แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจและจำเลยเป็นพนักงานของโจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงฐานะของโจทก์ภายหลังหรือไม่ก็หาเป็นเหตุให้มีผลลบล้างฐานะโจทก์และฐานะความรับผิดของจำเลยในขณะเกิดเหตุไม่จึงไม่มีผลกระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์และไม่เป็นสาระหรือประโยชน์แก่คดีที่พึงพิจารณาวินิจฉัย หนังสือมอบอำนาจเป็นหนังสือยืนยันขอบเขตอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นพนักงานของจำเลยและรับรองอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลของโจทก์ต่อบุคคลภายนอกเป็นการทั่วไปส่วนมติกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจของผู้แทนดังกล่าวอีกชั้นหนึ่งเป็นข้อจำกัดอำนาจเป็นการภายในหนังสือมอบอำนาจจึงไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่และฐานะของจำเลยหรือเป็นการเพิกถอนยกเลิกมติดังกล่าวไม่ ลูกหนี้ยื่นขอสินเชื่อในรูปแบบของการกู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเกินอำนาจอนุมัติของจำเลยแทนที่จำเลยจะเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารโจทก์ตามระเบียบกลับอนุมัติในรูป เพลซเมนท์/โลนหรือเงินฝากเป็นการจงใจหาวิธีการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามระเบียบและวัตถุประสงค์ในรูปสินเชื่อที่แท้จริงโดยทุจริตเมื่อเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ตรวจสอบแล้วทักท้วงว่ารูปแบบสินเชื่อดังกล่าวเป็นการให้กู้และให้แก้ไขแทนที่จำเลยจะแก้ไขปฏิบัติเป็นรูปเงินกู้ตามข้อทักท้วงและขออนุมัติตามระเบียบให้ถูกต้องตามความจริงจำเลยกลับเปลี่ยนแปลงเป็นรูปตั๋วสัญญาใช้เงินอันเป็นวิธีการเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตามที่ทักท้วงและไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดไว้ให้ถูกต้องอีกทั้งยังมีการเพิ่มจำนวนสินเชื่อที่เกินอำนาจหลายครั้งหลายหนชี้ชัดว่าเพื่อเอื้อประโยชน์กันแก่ลูกหนี้เป็นเจตนาทุจริต จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่เสียหายโดยอ้างว่ามีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้และได้มีการชำระหนี้ทั้งหมดแล้วโดยได้ยกขึ้นอ้างตั้งแต่ชั้นอุทธรณ์ตลอดมาและมีพยานเอกสารประกอบซึ่งโจทก์มิได้โต้แย้งพอรับฟังเป็นคุณแก่จำเลยได้ว่าเป็นความจริงแต่เมื่อตั้งแต่จำเลยให้ลูกหนี้กู้ยืมไปลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาตลอดมาจนกระทั่งจำเลยพ้นจากตำแหน่งแล้วตลอดถึงขณะที่โจทก์ฟ้องคดีความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ย่อมมีอยู่จริงก่อนแล้วตั้งแต่จำเลยกระทำผิดการเปลี่ยนตัวลูกหนี้และมีการชำระหนี้แล้วภายหลังเป็นเพียงการชำระหนี้ที่ล่าช้าและมิได้เกิดจากการดำเนินการของจำเลยไม่อาจรับฟังเป็นข้อลบล้างความเสียหายและไม่ช่วยให้จำเลยพ้นจากการกระทำผิดนั้นได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ประเภทบริษัท