แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
++ เรื่อง คดีแรงงาน ++
++ คดีแดงที่ 5489-5494/2543
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์ทั้งหกต่างเป็นลูกจ้างจำเลย ทำงานติดต่อกันมาคนละครบ 10 ปีขึ้นไป มีอายุครบเกณฑ์เกษียณอายุตามระเบียบของจำเลยในปี 2541 เดิมจำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
++ มีข้อบังคับการทำงานเกี่ยวกับการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเพราะเกษียณอายุ การจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่เกษียณอายุและการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่พนักงานที่ทำงานจนถึงเดือนธันวาคมว่า พนักงานที่มีอายุครบเกณฑ์เกษียณอายุในปีใดให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในวันที่ 31 ธันวาคมของปีนั้น โดยจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่เกษียณอายุตามกฎหมายแรงงานและจะจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่พนักงานที่ทำงานจนถึงเดือนธันวาคมตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนดเป็นคราว ๆ
++ ซึ่งปรากฏว่า ในปี 2541 จำเลยจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่พนักงานที่ทำงานจนถึงเดือนธันวาคม 2541 เท่ากับเงินเดือนคนละ 1 เดือน
++ ประมาณกลางปี 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้เข้าถือหุ้นของจำเลยเกินร้อยละห้าสิบ มีผลทำให้จำเลยเปลี่ยนสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์ทั้งหกเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534
++ ซึ่งสรุปได้ว่า พนักงานที่เกษียณอายุในปีใดให้พ้นจากตำแหน่งในวันที่ 30 กันยายน ของปีนั้น และถ้าพนักงานนั้นได้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 5 ปีขึ้นไป ให้ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย180 วัน ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีระเบียบในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ ให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานแล้ว
++ ต่อมาวันที่ 18 สิงหาคม 2541 จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งหกพ้นจากการเป็นพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุในวันที่ 1ตุลาคม 2541 ครั้นเดือนกันยายน 2541 กระทรวงการคลังทำเรื่องหารือคณะรัฐมนตรีขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่ถูกกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไป ตามเอกสารหมาย จ.ล.2 คณะรัฐมนตรีมีมติให้สถาบันการเงินดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์ค่าตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขการจ้างเดิมของสถาบันการเงินนั้น ตามเอกสารหมายจ.ล.3
++
++ มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหกและจำเลยว่า มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีผลทำให้สิทธิเกี่ยวกับการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเนื่องจากการเกษียณอายุ และสิทธิได้รับค่าชดเชยของโจทก์ทั้งหกยังคงมีอยู่ตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยเดิมหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า แม้มติคณะรัฐมนตรีจะไม่ใช่กฎหมาย ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกฎหมายได้ แต่จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ และโจทก์ทั้งหกเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรี เว้นเสียแต่ว่ามติคณะรัฐมนตรีนั้นจะฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีตามเอกสารหมาย จ.ล.3 เป็นมติที่เกิดขึ้นและอนุวัตตามการขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่ถูกกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไปของกระทรวงการคลัง ตามเอกสารหมาย จ.ล.2 ซึ่งมีเจตนาให้ลูกจ้างที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยผลของการเปลี่ยนแปลงสถานะของจำเลยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับอยู่ก่อน ทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่กล่าวมานี้มิได้ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย จึงมีผลใช้บังคับ
++ แต่มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับคดีนี้ให้จำเลยได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของจำเลยเฉพาะแต่ในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์ค่าตอบแทนของพนักงานตามที่ปรากฏอยู่ในเอกสารหมาย จ.ล.2 ข้อ 2.3.2 เท่านั้น หาได้ยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ทั้งหกและจำเลยด้วยไม่
++ ดังจะเห็นได้จากข้อความในเอกสารหมาย จ.ล.2 ข้อ 2.4 ที่มติคณะรัฐมนตรี ตามเอกสารหมาย จ.ล.3ระบุถึง
++ ดังนั้น สิทธิเกี่ยวกับการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเนื่องจากการเกษียณอายุและสิทธิที่จะได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานของโจทก์ทั้งหก จึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534
++ กล่าวคือ โจทก์ทั้งหกต้องพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยเนื่องจากเกษียณอายุในวันที่ 30 กันยายน2541 และมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
++ จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ทั้งหกพ้นจากการเป็นพนักงานในวันที่ 1ตุลาคม 2541 ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2541 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2541 ให้โจทก์ทั้งหก
++ เมื่อโจทก์ทั้งหกไม่มีสิทธิทำงานจนถึงเดือนธันวาคม2541 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่โจทก์ทั้งหก
++ และการที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เพราะเหตุเกษียณอายุให้โจทก์ทั้งหกเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ถือได้ว่าเป็นการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานถูกต้องแล้ว
