คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้การกระทำของจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกจะเป็นกรณีที่ศาลอาจถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตามแต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำสั่งถอดถอนจำเลยที่1ก็ยังคงมีอำนาจในการจัดการมรดกได้เมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินกับเงินฝากธนาคารและจำเลยที่1ได้โอนที่ดินดังกล่าวและถอนเงินออกมาทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี2528จึงถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่ปี2528โจทก์ฟ้องคดีนี้ในปี2535เกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จคดีจึงขาดอายุความ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ผู้จัดการมรดก ของนางสาว มณี นอนโพธิ์ ตาม คำสั่งศาล ชั้นต้น คดี หมายเลขแดง ที่ 100/2528มี หน้าที่ แบ่งปัน ทรัพย์มรดก ของ นางสาว มณี ให้ แก่ โจทก์ และ ทายาท อื่น ๆ แต่ ไม่ปฏิบัติ หน้าที่ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก โดย จำเลย ที่ 1 จดทะเบียนโอน ที่ดิน มรดก โฉนด เลขที่ 33083 เป็น ของ ตนเอง แต่เพียง ผู้เดียวและ ยักยอก เอา เงิน ของ นางสาว มณี จำนวน 70,000 บาท ซึ่ง ฝาก ไว้ ที่ ธนาคาร ไป ต่อมา จำเลย ที่ 1 ทำนิติกรรม ยก ที่ดิน มรดก ดังกล่าว ให้ แก่จำเลย ที่ 2 โดยทุจริต เป็น การ ยักยอก และ เบียดบัง ทรัพย์มรดก เอา เป็นของ ตนเอง มาก กว่า ส่วน ที่ ตน จะ ได้รับ โดย ฉ้อฉล ต้อง ถูก กำจัด มิให้ได้รับ มรดก และ การ ที่ จำเลย ที่ 1 ปฏิบัติ หน้าที่ โดย ไม่สมควร ใน การเป็น ผู้จัดการมรดก ขอให้ ศาล มี คำสั่ง กำจัด จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ไม่ให้ ได้รับ มรดก ของ นางสาว มณี และ เพิกถอน จำเลย ที่ 1 จาก การ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นางสาว มณี โดย ตั้ง โจทก์ เป็น ผู้จัดการมรดก แทน และ ยกเลิก การ จดทะเบียน โอน รับมรดก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 33083 ตาม คำขอของ จำเลย ที่ 1 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2528 และ เพิกถอน การ ทำนิติกรรมยกให้ ที่ดิน ดังกล่าว ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 ลงวันที่ 99 มีนาคม 2533 ให้ จำเลย ที่ 1 คืนเงิน จำนวน 106,836.30 บาทแก่ กอง มรดก ของ นางสาว มณี พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน จำนวน 70,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ คืนเสร็จสิ้น
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ แบ่ง ทรัพย์มรดกอย่าง ถูกต้อง ตาม หน้าที่ ด้วย ความ บริสุทธิ์ ยุติธรรม แล้ว และ คดี ของโจทก์ ขาดอายุความ เพราะ โจทก์ ไม่ฟ้อง ร้อง ภายใน กำหนด 5 ปี นับแต่การ จัดการ มรดก สิ้นสุด ลง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน นางสาว เปรี่ยม นอนโพธิ์ จำเลย ที่ 1 จาก การ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นางสาว มณี นอนโพธิ์ และ กำจัด มิให้ เป็น ผู้รับมรดก ของ นางสาว มณี กับ ให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 33083 ตำบล บ้านโพธิ์ อำเภอ เมือง นครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา เมื่อ วันที่ 11 มีนาคม2528 และ วันที่ 9 มีนาคม 2533 โดย ให้ ที่ดิน กลับคืน สู่ กอง มรดกของ นางสาว มณี
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำขอ ที่ ให้ เพิกถอนจำเลย ที่ 1 จาก การ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นางสาว มณี นอนโพธิ์ และ กำจัด มิให้ เป็น ผู้รับมรดก ของ นางสาว มณี กับ ให้ยก คำขอ ที่ ให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท เมื่อ วันที่ 11 มีนาคม 2528และ วันที่ 9 มีนาคม 2533 เสีย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นรับฟัง ได้ว่า โจทก์ จำเลย ที่ 1 นาง ฉ่ำ พงษ์นาคินทร์ นาย ดัด นอนโพธิ์ และนางสาวมณี นอนโพธิ์ พี่น้อง ร่วม บิดา มารดา เดียว กัน โดย เป็น บุตร ของ นาย แดง นางเอ้บ นอนโพธิ์ ส่วน จำเลย ที่ 2เป็น บุตร คน โต ของ นาง ฉ่ำ เมื่อ ปี พ.ศ. 2528 นางสาว มณี ถึงแก่ความตาย มี ทรัพย์มรดก เป็น ที่ดิน 1 แปลง คือ ที่พิพาท และ เงินฝากใน ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด สาขา นครราชสีมา 70,000 บาท จำเลย ยื่น คำร้องขอ เป็น ผู้จัดการมรดก นางสาว มณี ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ตั้ง จำเลย เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นางสาว มณี เมื่อ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2528 ตาม คดี หมายเลขแดง ที่ 100/2528 ของ ศาลชั้นต้น เมื่อ วันที่11 มีนาคม 2528 จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นางสาว มณี ได้ จดทะเบียน โอน ที่พิพาท ให้ จำเลย ที่ 1 ถือ กรรมสิทธิ์ ใน ฐานะผู้จัดการมรดก และ ใน วันเดียว กัน จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดกได้ จดทะเบียน โอน ที่พิพาท เป็น ของ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ทายาทโดยธรรมตาม เอกสาร หมาย จ. 5 และ จ. 6 และ เมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2533 จำเลย ที่ 1ได้ จดทะเบียน ยก ที่พิพาท ให้ จำเลย ที่ 2 โดยเสน่หา ไม่มี ค่าตอบแทน เพราะจำเลย ที่ 2 เป็น หลาน ตาม เอกสาร หมาย จ. 7 ส่วน เงินฝาก ใน ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด สาขา นครราชสีมา จำเลย ที่ 1 ได้ ถอน ออก มา ทั้งหมด คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความหรือไม่ โดย โจทก์ อ้างว่า การ ที่ จะ ถือว่า การ จัดการ มรดก สิ้นสุด ลง แล้วต้อง ปรากฏว่า ผู้จัดการมรดก ได้ แบ่งปัน มรดก ให้ แก่ ทายาท ทุกคน แล้วแต่ จำเลย ที่ 1 ยัง มิได้ แบ่งปัน ทรัพย์มรดก ให้ แก่ ผู้ใด คง จดทะเบียนโอน ที่ดิน เป็น ของ ตน แต่ ผู้เดียว และ จำเลย ที่ 1 เพิ่ง โอน ที่ดิน มรดกแก่ จำเลย ที่ 2 เมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2533 จึง ถือไม่ได้ว่า การ จัดการมรดก สิ้นสุด ลง เมื่อ วันที่ 11 มีนาคม 2528 นั้น เห็นว่า ตาม ฟ้องของ โจทก์ มี ทรัพย์มรดก ของ นางสาว มณี อยู่ เพียง ที่พิพาท และ เงินฝาก ใน ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด สาขา นครราชสีมา 70,000 บาท สำหรับ ที่พิพาท ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 5 และ จ. 6 ว่า จำเลย ที่ 1 ได้จดทะเบียน โอน ที่พิพาท ให้ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก เมื่อ วันที่11 มีนาคม 2528 และ ใน วันเดียว กัน จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดกได้ จดทะเบียน โอน ที่พิพาท เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะทายาทโดยธรรม ของ เจ้ามรดก แต่ การ โอน ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 นั้น ปรากฏว่าตาม เอกสาร หมาย จ. 7 ว่า จำเลย ที่ 1 โอน ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 โดยเสน่หาไม่มี ค่าตอบแทน เพราะ จำเลย ที่ 2 เป็น หลาน ส่วน เงินฝาก ใน ธนาคาร นั้นคู่ความ นำสืบ รับ กัน ว่า ภายหลัง ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง แต่งตั้ง ให้จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดก แล้ว จำเลย ที่ 1 ได้ ไป ถอนเงิน ทั้งหมดจาก ธนาคาร แม้ โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง จะ ไม่ส่ง อ้าง หลักฐาน การ เบิกเงินของ จำเลย ที่ 1 ก็ พอ คาดคะเน ตาม หลัก เหตุผล ได้ว่า การ ที่ อ้างว่า นำ ไปชำระ ค่ารักษาพยาบาล และ ค่า จัดงาน ศพ ของ นางสาว มณี แสดง ว่า จำเลย ที่ 1ได้ เบิกเงิน จำนวน ดังกล่าว ใน ปี พ.ศ. 2528 อันเป็น ปี ที่นา งสาว มณี รักษา ตัว และ ถึงแก่ความตาย แล้ว จำเลย ที่ 1 ได้รับ แต่งตั้ง เป็นผู้จัดการมรดก นั่นเอง ดังนั้น เมื่อ ปรากฏว่า นางสาว มณี มี ทรัพย์มรดก อยู่ เพียง 2 รายการ คือ ที่พิพาท และ เงินฝาก 70,000 บาท ซึ่งจำเลย ที่ 1 ได้ จัดการ โอน ที่พิพาท เป็น ของ ตน และ ถอนเงิน ทั้งหมดออก มา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2528 แม้ การกระทำ ดังกล่าว เป็น กรณี ที่ ศาล อาจถอด ถอน จำเลย ที่ 1 จาก ผู้จัดการมรดก เสีย ได้ ใน เมื่อ ศาล ยัง มิได้ถอด ถอน จำเลย ที่ 1 ก็ ยัง คง มีอำนาจ ใน การ จัดการ มรดก การ ที่ จำเลย ที่ 1ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ได้ ทำการ โอน ที่ดิน มรดก และ ถอนเงิน ออก มา ทั้งหมดตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2528 ก็ ถือได้ว่า การ จัดการ มรดก ได้ สิ้นสุด ลง เมื่อ ปีพ.ศ. 2528 โจทก์ มา ฟ้อง ใน คดี นี้ ใน วันที่ 4 มีนาคม 2535 เกินกว่า5 ปี นับแต่ การ จัดการ มรดก เสร็จ คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความกรณี ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ อื่น ต่อไป ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share