จำกัด มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ประกอบการ ธนาคารพาณิชย์ นาย พนัส สิมะเสถียร ประธาน กรรมการ เป็น ผู้มีอำนาจ ลงลายมือชื่อ และ ประทับตรา สำคัญ ของ บริษัท กระทำการ แทน โจทก์ ได้ โจทก์ มี กระทรวงการคลัง ถือ หุ้นเกินกว่า ร้อยละ ห้า สิบ ของ เงินทุน จดทะเบียน โจทก์ จึง เป็น รัฐวิสาหกิจจำเลย เป็น พนักงาน ของ โจทก์ ดำรง ตำแหน่ง กรรมการ ผู้จัดการ ใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2518 ถึง เดือน ธันวาคม 2523 และ ยัง คง เป็น พนักงานของ โจทก์ ใน ตำแหน่ง ดังกล่าว ต่อมา อีก โดย โจทก์ ได้ ทำ สัญญาจ้าง จำเลยตาม สัญญาจ้าง ฉบับ ลงวันที่ 20 มกราคม 2524 มี กำหนด 5 ปี ซึ่ง จำเลยได้ ออกจาก การ เป็น พนักงาน ของ โจทก์ เมื่อ วันที่ 22 มกราคม 2529ระหว่าง จำเลย เป็น พนักงาน ของ โจทก์ ตำแหน่ง กรรมการ ผู้จัดการ ใหญ่จำเลย มีอำนาจ หน้าที่ จัดการ กิจการ และ ทรัพย์สิน ของ โจทก์ โดย มีอำนาจอนุมัติ ให้ สินเชื่อ แก่ ลูกค้า โจทก์ ตาม ประเพณี ปฏิบัติ ของ ธนาคารพาณิชย์พึง กระทำ ตาม ปกติ เช่น การ ให้ กู้ยืม การ เบิกเงินเกินบัญชี การ ให้สินเชื่อ เพื่อ การ ส่ง สินค้า ออก การ ซื้อ ลด ตั๋วเงิน การ เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต การ ทำ สัญญา ทรัสต์รีซีท ฯลฯ ทั้งนี้ การ จัดการของ จำเลย ใน การ อนุมัติ สินเชื่อ ดังกล่าว จำเลย มี หน้าที่ ต้อง ปฏิบัติตาม ระเบียบ ข้อบังคับ และ มติ คณะกรรมการ โจทก์ ซึ่ง จำเลย ทราบ ดี แล้ว ว่าได้ กำหนด ให้ จำเลย มีอำนาจ อนุมัติ สินเชื่อ ให้ แก่ ลูกค้า ของ โจทก์ประเภท การ ให้ กู้เงิน หรือ เบิกเงินเกินบัญชี หรือ ค้ำประกัน เงินกู้ของ ลูกค้า โดย มี หลักทรัพย์ เป็น ประกัน คุ้ม กับ สินเชื่อ ที่ อนุมัติได้ ราย ละ ไม่เกิน 15,000,000 บาท ถ้า มี หลักทรัพย์ เป็น ประกัน ไม่ คุ้มกับ สินเชื่อ หรือ มี เพียง บุคคล ค้ำประกัน แล้ว จำเลย มีอำนาจ อนุมัติได้ ราย ละ ไม่เกิน 5,000,000 บาท และ ใน กรณี สินเชื่อ ไม่มี หลักประกันจำเลย มีอำนาจ อนุมัติ ได้ ราย ละ ไม่เกิน 2,000,000 บาท ส่วน การ อนุมัติให้ สินเชื่อ ประเภท การ ซื้อ ลด ตั๋วเงิน จะ ต้อง เป็น ปกติ การค้า ของธนาคาร ด้วย ตาม มติ คณะกรรมการ โจทก์ ครั้งที่ 198 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม2521 เมื่อ ระหว่าง เดือน กันยายน 2525 ถึง เดือน กรกฎาคม 2526เวลา กลางวัน ขณะที่ จำเลย เป็น พนักงาน ของ โจทก์ ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ ใหญ่ ได้รับ มอบหมาย ให้ จัดการ ทรัพย์สิน ของ โจทก์ ใน ฐานะผู้ มี อาชีพ หรือ ธุรกิจ อัน ย่อม เป็น ที่ ไว้ วางใจ ของ ประชาชน ซึ่ง จำเลยทราบ ว่า ตน มีอำนาจ อนุมัติ สินเชื่อ ให้ ลูกค้า ตาม มติ คณะกรรมการ โจทก์ครั้งที่ 198 อย่าง แจ้งชัด จำเลย ได้ ใช้ อำนาจ ใน หน้าที่ ที่ ดำรง ตำแหน่งดังกล่าว อนุมัติ ให้ บริษัท จี.เอส.พี.ไฟแนนซ์ จำกัด และ บริษัท จี.เอส.พี.อินเตอร์เนชั่นแนลแบงค์ จำกัด ซึ่ง มี ภูมิลำเนา อยู่ ณ ประเทศ ฮ่องกง ยาก แก่ การ ฟ้องร้อง บังคับคดี ได้รับ สินเชื่อ อัน มี ลักษณะ เป็น การกู้ยืมเงิน ไป จาก โจทก์ โดย มี หลักประกัน ไม่ คุ้มสินเชื่อ อันเป็น การ จงใจ ปฏิบัติ หน้าที่ โดยมิชอบ ด้วย เจตนา เพื่อ ให้เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ และ โดยทุจริต โดย จำเลย ได้ กระทำผิด กฎหมายหลายบท หลายกรรม ต่างกัน คือ เมื่อ วันที่ 15 กันยายน 2525 เวลา กลางวันจำเลย ได้ จัดการ อนุมัติ ให้ บริษัท จี.เอส.พี.ไฟแนนซ์ จำกัด และ บริษัท จี.เอส.พี.อินเตอร์เนชั่นแนลแบงค์ จำกัด ได้รับ สินเชื่อ อัน มี ลักษณะ เป็น การกู้ยืมเงิน ไป จาก โจทก์ สาขา นิวยอร์ค ประเทศ สหรัฐอเมริกา เป็น จำนวนเงิน บริษัท ละ 3,000,000เหรียญ สหรัฐ อเมริกา คิด เป็น เงิน ไทย บริษัท ละ 69,150,000 บาทเมื่อ วันที่ 9 ธันวาคม 2525 เวลา กลางวัน จำเลย ได้ จัดการ อนุมัติให้ บริษัท จี.เอส.พี.อินเตอร์เนชั่นแนลแบงค์ จำกัด ได้รับ สินเชื่อ อัน มี ลักษณะ เป็น การกู้ยืมเงิน ไป จาก โจทก์ สาขา นิวยอร์ค ประเทศ สหรัฐอเมริกา เป็น จำนวนเงิน 12,000,000 เหรียญ สหรัฐ อเมริกา คิด เป็น เงิน ไทย 276,600,000 บาท เมื่อ วันที่ 30 มิถุนายน 2526เวลา กลางวัน จำเลย ได้ จัดการ อนุมัติ ให้ บริษัท จี.เอส.พี.ไฟแนนซ์ จำกัด และ บริษัท จี.เอส.พี.อินเตอร์เนชั่นแนลแบงค์ จำกัด ได้รับ สินเชื่อ อัน มี ลักษณะ เป็น การกู้ยืมเงิน ไป จาก โจทก์สาขา นิวยอร์ค ประเทศ สหรัฐอเมริกา เป็น จำนวนเงิน บริษัท ละ 10,000,000 เหรียญ สหรัฐ อเมริกา คิด เป็น เงิน ไทย บริษัท ละ 230,500,000บาท และ ยัง จัดการ อนุมัติ ให้ บริษัท จี.เอส.พี.อินเตอร์เนชั่นแนลแบงค์ จำกัด ได้รับ สินเชื่อ อัน มี ลักษณะ เป็น การกู้ยืมเงิน ไป จาก โจทก์ สาขา นิวยอร์ค ประเทศ สหรัฐอเมริกา เป็น จำนวนเงิน อีก 5,000,000เหรียญ สหรัฐ อเมริกา คิด เป็น เงิน ไทย 115,250,000 บาท เมื่อ วันที่22 กรกฎาคม 2526 เวลา กลางวัน จำเลย ได้ จัดการ อนุมัติ ให้ บริษัท จี.เอส.พี.อินเตอร์เนชั่นแนลแบงค์ จำกัด ได้รับ สินเชื่อ อัน มี ลักษณะ เป็น การกู้ยืมเงิน ไป จาก โจทก์ สาขา นิวยอร์ค ประเทศ สหรัฐอเมริกา เป็น จำนวนเงิน 5,000,000 เหรียญ สหรัฐ อเมริกา คิด เป็น เงิน ไทย 115,250,000 บาท การกระทำ ดังกล่าว แล้ว จำเลยทราบ ดี ว่า จำเลย ไม่มี อำนาจ อนุมัติ สินเชื่อ ทุก ราย ข้างต้น ได้ เพราะจำนวนเงิน สินเชื่อ เกิน อำนาจ หน้าที่ ของ จำเลย ที่ จะ อนุมัติ ได้ ตามมติ คณะกรรมการ โจทก์ ครั้งที่ 198 เมื่อ จำเลย อนุมัติ สินเชื่อ ให้ แก่บริษัท ทั้ง สอง หลาย คราว ดังกล่าว ข้างต้น ต่อมา ได้ โอน เงิน ตาม จำนวนดังกล่าว ไป เข้าบัญชี ของ บริษัท ทั้ง สอง ที่ ธนาคาร โจทก์ สาขา นิวยอร์ค ประเทศ สหรัฐอเมริกา แล้ว ให้ บริษัท ทั้ง สอง ได้รับ เงิน จำนวน ดังกล่าว ไป จาก โจทก์ สาขา นิวยอร์ค หลาย คราว โดย ให้ บริษัท ทั้ง สอง เป็น ผู้ออกตั๋ว สัญญา ใช้ เงิน ให้ โจทก์ เป็น ผู้รับเงิน ซึ่ง มิใช่ ตั๋วเงินที่ เป็น ปกติ การค้า ของ ธนาคาร มอบ ให้ โจทก์ ไว้ เป็น หลักฐาน แห่ง หนี้อัน มี ลักษณะ เป็น การกู้ยืมเงิน ไป จาก โจทก์ การ ที่ จำเลย อนุมัติ ให้บริษัท จี.เอส.พี.ไฟแนนซ์ จำกัด และ บริษัท จี.เอส.พี.อินเตอร์เนชั่นแนลแบงค์ จำกัด กู้ยืม เงิน ไป โดย บริษัท ทั้ง สอง ออก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ให้ ไว้ เป็น หลักฐาน แห่ง หนี้ แทนที่ จะ ให้บริษัท ทั้ง สอง ทำ เป็น สัญญากู้ นั้น เป็น การ ที่ จำเลย กระทำ โดย จงใจหลีกเลี่ยง ฝ่าฝืน ต่อ อำนาจ การ อนุมัติ สินเชื่อ ประเภท การ ให้ กู้ยืม เงินของ จำเลย ที่ กำหนด ไว้ ตาม มติ คณะกรรมการ โจทก์ ครั้งที่ 198 ทั้ง การกระทำ ของ จำเลย ดังกล่าว มิใช่ เป็น การ ซื้อ ลด ตั๋วเงิน ซึ่ง เป็น ปกติ การค้าของ ธนาคาร อีก ด้วย เมื่อ จำเลย ได้ อนุมัติ ให้ บริษัท จี.เอส.พี.ไฟแนนซ์ จำกัด และ บริษัท จี.เอส.พี.อินเตอร์เนชั่นแนลแบงค์ จำกัด กู้ยืม เงิน ไป ดังกล่าว จน ถึง วันฟ้อง คดี นี้ บริษัท ทั้ง สอง ก็ ยังไม่สามารถ ชำระ เงิน คืน ให้ โจทก์ ซึ่ง จำเลย จะ ต้อง ติดตาม เร่งรัด ให้ลูกหนี้ ชำระหนี้ อย่าง จริงจัง แต่ จำเลย ก็ หา ได้ ปฏิบัติ ไม่ การกระทำของ จำเลย ดังกล่าว นอกจาก เป็น การ จงใจ ฝ่าฝืน มติ คณะกรรมการ โจทก์ครั้งที่ 198 แล้ว ยัง เป็น การ ปฏิบัติ ผิด หน้าที่ และ วิสัย ของผู้ประกอบ การธนาคารพาณิชย์ พึง กระทำ อีก ทั้ง ขัด กับ ประเพณี ปฏิบัติของ ธนาคารพาณิชย์ ทั่วไป โดย จำเลย มี เจตนา ปฏิบัติ หน้าที่ โดยมิชอบด้วย เจตนา เพื่อ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ และ โดยทุจริต เพื่อ ให้บริษัท จี.เอส.พี.ไฟแนนซ์ จำกัด และ บริษัท จี.เอส.พี.อินเตอร์เนชั่นแนลแบงค์ จำกัด ได้รับ ประโยชน์ จาก ทรัพย์สิน ของ โจทก์ อัน ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ เหตุ เกิด ที่แขวง คลองเตย เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร และ ธนาคาร โจทก์ สาขา นิวยอร์ค ประเทศ สหรัฐอเมริกา เกี่ยวพัน กัน ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด ของ พนักงาน ใน องค์การ หรือ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8, 11 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353, 354,90, 91 กับ นับ โทษ จำเลย ต่อ จาก โทษ ใน คดีอาญา หมายเลขดำ ที่ 4280/2530และ 9443/2530 ของ ศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี มีมูล ให้ ประทับ ฟ้องไว้ พิจารณา
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ และ ต่อสู้ ว่า โจทก์ มิใช่ รัฐวิสาหกิจแต่ รับ ว่า จำเลย เป็น บุคคล คนเดียว กับ จำเลย ใน คดี ที่ โจทก์ ขอให้นับ โทษ ต่อ จริง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า จำเลย กระทำผิด ใน ฐานะ เป็น พนักงานมี หน้าที่ จัดการ ทรัพย์ ใด ๆ ใช้ อำนาจ ใน หน้าที่ โดยทุจริต อันเป็น การเสียหาย แก่ บริษัท จำกัด ต้อง ตาม มาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิด ของ พนักงาน ใน องค์การ หรือ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ซึ่ง เป็นบทเฉพาะ แล้ว จึง ไม่เป็น ความผิด ตาม มาตรา 11 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 และ 354 อีก ปรากฏว่าจำเลย อนุมัติ สินเชื่อ ให้ แก่ บริษัท ทั้ง สอง ใน วันที่ 15 กันยายน 2525จำนวน 2 ครั้ง ตาม เอกสาร หมาย จ. 9 และ จ. 10 วันที่ 9 ธันวาคม 2525จำนวน 1 ครั้ง ตาม เอกสาร หมาย จ. 11 วันที่ 30 มิถุนายน 2526จำนวน 2 ครั้ง ตาม เอกสาร หมาย จ. 12 ส่วน ใน วันที่ 22 กรกฎาคม 2526นั้น เป็น การ อนุมัติ ให้ เปลี่ยน สินเชื่อ ประเภท เพลซเมนท์ จำนวน 5,000,000 เหรียญ สหรัฐ อเมริกา ไป เป็น วงเงิน ขาย ลด ตรา สาร พาณิชย์(ตั๋วสัญญาใช้เงิน ) ซึ่ง รวมกับ วงเงิน เดิม 10,000,000เหรียญ สหรัฐ อเมริกา แล้ว เป็น วงเงิน ทั้งสิ้น 15,000,000เหรียญ สหรัฐ อเมริกา ตาม เอกสาร หมาย จ. 13 ซึ่ง เป็น สินเชื่อ วงเงินจำนวน เดิม ที่ จำเลย เคย อนุมัติ ไว้ แล้ว ตาม เอกสาร หมาย จ. 12 เพียงแต่ใน วันที่ 22 กรกฎาคม 2526 จำเลย อนุมัติ ให้ เปลี่ยน จาก สินเชื่อ ประเภทเพล ซเมนท์เป็น สินเชื่อ ขาย ลด ตรา สาร พาณิชย์ (ตั๋วสัญญาใช้เงิน )เท่านั้น จึง เห็นว่า ตาม เอกสาร หมาย จ. 13 จำเลย มิได้ อนุมัติ สินเชื่อให้ แก่ บริษัท จี.เอส.พี.