++ เมื่อจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ ให้โจทก์ทั้งหกอีก จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินนั้นให้โจทก์ทั้งหก
ย่อยาว
คดีทั้งหกสำนวนศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้รวมพิจารณาเข้าด้วยกัน โดยให้เรียกโจทก์ตามลำดับสำนวนว่า โจทก์ที่ ๑ ถึงโจทก์ที่ ๖
โจทก์ทั้งหกสำนวนฟ้องว่า โจทก์ทั้งหกเป็นลูกจ้างของจำเลยวันเข้าทำงาน ตำแหน่งหน้าที่ และค่าจ้างอัตราสุดท้ายของโจทก์แต่ละคนปรากฏตามคำฟ้องแต่ละสำนวน จำเลยมีข้อบังคับในการทำงานกำหนดให้พนักงานพ้นสภาพการเป็นพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุเมื่อพนักงานชายอายุครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ พนักงานหญิงอายุครบ ๕๕ ปีบริบูรณ์ โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของปีนั้นโจทก์ทั้งหกมีอายุครบเกณฑ์เกษียณอายุปี ๒๕๔๑ จึงต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในวันที่ ๓๑ธันวาคม ๒๕๔๑ แต่เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๑ จำเลยได้ออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งหกพ้นสภาพการเป็นพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๑ โดยอ้างว่าจำเลยได้เปลี่ยนสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์ทั้งหกจึงต้องพ้นจากการเป็นพนักงานเนื่องจากการเกษียณอายุในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๑ ทำให้โจทก์ทั้งหกเสียสิทธิในการทำงานและรับค่าจ้างตามข้อตกลงเดิมเป็นเวลา ๓ เดือน ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะแม้จำเลยจะเปลี่ยนสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจเนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าถือหุ้นใหญ่แทนเอกชนแล้วก็ตาม แต่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๑ว่า เห็นสมควรให้สถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจเนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าแทรกแซงซึ่งรวมทั้งจำเลยได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์ตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของสถาบันการเงินนั้น ๆ จำเลยจึงต้องปฏิบัติต่อโจทก์ทั้งหกตามข้อบังคับในการทำงานของจำเลย โดยให้โจทก์ทั้งหกมีสิทธิทำงานและรับเงินต่อไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม๒๕๔๑ นอกจากนี้ตามระเบียบของจำเลยกำหนดให้ลูกจ้างทุกคนได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษเมื่อทำงานจนถึงเดือนธันวาคม ๒๕๔๑ เท่ากับเงินเดือนจำนวน ๑ เดือน แต่จำเลยไม่จ่ายเงินจำนวนนี้ให้โจทก์ทั้งหก และจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ทั้งหกเพียงเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายคนละ ๑๘๐ วัน ทั้งที่โจทก์ทั้งหกมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายคนละ๓๐๐ วัน จำเลยจึงจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ทั้งหกขาดอยู่อีกคนละ ๑๒๐ วัน ซึ่งเท่ากับค่าจ้าง ๔ เดือน และจำเลยต้องจ่ายเงินค่าภาษีอากรสำหรับเงินที่จ่ายให้โจทก์ทั้งหกโดยนำส่งกรมสรรพากรในอัตราร้อยละ ๑๕ เมื่อจำเลยไม่ได้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งหก จำเลยจึงมิได้จ่ายเงินค่าภาษีอากรส่งให้กรมสรรพากรเพื่อประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกตามปกติ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินส่วนนี้ให้โจทก์ทั้งหกด้วย ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินเดือนที่ขาดให้แก่โจทก์ทั้งหกคนละ ๓ เดือน เงินช่วยเหลือพิเศษเท่ากับค่าจ้างคนละ ๑ เดือน ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างคนละ ๔ เดือน และเงินค่าภาษีที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งหกตามจำนวนในคำฟ้องแต่ละสำนวน
จำเลยทั้งหกสำนวนให้การว่า จำเลยเปลี่ยนสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจเพราะธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าถือหุ้นใหญ่แทนเอกชนแล้ว โจทก์ทั้งหกและจำเลยจึงต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของรัฐวิสาหกิจ และพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๑๘ โจทก์ทั้งหกจึงต้องพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยเพราะเกษียณอายุในวันสิ้นปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ คือสิ้นเดือนกันยายน ๒๕๔๑ จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินเดือนจำนวน ๓ เดือนสุดท้ายตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ๒๕๔๑ ให้โจทก์ทั้งหก ส่วนเงินช่วยเหลือพิเศษนั้นพนักงานของจำเลยจะได้รับก็ต่อเมื่อได้ทำงานจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๔๑ แต่โจทก์ทั้งหกพ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยตั้งแต่สิ้นเดือนกันยายน ๒๕๔๑ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษจำนวน ๑ เดือน ให้โจทก์ทั้งหก โจทก์ทั้งหกทำงานมาเกินกว่า ๓ ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเพียง ๑๘๐ วัน จำเลยจึงจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ทั้งหกถูกต้องแล้ว ส่วนค่าภาษีจำเลยก็จ่ายให้โจทก์ทั้งหกโดยนำส่งกรมสรรพากรครบถ้วนตามจำนวนเงินที่ต้องจ่ายแล้วเช่นเดียวกัน ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างระหว่างวันที่ ๑ตุลาคม ๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๑ ให้โจทก์ทั้งหกคนละ ๓ เดือน และจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษเท่ากับค่าจ้างคนละ ๑ เดือน พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ตามตารางท้ายคำพิพากษา คำขออื่นให้ยก
