คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5461/2541

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยให้การว่า ค่าจ้างค้างจ่ายตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวนจำเลยได้จ่ายให้แล้ว จำเลยจึงไม่ต้อง รับผิดชดใช้เงินจำนวนใด ๆ ให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวน อันแสดงถึงข้อต่อสู้ของจำเลยไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า เมื่อจำเลยไม่ค้างจ่ายค่าจ้างตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวน จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ ร้อยละสิบห้าของเงินค้างชำระทุกระยะเวลา 7 วัน ตามฟ้อง โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวนด้วย ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยประสบภาวะซบเซา ทางเศรษฐกิจจริงหรือไม่จากคำแถลงรับ ของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด กับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณา ของศาลแรงงานที่ว่า ก่อนที่จำเลยจะไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด นั้น มีการประชุมระดับผู้บริหารว่าบริษัทจำเลย ขาดสภาพคล่อง จำเป็นต้องลดพนักงานลง ประกอบคำเบิกความ ของพยานจำเลยซึ่งเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้และการนำสืบ ของจำเลย รวมตลอดทั้งข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกัน โดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัย ที่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ต่อเมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยโดยถูกจำเลย เลิกจ้างเสียก่อน ในปัญหานี้ศาลแรงงานได้วินิจฉัยไว้ในตอนต้นว่า จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดอันหมายถึงว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าการที่ต่อมาศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยไม่ได้ให้การว่าเลิกจ้างหรือไม่ และทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ 19 คน ส่วนอีก 12 คน ไม่ได้เลิกจ้างโดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้าง แต่กลับพิพากษาให้ยกคำขอในส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดและกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ไม่ปรากฏว่าถูกเลิกจ้าง ยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ ให้กลับมีสิทธิ นำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความด้วยเช่นนี้ ย่อมเป็นการ วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดกันเอง ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลย เลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด คนหรือเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้าง ถือได้ว่าศาลแรงงานยังไม่ได้วินิจฉัยตามข้อหาทุกข้อ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานในส่วนนี้แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยในประเด็นนี้ใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ค่าจ้างเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2540 ตามฟ้อง ของโจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงินรวม 24,570 บาท และ 87,540 บาท แต่จำเลยชำระให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 ไปแล้ว 10,200 บาท และ 8,500 บาท จึงยังคงเหลือค่าจ้างค้างจ่าย แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงิน 14,370 บาท และ 39,040 บาท ตามลำดับ แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างค้างจ่าย แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงิน 143,370 บาท และ 108,220 บาท จึงเป็นการไม่ถูกต้องและเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้จำเลย ไม่อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาด ดังกล่าวให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

ย่อยาว

คดีทั้งสามสิบเอ็ด สำนวน ศาลแรงงานกลางสั่งรวมพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันโดยเรียกโจทก์ตามลำดับสำนวนว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 31
โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวนฟ้องใจความทำนองเดียวกันว่า โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด เป็นลูกจ้างของจำเลย โดยโจทก์ที่ 1 ที่ 5 ที่ 6 ที่ 9 ที่ 19 ถึงที่ 21 ที่ 28 ที่ 30 ที่ 31 เข้าทำงานปี 2537 โจทก์ที่ 4 ที่ 11 ที่ 12 ที่ 17 ที่ 25 ที่ 27 เข้าทำงานปี 2538 โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 10 ที่ 13 ที่ 14 ที่ 16 ที่ 18 ที่ 22ถึงที่ 24 ที่ 26 ที่ 29 เข้าทำงานปี 2539 และโจทก์ที่ 15เข้าทำงานปี 2540 โดยโจทก์แต่ละคนได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 57,300 บาท 8,190 บาท 11,000 บาท 11,700 บาท 9,260 บาท 19,200 บาท 10,800 บาท 11,300 บาท 12,800 บาท 12,000 บาท 21,300 บาท 15,900 บาท 10,800 บาท 12,600 บาท 11,300 บาท 11,000 บาท 13,110 บาท 7,590 บาท 27,820 บาท 14,720 บาท 15,890 บาท 14,640 บาท 11,300 บาท 16,180 บาท 13,110 บาท 19,500 บาท 12,130 บาท 29,180 บาท 28,300 บาท 19,510 บาท และ 16,150 บาท ตามลำดับ ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2540 จำเลยผิดสัญญาจ้างโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ตั้งแต่งวดประจำเดือนมีนาคม 2540 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2540 โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร การที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด โดยกิจการของจำเลยยังคงดำรงอยู่โดยจงใจถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ และจำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินโบนัสประจำปี 2539 แก่โจทก์ที่ 1 ขอให้จำเลยจ่ายเงินแก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด เป็นค่าจ้างค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยและเงินเพิ่มจำนวน 179,479 บาท 15,451 บาท 23,753 บาท 26,996 บาท 17,533 บาท 47,138 บาท 23,384 บาท 18,511 บาท 39,091 บาท 20,586 บาท 54,715 บาท 20,025 บาท 29,064 บาท 18,443 บาท 23,753 บาท 28,427 บาท16,396 บาท 74,139 บาท 32,027 บาท 38,240 บาท 32,854 บาท 24,249 บาท 35,003 บาท 28,427 บาท 46,078 บาท 26,289 บาท 114,733 บาท 70,642 บาท 61,108 บาท และ 37,884 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของค่าจ้างที่ค้างชำระและเงินเพิ่มอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีทุกระยะเวลา 7 วัน นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จ จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 57,300 บาท 8,190 บาท 11,000 บาท11,700 บาท 9,260 บาท 19,200 บาท 10,800 บาท 11,300 บาท 12,800 บาท 12,000 บาท 21,300 บาท 15,900 บาท 10,800 บาท 12,600 บาท 11,000 บาท 13,110 บาท 7,590 บาท 27,820 บาท 14,720 บาท 15,890 บาท 14,640 บาท11,300 บาท 16,180 บาท 13,110 บาท 19,500 บาท 12,130 บาท 29,180 บาท 28,300 บาท 19,510 บาท 16,150 บาท และค่าชดเชย 171,900 บาท 24,570 บาท 33,000 บาท 35,100 บาท 27,780 บาท 57,600 บาท 10,800 บาท 11,300 บาท 38,400 บาท 12,000 บาท 63,900 บาท 47,700 บาท 10,800 บาท 12,600 บาท11,000 บาท 39,330 บาท 22,770 บาท 83,460 บาท 44,160 บาท 47,670 บาท 43,920 บาท 33,900 บาท48,540 บาท 39,330 บาท 58,500 บาท 36,390 บาท 87,540 บาท 28,300 บาท 58,530 บาท และ 48,450 บาท ตามลำดับและโบนัสสำหรับโจทก์ที่ 1 จำนวน 54,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินแต่ละจำนวนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์แต่ละคน
จำเลยทั้งสามสิบเอ็ด สำนวนให้การว่า ค่าจ้างค้างจ่ายตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวนจำเลยได้จ่ายให้แล้ว โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายโดยพร้อมกันละทิ้งหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนใด ๆ ให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ซึ่งต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันผิดนัดแต่จำเลยไม่ต้องรับผิดในเงินเพิ่มเพราะเหตุที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด เนื่องจากเศรษฐกิจซบเซาลูกค้าของจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้จำเลย จำเลยจึงไม่มีเงินจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ส่วนที่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดไม่มาทำงานเนื่องจากจำเลยค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด จึงไม่ต้องทำงานให้แก่จำเลยตามสัญญาจ้างแรงงานจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์แต่ละคน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย แต่การที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด นั้นกิจการของจำเลยยังคงดำรงอยู่ โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ซึ่งเป็นลูกจ้างยังคงสามารถทำงานต่อไปได้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่ให้โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ทำงานต่อไปกลับเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ขอพักงานหรือหยุดงานเองโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน ที่นายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด แต่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเพราะโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โดยไม่ได้ให้การว่าเลิกจ้างหรือไม่ และทางพิจารณาก็ปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ 19 คน ส่วนโจทก์อีก 12 คน จำเลยไม่ได้เลิกจ้าง กรณีเห็นได้ว่าข้ออ้างที่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาและข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นคนละเรื่องกัน เห็นสมควรให้ยกคำขอในส่วนที่เกี่ยวกับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดฟ้องใหม่ พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง 171,900 บาท 143,370 บาท22,300 บาท 25,450 บาท 16,310 บาท 44,600 บาท 21,959 บาท17,018 บาท 37,400 บาท 19,000 บาท 51,900 บาท 38,300 บาท18,600 บาท 27,400 บาท 16,950 บาท 22,300 บาท 26,695 บาท15,395 บาท 70,460 บาท 30,019 บาท 36,140 บาท 30,920 บาท22,900 บาท 33,030 บาท 26,695 บาท 43,500 บาท 24,678 บาท108,220 บาท 66,900 บาท 58,530 บาท และ 35,750 บาท ตามลำดับพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2540ของต้นเงินแต่ละจำนวนจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์แต่ละคน คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ฟ้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
โจทก์และจำเลยทั้งสามสิบเอ็ดสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดอุทธรณ์ว่า ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างแก่พนักงานเนื่องจากเศรษฐกิจซบเซา และลูกค้าของจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้ จำเลยจึงไม่มีเงินจ่าย กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดต่อกฎหมายเพราะจำเลยเพียงแต่ให้การต่อสู้ว่าได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ครบถ้วนแล้วโดยมิได้ต่อสู้เป็นอย่างอื่นนั้น เห็นว่า จำเลยให้การว่าค่าจ้างค้างจ่ายตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวนจำเลยได้จ่ายให้แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนใด ๆ ให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวน อันแสดงถึงข้อต่อสู้ของจำเลยไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าเมื่อจำเลยไม่ค้างจ่ายค่าจ้างตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวนจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละสิบห้าของเงินค้างชำระทุกระยะเวลา 7 วัน ตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวนด้วย ส่วนที่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด อ้างว่าจำเลยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยประสบภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจจริงหรือไม่นั้น เห็นว่าศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวจากคำแถลงรับของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดกับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 2 ธันวาคม 2540 ว่าก่อนที่จำเลยจะไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดนั้น มีการประชุมระดับผู้บริหารว่าบริษัทจำเลยขาดสภาพคล่องจำเป็นต้องลดพนักงานลงประกอบกับคำเบิกความของนายลิขิต ตั้งพัฒนสุวรรณ พยานจำเลยด้วยฉะนั้น การวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้และการนำสืบของจำเลยรวมตลอดทั้งข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกันโดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่เป็นการวินิจฉัยที่ขัดต่อกฎหมายดังที่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดอุทธรณ์ไม่
สำหรับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดอีกข้อหนึ่งที่ว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและมิได้เกิดจากการกระทำผิดของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดถือเป็นการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดตามกฎหมายแล้ว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด และอุทธรณ์ของจำเลย ข้อ 2.2 ที่ว่า ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยในปัญหาที่เกี่ยวกับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดแต่ข้ออ้างที่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดใช้เป็นหลักแห่งข้อหาและข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นคนละเรื่องกัน จึงให้ยกคำขอในส่วนนี้โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดฟ้องใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบนั้น เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดและอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ได้วินิจฉัยในประเด็นข้อที่ 3ที่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยต่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดในค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งแม้ศาลแรงงานกลางจะไม่ได้กำหนดประเด็นว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดแล้วไว้ด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ต่อเมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยโดยถูกจำเลยเลิกจ้างเสียก่อนซึ่งในปัญหานี้ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยไว้ในตอนต้นว่า จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดอันหมายถึงว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแต่ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยต่อมาอีกว่า จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเพราะโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โดยไม่ได้ให้การว่าเลิกจ้างหรือไม่ และทางพิจารณาก็ปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ 19 คน ส่วนอีก 12 คน ไม่ได้เลิกจ้างข้ออ้างของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาและข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นคนละเรื่องกัน จึงให้ยกคำขอในส่วนนี้โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดฟ้องใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ซึ่งคำวินิจฉัยในตอนหลังของศาลแรงงานกลางได้ชี้ว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว 19 คนไม่ได้เลิกจ้าง 12 คน โดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้างแต่กลับพิพากษาให้ยกคำขอในส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดและกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ไม่ปรากฏว่าถูกเลิกจ้างยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้มีสิทธินำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความด้วยเช่นนี้ ย่อมเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดกันเองไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนหรือเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้าง การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกคำขอเกี่ยวกับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าของโจทก์แล้วกำหนดให้โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดมีสิทธินำคดีมาฟ้องใหม่ดังกล่าวโดยไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงให้ชัดแจ้งว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดหรือเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้าง เช่นนี้ถือได้ว่าศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยตามข้อหาทุกข้ออันขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เป็นการมิชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนนี้แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นที่ 3 นี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
อนึ่ง สำหรับค่าจ้างเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2540ตามฟ้องของโจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงินรวม 24,570 บาท และ87,540 บาท แต่จำเลยชำระให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 ไปแล้ว10,200 บาท และ 8,500 บาท จึงยังคงเหลือค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงิน 14,370 บาท และ 79,040 บาท ตามลำดับ แต่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงิน 143,370 บาท และ 108,220 บาท จึงเป็นการไม่ถูกต้องและเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ที่ 2เป็นเงิน 14,370 บาท และโจทก์ที่ 28 เป็นเงิน 79,040 บาทกับให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนที่เกี่ยวกับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประเด็นข้อที่ 3โดยให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยหรือไม่เพียงใดแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามพิพากษาศาลแรงงาน

Share