แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ท. ได้แจ้งแก่จำเลยแต่แรกว่าผู้ซื้อเครื่องจักรปั่นน้ำยางซึ่งจะเป็นคู่สัญญากับจำเลยคือบริษัทโจทก์แต่เนื่องจากยังมิได้จดทะเบียนตั้งบริษัทจึงให้ใส่ชื่อ ท. และ ส. เป็นคู่สัญญาไปก่อนและเมื่อจดทะเบียนแล้วได้แจ้งแก่จำเลยให้ออกใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้าใหม่ในนามบริษัทโจทก์ซึ่งจำเลยก็ได้ออกให้นอกจากนั้นในหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาซื้อขายที่จำเลยมีถึงบริษัทโจทก์ผ่าน ท.ได้ระบุไว้ชัดว่าบริษัทโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายฉบับแรกที่ทำไว้กับจำเลยซึ่งมี ท. และ ส. เป็นผู้ลงชื่อในฐานะผู้ซื้อดังนั้นถือได้ว่าทั้ง ท. และจำเลยต่างมีเจตนาแท้จริงร่วมกันมาแต่ต้นว่าให้บริษัทโจทก์เป็นผู้ซื้อและเป็นคู่สัญญากับจำเลยเมื่อต่อมาบริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลโดยชอบแล้วจึงต้องถือว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยจำเลยจะอ้างว่าในขณะทำสัญญาบริษัทโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและไม่มีชื่อเป็นคู่สัญญาหาได้ไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยได้ตกลงขยายระยะเวลาการเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ออกไปจากวันที่ระบุไว้ในใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้าโดยไม่มีกำหนดโจทก์จึงยังไม่ผิดสัญญาจนกว่าจำเลยจะกำหนดเวลาแน่นอนให้โจทก์เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเสียก่อนเมื่อจำเลยยังมิได้กระทำการดังกล่าวแม้โจทก์จะไม่ได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์ก็ไม่ใช่ฝ่ายผิดสัญญาจำเลยไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำเมื่อจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและโจทก์ก็มีหนังสือถึงจำเลยเรียกเงินมัดจำคืนตามพฤติการณ์ถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมซึ่งในกรณีนี้จำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่รับไว้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 26 กรกฎาคม 2531 โจทก์ ซึ่ง ขณะ นั้นยัง มิได้ ยื่น ขอ จดทะเบียน บริษัท โดย นาย ทรงศักดิ์ พันธุ์สถิตย์วงศ์ ได้ ตกลง ซื้อ เครื่องจักร ปั่น น้ำยาง พร้อม อุปกรณ์ จาก จำเลย โดย มีเงื่อนไข ว่า โจทก์ ต้อง วางเงิน มัดจำ 761,250 บาท และ ต้อง เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิต ค่าสินค้า ให้ แก่ จำเลย ภายใน เดือน พฤศจิกายน 2531เมื่อ ได้รับ เล็ตเตอร์ออฟเครดิต แล้ว จำเลย จะ ต้อง คืนเงิน มัดจำให้ โจทก์ ต่อมา วันที่ 24 สิงหาคม 2531 โจทก์ ได้ วางเงิน มัดจำ แล้วใน เดือน พฤศจิกายน 2531 โจทก์ ได้ ขอ ยืด เวลา เปิด เล็ตเตอร์ออฟเครดิตจาก เดิม รอ กำหนด เวลา ใหม่ ซึ่ง จำเลย ยินยอม แต่ ต่อมา จำเลย ได้ มีหนังสือ บอกเลิก สัญญา และ ริบ เงินมัดจำ ขอให้ บังคับ จำเลย คืนเงิน มัดจำพร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ รับ เงิน ถึง วันฟ้องจำนวน 839,929 บาท ให้ แก่ โจทก์ และ ใช้ ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีของ ต้นเงิน จำนวน 761,250 บาท นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย รู้ จัก หรือ ติดต่อ ค้าขาย กับ โจทก์จำเลย ไม่เคย ตกลง ขาย เครื่องจักร ปั่น น้ำยาง ตาม ฟ้อง ให้ แก่ โจทก์แต่ ได้ ตกลง ขาย ให้ แก่ นาง สุนีย์ พันธุ์สถิตย์วงศ์ และ นาย ทรงศักดิ์ พันธุ์สถิตย์วงศ์ โดย ทำ สัญญาซื้อขาย ต่อ กัน และ ผู้ซื้อ ได้ วางเงิน มัดจำ 761,250 บาท ให้ จำเลย ไว้ เพื่อ เป็น ประกันการ ปฏิบัติ ตาม สัญญา แต่ ผู้ซื้อ ผิดสัญญา ไม่ เปิด เล็ตเตอร์ออฟเครดิตชำระ ค่าสินค้า ให้ แก่ จำเลย ภายใน กำหนด ตาม สัญญา ทั้ง ๆ ที่ จำเลยได้ แจ้ง เตือน แล้ว จำเลย ไม่เคย ขยาย ระยะเวลา การ เปิด เล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้ แก่ ผู้ซื้อ การ ที่ ผู้ซื้อ ผิดสัญญา ทำให้ จำเลย ได้รับ ความเสียหายจำเลย มีสิทธิ ริบ เงินมัดจำ ได้ ตาม กฎหมาย
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 761,250 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ ตั้งแต่ วันที่ 24 สิงหาคม2531 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จสิ้น แก่ โจทก์
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง รับฟัง เป็น ยุติ ได้ว่านาย ทรงศักดิ์ พันธุ์สถิตย์วงศ์ และนางสุนีย์ พันธุ์สถิตย์วงศ์ ได้ ทำ สัญญา ซื้อ เครื่องจักร ปั่น น้ำยาง พร้อม อุปกรณ์ จาก จำเลย จำเลยออก ใบ กำกับ ราคา สินค้า ล่วงหน้า (Proforma invoice) ให้ ไว้ฝ่าย ผู้ซื้อ ได้ วาง มัดจำ ตาม เงื่อนไข ที่ ระบุ ใน สัญญา แก่ ผู้ขาย จำนวน761,250 บาท เมื่อ วันที่ 24 สิงหาคม 2531 ต่อมา วันที่ 9 พฤศจิกายน2531 จำเลย ออก ใบ กำกับ ราคา สินค้า ล่วงหน้า ใน สินค้า ราย เดียว กัน นี้ใน นาม บริษัท โจทก์ อีก หนึ่ง ฉบับ ตาม คำร้องขอ ของ นาย ทรงศักดิ์ และ นาง สุนีย์ หลังจาก นั้น จำเลย มี หนังสือ บอกเลิก สัญญาซื้อขาย ถึง โจทก์ อ้างว่า ไม่ เปิด เล็ตเตอร์ออฟเครดิต ให้ ตาม สัญญา และ ขอ ริบเงินมัดจำ โจทก์ จึง มี หนังสือ ถึง จำเลย เรียกเงิน มัดจำ คืน ปัญหา ที่ ต้องวินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ประการ แรก มี ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง จำเลยหรือไม่ เห็นว่า นาย ทรงศักดิ์ ได้ แจ้ง แก่ จำเลย แต่ แรก ว่า ผู้ซื้อ เครื่องจักร ปั่น น้ำยาง ซึ่ง จะ เป็น คู่สัญญา กับ จำเลย คือ บริษัท โจทก์แต่ เนื่องจาก ยัง มิได้ จดทะเบียน ตั้ง บริษัท จึง ให้ ใส่ ชื่อนาย ทรงศักดิ์และนางสุนีย์ เป็น คู่สัญญา ไป ก่อน และ เมื่อ จดทะเบียน แล้ว ได้ แจ้ง แก่ จำเลย ให้ ออก ใบ กำกับ ราคา สินค้า ล่วงหน้า ใหม่ ใน นามบริษัท โจทก์ ซึ่ง จำเลย ก็ ได้ ออก ให้ นอกจาก นั้น ใน หนังสือ แจ้ง ยกเลิกสัญญาซื้อขาย ที่ จำเลย มี ถึง บริษัท โจทก์ ผ่าน นาย ทรงศักดิ์ ได้ ระบุ ไว้ ชัด ว่า บริษัท โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ซื้อ ขาย ฉบับ แรก ที่ ทำ ไว้กับ จำเลย ซึ่ง มี นาย ทรงศักดิ์และนางสุนีย์ เป็น ผู้ลงชื่อ ใน ฐานะ ผู้ซื้อ ดังนั้น ถือได้ว่า ทั้ง นาย ทรงศักดิ์ และ จำเลย ต่าง มี เจตนา แท้จริง ร่วมกัน มา แต่ ต้น ว่า ให้ บริษัท โจทก์ เป็น ผู้ซื้อ และเป็น คู่สัญญา กับ จำเลย เมื่อ ต่อมา บริษัท โจทก์ ได้ จดทะเบียน ตั้ง ขึ้นเป็น นิติบุคคล โดยชอบ แล้ว จึง ต้อง ถือว่า บริษัท โจทก์ เป็น คู่สัญญากับ จำเลย จำเลย จะ อ้างว่า ใน ขณะ ทำ สัญญา บริษัท โจทก์ ยัง มิได้ จดทะเบียนเป็น นิติบุคคล และ ไม่มี ชื่อ เป็น คู่สัญญา หาได้ไม่ โจทก์ จึง มีอำนาจฟ้องคดี นี้