โจทก์และจำเลยทั้งหกสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์ทั้งหกต่างเป็นลูกจ้างจำเลย ทำงานติดต่อกันมาคนละครบ ๑๐ ปีขึ้นไป มีอายุครบเกณฑ์เกษียณอายุตามระเบียบของจำเลยในปี ๒๕๔๑ เดิมจำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีข้อบังคับการทำงานเกี่ยวกับการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเพราะเกษียณอายุ การจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่เกษียณอายุและการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่พนักงานที่ทำงานจนถึงเดือนธันวาคมว่า พนักงานที่มีอายุครบเกณฑ์เกษียณอายุในปีใดให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในวันที่ ๓๑ ธันวาคมของปีนั้น โดยจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่เกษียณอายุตามกฎหมายแรงงานและจะจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่พนักงานที่ทำงานจนถึงเดือนธันวาคมตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนดเป็นคราว ๆ ซึ่งปรากฏว่าในปี ๒๕๔๑ จำเลยจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่พนักงานที่ทำงานจนถึงเดือนธันวาคม ๒๕๔๑ เท่ากับเงินเดือนคนละ ๑ เดือน ประมาณกลางปี ๒๕๔๑ ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้เข้าถือหุ้นของจำเลยเกินร้อยละห้าสิบมีผลทำให้จำเลยเปลี่ยนสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์ทั้งหกเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๔ พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๑๘ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งสรุปได้ว่าพนักงานที่เกษียณอายุในปีใดให้พ้นจากตำแหน่งในวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีนั้น และถ้าพนักงานนั้นได้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ ๕ ปีขึ้นไป ให้ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย๑๘๐ วัน ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีระเบียบในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ ให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานแล้ว ต่อมาวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๑ จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งหกพ้นจากการเป็นพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุในวันที่ ๑ตุลาคม ๒๕๔๑ ครั้นเดือนกันยายน ๒๕๔๑ กระทรวงการคลังทำเรื่องหารือคณะรัฐมนตรีขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่ถูกกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไป ตามเอกสารหมาย จ.ล.๒ คณะรัฐมนตรีมีมติให้สถาบันการเงินดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์ค่าตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขการจ้างเดิมของสถาบันการเงินนั้น ตามเอกสารหมายจ.ล.๓
มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหกและจำเลยว่า มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีผลทำให้สิทธิเกี่ยวกับการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเนื่องจากการเกษียณอายุ และสิทธิได้รับค่าชดเชยของโจทก์ทั้งหกยังคงมีอยู่ตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยเดิมหรือไม่ เห็นว่า แม้มติคณะรัฐมนตรีจะไม่ใช่กฎหมาย ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกฎหมายได้ แต่จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ และโจทก์ทั้งหกเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรี เว้นเสียแต่ว่ามติคณะรัฐมนตรีนั้นจะฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีตามเอกสารหมาย จ.ล.๓ เป็นมติที่เกิดขึ้นและอนุวัตตามการขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่ถูกกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไปของกระทรวงการคลัง ตามเอกสารหมาย จ.ล.๒ ซึ่งมีเจตนาให้ลูกจ้างที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยผลของการเปลี่ยนแปลงสถานะของจำเลยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับอยู่ก่อน ทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่กล่าวมานี้มิได้ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย จึงมีผลใช้บังคับ แต่มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับคดีนี้ให้จำเลยได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของจำเลยเฉพาะแต่ในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์ค่าตอบแทนของพนักงานตามที่ปรากฏอยู่ในเอกสารหมาย จ.ล.๒ ข้อ ๒.๓.๒ เท่านั้น หาได้ยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ทั้งหกและจำเลยด้วยไม่ ดังจะเห็นได้จากข้อความในเอกสารหมาย จ.ล.๒ ข้อ ๒.๔ ที่มติคณะรัฐมนตรี ตามเอกสารหมายจ.ล.๓ ระบุถึงดังนั้น สิทธิเกี่ยวกับการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเนื่องจากการเกษียณอายุและสิทธิที่จะได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานของโจทก์ทั้งหกจึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๔ พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๑๘ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๓๔ กล่าวคือ โจทก์ทั้งหกต้องพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยเนื่องจากเกษียณอายุในวันที่ ๓๐ กันยายน๒๕๔๑ และมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๑๘๐ วัน จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ทั้งหกพ้นจากการเป็นพนักงานในวันที่ ๑ตุลาคม ๒๕๔๑ ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๑ ถึงวันที่๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๑ ให้โจทก์ทั้งหก เมื่อโจทก์ทั้งหกไม่มีสิทธิทำงานจนถึงเดือนธันวาคม๒๕๔๑ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่โจทก์ทั้งหก และการที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เพราะเหตุเกษียณอายุให้โจทก์ทั้งหกเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๑๘๐ วัน ถือได้ว่าเป็นการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานถูกต้องแล้ว เมื่อจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ ให้โจทก์ทั้งหกอีก จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินนั้นให้โจทก์ทั้งหก
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งหกสำนวนที่เกี่ยวกับเงินช่วยเหลือพิเศษและค่าจ้างด้วย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง.