คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

คดีแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1และที่2ให้การแก่พนักงานสอบสวนว่าโจทก์ไปซื้อน้ำมันก๊าดจากจำเลยและจำเลยที่3ให้การว่าเห็นโจทก์เข้าร่วมประชุมในห้องทำงานของช.อันเป็นความเท็จทำให้โจทก์ถูกควบคุมตัวถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยและถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อนแต่ไม่ได้บรรยายว่าการแจ้งความดังกล่าวมีข้อเท็จจริงอะไรอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์ถูกควบคุมตัวถูกตั้งกรรมการสอบสวนและถูกให้ออกและเป็นการแจ้งความเกี่ยวกับคดีอาญาฐานใดศาลไม่อาจเข้าใจหรือพอแปลความหมายได้ฟ้องโจทก์ขาดข้อเท็จจริงและรายละเอียดอันจะพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ทั้งสาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา137, 172, 174 วรรค2, 83, 90, 91 ประกาศ ของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่11 พ.ศ. 2514 ข้อ 2
จำเลย ทั้งสาม ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ ซึ่ง พิจารณา คดี นี้ อนุญาตให้ ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ทั้งสาม ฐานแจ้งความ อัน เป็น เท็จ และ แจ้งความ อัน เป็น เท็จ ต่อ พนักงาน สอบสวนเพื่อ แกล้ง ให้ ต้อง รับ โทษ ทาง อาญา แต่ ตาม คำ บรรยาย ฟ้อง ของโจทก์ ที่ ว่า จำเลย ที่ 1 และ 2 ไป ให้การ แก่ พนักงาน สอบสวนสถานีตำรวจนครบาล พหลโยธิน ว่า โจทก์ ไป ซื้อ น้ำมันก๊าด จาก จำเลยทั้งสอง และ ว่า จำเลย ที่ 3 ไป ให้การ แก่ พนักงาน สอบสวน กองบังคับการตำรวจ นครบาลเหนือ ว่า เห็น โจทก์ เข้า ร่วม ประชุม ใน ห้อง ทำงานของ พันตำรวจตรี ชุมพล คำกลิ่น อัน เป็น ความ เท็จ ทำ ให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย โดย ถูก ควบคุม ตัว ถูก ตั้ง กรรมการ สอบสวน ทางวินัย และ ถูก ให้ ออก จาก ราชการ ไว้ ก่อน นั้น ไม่ ปรากฏ จากคำ บรรยายฟ้อง ของ โจทก์ ว่า การ แจ้งความ ของ จำเลย ดังกล่าว มีข้อเท็จจริง อย่างไร เกี่ยวกับ เรื่อง ที่ โจทก์ ถูก ควบคุม ตัวถูก ตั้ง กรรมการ สอบสวน ทาง วินัย และ ถูก ให้ ออก จาก ราชการ และเป็น การ แจ้งความ เกี่ยวกับ คดีอาญา ฐาน ใด ศาล ตรวจ คำฟ้อง แล้วก็ ไม่ อาจ เข้าใจ หรือ พอ แปลความ ได้ ว่า เรื่อง ที่ จำเลย แจ้งความเกี่ยวข้อง กับ เรื่อง ที่ โจทก์ ถูก ควบคุม ตัว ถูก สอบสวน ทาง วินัยและ ถูก ให้ ออก จาก ราชการ ไว้ ก่อน อย่างไร ฟ้อง ของ โจทก์ จึง ขาดข้อเท็จจริง และ รายละเอียด ที่ แสดง ให้ เห็น ว่า การ แจ้งความ ของจำเลย เป็น ความ เท็จ อัน พอ จะ ทำ ให้ จำเลย เข้าใจ ข้อหา ได้ ดีเป็น ฟ้อง ที่ ไม่ สมบูรณ์ ไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) และ ใน เรื่อง ฟ้อง ไม่ ถูกต้อง นี้ เป็น ข้อกฎหมายอัน เกี่ยวด้วย ความ สงบเรียบร้อย ของ ประชาชน แม้ จำเลย ทั้งสาม ไม่ได้ ยก ขึ้น ว่ากล่าว มา ใน ศาลชั้นต้น ศาลฎีกา ยก ขึ้น วินิจฉัยได้ เอง’
พิพากษายืน ให้ ยกฟ้อง โจทก์

Share