อินเตอร์เนชั่นแนลแบงค์ จำกัด เพิ่มเติม ขึ้น ใหม่ อัน จะ ถือว่า เกิน อำนาจ ที่ จำเลย จะ กระทำ ได้ แต่อย่างใดจึง ไม่เป็น ความผิด อีก กรรมหนึ่ง การกระทำ ของ จำเลย จึง เป็น การกระทำความผิด 5 กรรม พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิด ของ พนักงาน ใน องค์การ หรือ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502มาตรา 8 รวม 5 กรรม ให้ ลงโทษ จำเลย ทุกกรรม เป็น กระทง ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุก จำเลย กระทง ละ 5 ปี รวมเป็นโทษ จำคุก 25 ปี จำเลย เคย ประกอบ คุณงามความดี มา ก่อน ทั้ง ไม่ได้ ความ ว่าจำเลย ได้ รับผลประโยชน์ อื่น ใด จึง มีเหตุ ปรานี สมควร ลดโทษ ให้ 1 ใน 5ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก จำเลย มี กำหนด 20 ปีสำหรับ คำขอ ให้ นับ โทษ จำเลย ต่อ จาก โทษ ใน คดีอาญา หมายเลขดำ ที่ 4280/2530และ 9443/2530 ของ ศาลชั้นต้น นั้น ไม่ปรากฏ ว่าคดี ดังกล่าว มี คำพิพากษาแล้ว จึง ให้ยก คำขอ ส่วน นี้ และ คำขอ อื่น ของ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ใน คำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ปัญหา ที่ จำเลย ฎีกา ว่าฐานะ ของ โจทก์ ที่ เป็น รัฐวิสาหกิจ เดิม ได้ มี การ เปลี่ยนแปลง ภายหลังเป็น เพียง นิติบุคคล ธรรมดา แล้ว โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง นั้น เห็นว่าข้อเท็จจริง รับฟัง เป็น ยุติ ได้ว่า ขณะ เกิดเหตุ คดี นี้ ฐานะ ของ โจทก์เป็น รัฐวิสาหกิจ อยู่ และ จำเลย เป็น พนักงาน ของ โจทก์ จึง มี ฐานะ เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ อยู่ จริง ตาม ฟ้อง ส่วน ที่ มี การ เปลี่ยนแปลง ฐานะของ โจทก์ ภายหลัง ตาม ที่ จำเลย ฎีกา หรือไม่ ก็ ตาม หา เป็นเหตุ ยัง ให้ มีผล ลบล้าง ฐานะ โจทก์ และ ฐานะ ความรับผิด ของ จำเลย ใน ขณะ เกิดเหตุ กระทำผิดคดีอาญา นี้ ไม่ ข้ออ้าง เรื่อง การ เปลี่ยนแปลง ฐานะ ของ โจทก์ ภายหลังเกิดเหตุ คดี นี้ จะ เป็น จริง หรือไม่ จึง ไม่มี ผล กระทบ ถึง อำนาจฟ้องของ โจทก์ ดัง ที่ จำเลย ฎีกา และ ไม่เป็น สาระ หรือ ประโยชน์ แก่ คดี ที่ ศาลฎีกาจะ พึง พิจารณา วินิจฉัย และ ที่ จำเลย ฎีกา เป็น ประเด็น สืบเนื่อง ต่อมา ว่าจำเลย กระทำการ ตาม อำนาจ ที่ โจทก์ มอบ ให้ ตาม หนังสือมอบอำนาจเอกสาร หมาย ล. 12 และ ล. 13 จึง ไม่มี ฐานะ เป็น พนักงาน ผู้ มี หน้าที่ตาม กฎหมาย นั้น เห็นว่า การ มอบอำนาจ ที่ จำเลย อ้าง ถึง เป็น เพียง การ ยืนยันขอบเขต อำนาจ ใน การปฏิบัติหน้าที่ ใน ฐานะ เป็น พนักงาน ของ จำเลย ดังกล่าวหา ได้ มีผล เป็น การ เปลี่ยนแปลง หน้าที่ และ ฐานะ ของ จำเลย ดัง ที่ อ้าง ไม่ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