ปัญหา ต่อไป มี ว่า โจทก์ ผิดสัญญา หรือไม่ พิเคราะห์ ใบ กำกับราคา สินค้า ล่วงหน้า เอกสาร หมาย ล. 4 ที่ จำเลย ออก ให้ แก่ โจทก์ใน วันเดียว กับ ที่ ได้ ทำ สัญญาซื้อขาย ฉบับพิพาท แล้ว ปรากฎ ว่า มิได้ระบุ เวลา แน่นอน ใน การ กำหนด ให้ ฝ่าย ผู้ซื้อ คือ โจทก์ เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิต โดย มี ข้อความ เพียง ว่า “เล็ตเตอร์ออฟเครดิตต้อง ออก โดย ธนาคารพาณิชย์ ชั้น หนึ่ง ของ ประเทศ ไทย เร็ว ที่สุด เท่าที่จะ ทำได้ ฯลฯ ” ส่วน ใบ กำกับ ราคา สินค้า ล่วงหน้า เอกสาร หมาย ล. 5 และ ล. 7ได้ กำหนด เวลา การ เปิด เล็ตเตอร์ออฟเครดิต ไว้ ว่า “เล็ตเตอร์ออฟเครดิตต้อง ออก โดย ธนาคารพาณิชย์ ชั้น หนึ่ง ของ ประเทศ อย่างช้า ที่สุด ภายในวันที่ 31 (ที่ ถูก 30) พฤศจิกายน 2531 ฯลฯ ” เมื่อ พิจารณา ประกอบ กับหนังสือ แจ้ง ยกเลิก สัญญา ที่ จำเลย มี มา ถึง บริษัท โจทก์ โดย ผ่านนาย ทรงศักดิ์ แล้ว ใน หนังสือ ดังกล่าว ระบุ ว่า เนื่องจาก บริษัท โจทก์ ผิดสัญญา ซื้อ ขาย โดย ไม่สามารถ เปิด เล็ตเตอร์ออฟเครดิต ได้ ตาม สัญญาที่ ตกลง กัน และ ระยะเวลา การ ส่งมอบ สินค้า ก็ ได้ ล่วงเลย มา เกือบ 2 เดือนแล้ว รวมทั้ง บริษัท ฯ (จำเลย ) ได้ ยืด ระยะเวลา การ เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิต ให้ เกือบ 4 เดือน แล้ว แต่ ก็ ยัง ไม่มี อะไร คืบ หน้าหนังสือ ดังกล่าว ลงวันที่ 30 มีนาคม 2532 เมื่อ นับ ย้อนหลัง ไป เกือบ4 เดือน จาก วันที่ ลง ใน หนังสือ ก็ จะ เป็น ราว วันที่ 30 พฤศจิกายน 2531ดังนั้น ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่า จำเลย ได้ ตกลง ขยาย ระยะเวลา การ เปิดเล็ตเตอ ร์ออฟเครดิต ให้ แก่ โจทก์ ออก ไป จาก วันที่ 30 พฤศจิกายน 2531อันเป็น กำหนด เวลา ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน ใบ กำกับ สินค้า ล่วงหน้า โดยไม่มี กำหนด โจทก์ จึง ยัง ไม่ผิด สัญญา จนกว่า จำเลย จะ กำหนด เวลา แน่นอนให้ โจทก์ เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิต เสีย ก่อน เมื่อ จำเลย ยัง มิได้กระทำการ ดังกล่าว แม้ โจทก์ จะ ไม่ได้ เปิด เล็ตเตอ ร์ออฟเครดิต ให้โจทก์ ก็ ไม่ใช่ ฝ่าย ผิดสัญญา จำเลย ไม่มี สิทธิ ริบ เงินมัดจำ เมื่อ จำเลยมี หนังสือ บอกเลิก สัญญา และ โจทก์ ก็ มี หนังสือ ถึง จำเลย เรียกเงิน มัดจำคืน ตาม พฤติการณ์ ถือว่า ทั้ง สอง ฝ่าย ต่าง สมัครใจ เลิกสัญญา ต่อ กัน แล้วคู่สัญญา แต่ละ ฝ่าย จำต้อง ให้ อีกฝ่าย หนึ่ง ได้ กลับคืน สู่ ฐานะ ดัง ที่เป็น อยู่ เดิม ซึ่ง ใน กรณี นี้ จำเลย จะ ต้อง คืนเงิน มัดจำ ให้ แก่ โจทก์พร้อม ดอกเบี้ย นับแต่ วันที่ รับ ไว้
พิพากษายืน