกาที่ ๓๓๘/๒๔++ ส่วนมาตรา ๓๘ เป็นหลักทั้วไป จึงพิพากษายืนตามศาลเดิม

Share