สำหรับ ปัญหา ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ได้รับ มอบอำนาจ ใน ฐานะ ผู้จัดการ ใหญ่จาก โจทก์ ตาม หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย ล. 12 และ ล. 13 มีผล เป็นการ ยกเลิก มติ ที่ ประชุม คณะกรรมการ โจทก์ เรื่อง ข้อกำหนด ขอบเขต อำนาจของ กรรมการ ผู้จัดการ ใหญ่ ตาม เอกสาร หมาย จ. 4 นั้น เห็นว่าเอกสาร หมาย ล. 12 และ ล. 13 เป็น หนังสือ ที่ โจทก์ ซึ่ง เป็น นิติบุคคลมอบอำนาจ เป็น การ ทั่วไป แก่ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการ ใหญ่ ซึ่ง เป็นผู้แทน นิติบุคคล เพื่อ การ ก่อ นิติสัมพันธ์ กับ บุคคลภายนอก กล่าว คือเป็น หนังสือ ยืนยัน รับรอง อำนาจ หน้าที่ ของ จำเลย ใน ฐานะ เป็น ผู้แทนนิติบุคคล ของ โจทก์ ต่อ บุคคลภายนอก เป็น การ ทั่วไป ส่วน เอกสาร หมาย จ. 4เป็น มติ กำหนด ขอบเขต การ ใช้ อำนาจ ของ ผู้แทน ดังกล่าว อีก ชั้น หนึ่งเป็น ข้อจำกัด อำนาจ เป็น การ ภายใน เอกสาร หมาย ล. 12 และ ล. 13จึง ไม่มี ผล เป็น การ เพิกถอน ยกเลิก เอกสาร หมาย จ. 4 ดัง ที่ จำเลย อ้างตรงกันข้าม เอกสาร หมาย จ. 4 เป็น ข้อจำกัด เพื่อ กำกับ การ ใช้ อำนาจของ ผู้แทน นิติบุคคล ตาม เอกสาร หมาย ล. 12 และ ล. 13 อีก ชั้น หนึ่งเป็น การ ภายใน ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
ใน ปัญหา ที่ จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย ให้ สินเชื่อ ราย พิพาท ใน รูป ของเพล ซเมนท์/โลน แล้ว สืบเนื่อง เปลี่ยนแปลง ต่อมา เป็น การ ขาย ลดตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็น การ อนุมัติ สินเชื่อ ใน รูป อื่น มิใช่ การ ให้ กู้ยืมจึง ไม่เกิน อำนาจ ของ จำเลย นั้น ข้อเท็จจริง ที่ โจทก์ จำเลย นำสืบรับ ตรง กัน ฟัง เป็น ยุติ ได้ว่า สินเชื่อ ราย พิพาท เริ่มต้น โดย ลูกหนี้ ยื่นขอ กู้ ใน รูป แบบ ของ การ กู้ เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่ง เกิน อำนาจ อนุมัติของ จำเลย แต่ จำเลย อนุมัติ โดย ให้ สินเชื่อ ใน รูป ที่ เรียกว่า เพลซเมนท์/โลน คือ นำ เงิน ไป ฝาก ใน บัญชี ของ ลูกหนี้ และ ต่อมา เมื่อ เจ้าหน้าที่ แห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา ประเทศ ที่ สาขา ของ โจทก์ ตั้ง อยู่ นั้น ได้ มาตร วจสอบ แล้ว ทักท้วง ว่า ไม่ถูกต้อง เพราะ วิธีการดังกล่าว เป็น การ ให้ กู้ จำเลย จึง เปลี่ยนแปลง รูป แบบ มา เป็น รูปตั๋วสัญญาใช้เงิน ข้อเท็จจริง ดังกล่าว ข้างต้น นี้ ชี้ ชัด อยู่ ใน ตัว ว่าความจริง แล้ว เจตนา ของ ลูกหนี้ ที่ แท้จริง คือ สินเชื่อ ใน รูป กู้แต่ เนื่องจาก วงเงิน กู้ สูง เกิน อำนาจ จำเลย ที่ จะ อนุมัติ ได้ จำเลย แทนที่จะ เสนอ ขออนุมัติ จาก คณะกรรมการ ธนาคาร โจทก์ ตาม ระเบียบ จำเลย กลับอนุมัติ ใน รูป เพลซเมนท์/โลน หรือ เงินฝาก เสีย เอง ซึ่ง เห็น ได้ ชัด ว่า เป็น การ จงใจ หา วิธีการ หลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติ ตาม ระเบียบ และ วัตถุประสงค์ใน รูป สินเชื่อ ที่ แท้จริง โดยทุจริต และ เจตนา ทุจริต ของ จำเลย ดังกล่าว นี้แสดง ออก เด่นชัด ยิ่งขึ้น เมื่อ เจ้าหน้าที่ ของ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ที่ สาขา ของ โจทก์ ตั้ง อยู่ ได้ ทักท้วง โดย ยืนยัน ว่า รูป แบบ เพลซเมนท์/โลน หรือ เงินฝาก ที่ ปรากฏ เป็น การ ให้ กู้ และ ให้ แก้ไข จำเลย แทนที่ จะ แก้ไข ปฏิบัติ เป็น รูป เงินกู้ ตาม ข้อ ทักท้วง และ ขออนุมัติตาม ระเบียบ ให้ ถูกต้อง ตาม ความจริง จำเลย กลับ ดำเนินการ เปลี่ยนแปลงเป็น รูป ตั๋วสัญญาใช้เงิน อันเป็น วิธีการ เลี่ยง ไม่ยอม ปฏิบัติ ตาม ที่ทักท้วง และ ไม่ปฏิบัติ ตาม ระเบียบ ที่ กำหนด ไว้ ให้ ถูกต้อง อีก ทั้ง ยังปรากฏ ด้วย ว่า มี การ เพิ่ม จำนวน สินเชื่อ ที่ เกิน อำนาจ ดังกล่าว นี้หลาย ครั้ง หลาย หน เจตนา ของ จำเลย ที่ ปรากฏ ชี้ ชัด ว่า เพื่อ เอื้อประโยชน์กัน แก่ ลูกหนี้ เป็น เจตนา ทุจริต ชัดเจน ปราศจาก ข้อสงสัย ข้อ แก้ตัว ต่าง ๆตาม ที่ จำเลย ยกขึ้น เป็นเหตุ ฎีกา ว่าการ กู้ยืม ราย พิพาท เป็น สินเชื่อใน รูป ตั๋วสัญญาใช้เงิน และ จำเลย มีอำนาจ อนุมัติ นั้น ไม่อาจ เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ที่ ชี้ ชัด ว่า เป็น เพียง วิธีการ หลีกเลี่ยง แก้ตัว ของ จำเลยใน การกระทำ ฝ่าฝืน ระเบียบ โดย จงใจ เพื่อ เอื้อประโยชน์ แก่ ลูกหนี้ดัง วินิจฉัย มา ข้างต้น ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
สำหรับ ประเด็น สุดท้าย ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ไม่เสีย หาย โดย อ้างข้อเท็จจริง ปรากฏ ภายหลัง ว่า มี การ เปลี่ยน ตัว ลูกหนี้ และ ได้ มี การชำระหนี้ ทั้งหมด แล้ว นั้น เห็นว่า ข้อเท็จจริง ดังกล่าว จำเลย ได้ ยกขึ้นอ้าง ตั้งแต่ ชั้นอุทธรณ์ ตลอดมา โดย มี พยานเอกสาร ประกอบ และ โจทก์ มิได้โต้แย้ง แต่ ประการใด จึง พอ รับฟัง เป็น คุณ แก่ จำเลย ได้ว่า เป็น ความจริงตาม ที่ อ้าง ก็ ตาม แต่ ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฏ ตั้งแต่ จำเลย ให้ ลูกหนี้กู้ยืม ไป ลูกหนี้ มิได้ ชำระหนี้ ตาม กำหนด ตลอดมา จน กระทั่ง จำเลยพ้น จาก ตำแหน่ง แล้ว ตลอด ถึง ขณะที่ โจทก์ ฟ้องคดี นี้ ความเสียหายที่ เกิดขึ้น แก่ โจทก์ ใน ส่วน นี้ ย่อม มี อยู่ จริง ก่อน แล้ว ตั้งแต่ จำเลยกระทำ ความผิด คดี นี้ ดังนั้น การ เปลี่ยน ตัว ลูกหนี้ และ มี การ ชำระหนี้แล้ว ภายหลัง ตาม ที่ จำเลย อ้าง นั้น ก็ คง เป็น เพียง การ ชำระหนี้ ที่ ล่าช้าและ มิได้ เกิดจาก การ ดำเนินการ ของ จำเลย จึง ไม่อาจ รับฟัง เป็น ข้อ ลบล้างความเสียหาย ที่ จำเลย ได้ ก่อ ขึ้น และ ไม่ ช่วย ให้ จำเลย พ้น จาก ความ กระทำผิดที่ ได้ กระทำ นั้น ได้ ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น ทุก ข้อ ”
พิพากษายืน