คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่เท่านั้นการที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์จึงไม่จำต้องรับรองและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่1และที่3โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้องขับไล่ จำเลย และ บริวาร ออกจากที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 3824 ศาลชั้นต้นพิพากษา ขับไล่ จำเลย และ บริวาร กับ ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย จำเลยไม่ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษา โจทก์ ขอให้ บังคับคดี และ นำ เจ้าพนักงานบังคับคดี ปิดประกาศ ให้ จำเลย และ บริวาร ออกจาก ที่ดิน ดังกล่าว
ผู้ร้อง ทั้ง สาม ยื่น คำร้องขอ ให้ สั่ง ว่า ผู้ร้อง ทั้ง สาม ไม่ใช่บริวาร ของ จำเลย โจทก์ ไม่มี สิทธิ ขับไล่ ผู้ร้อง ทั้ง สาม ออกจาก ที่พิพาทและ สั่ง ห้าม โจทก์ และ จำเลย เกี่ยวข้อง กับ ที่พิพาท
โจทก์ คัดค้าน ว่า ผู้ร้อง ทั้ง สาม เข้า มา อยู่ ใน ที่พิพาท โดยอาศัย สิทธิ ของ จำเลย ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
ผู้ร้อง ทั้ง สาม ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา ใน ศาลชั้นต้นรับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี นี้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ว่า ที่พิพาท สำหรับ คดีใน ส่วน ของ ผู้ร้อง ที่ 1 และ ที 3 ที่ อ้าง มา ใน คำร้อง ว่า เป็น ของ ตนนั้น มี ราคา ไม่เกิน 50,000 บาท และ อุทธรณ์ ของ ผู้ร้อง ที่ 1 และ ที่ 3เป็น การ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ดังนี้ คดี ใน ส่วน ของ ผู้ร้อง ที่ 1และ ที่ 3 มี ราคา ทรัพย์สิน ที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน 50,000บาท จึง ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น ได้ ทำ ความเห็น แย้ง ไว้ หรือ ได้รับรอง ว่า มีเหตุ อันควร อุทธรณ์ ได้ หรือ ได้รับ อนุญาต ให้ อุทธรณ์เป็น หนังสือ จาก อธิบดี ผู้พิพากษา ภาค ผู้มีอำนาจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 มาตรา 14 อุทธรณ์ ของ ผู้ร้องที่ 1 และ ที่ 3 เป็น อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง และ ไม่ปรากฏ ว่า ผู้พิพากษาที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น ได้ ทำ ความเห็น แย้ง ไว้ ผู้ร้อง ที่ 1และ ที่ 3 จึง ยื่น คำร้อง ร่วม กับ ผู้ร้อง ที่ 2 ต่อ ศาลชั้นต้น ขอให้ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี รับรอง ว่าคดี ผู้ร้อง ทั้ง สาม มีเหตุ อันควรอุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ตาม คำร้อง ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2535 ผู้พิพากษาที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า “คดี นี้ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ จึง ไม่จำต้อง รับรอง ” และ มี คำสั่ง รับ อุทธรณ์ ของ ผู้ร้องทั้ง สาม คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา สำหรับ คดี ใน ส่วน ของผู้ร้อง ที่ 1 และ ที่ 3 ก่อน ว่า คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ดังกล่าว ถือ ได้ว่า ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น ได้รับ รอง ว่า มีเหตุอันควร อุทธรณ์ ได้ ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว หรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏ ชัดแจ้ง ว่าคดี ผู้ร้อง ที่ 1 และ ที่ 3 มี ราคาทรัพย์สิน ที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน 50,000 บาท และ ต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ผู้ร้อง ที่ 1 และ ที่ 3 ย่อม มีสิทธิ ยื่นคำร้องขอ ให้ ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น รับรอง ว่าคดี ผู้ร้อง ที่ 1 และ ที่ 3 มีเหตุ อันควร อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ได้ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น มี หน้าที่ พิจารณา เพียง ว่ามีเหตุ อันควร อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ได้ หรือไม่ เท่านั้น การ ที่ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า คดี นี้ ไม่ต้องห้าม อุทธรณ์ จึง ไม่จำต้อง รับรอง และ มี คำสั่ง รับ อุทธรณ์ ของ ผู้ร้องทั้ง สาม จึง เป็น การ สั่ง คดี ใน ส่วน ของ ผู้ร้อง ที่ 1 และ ที่ 3 โดย ผิดหลงและ เป็น การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ที่ ไม่ชอบ ไม่ได้ ปฏิบัติ ให้ เป็นไป ตาม บทบัญญัติ ว่าด้วย การ พิจารณา คดี ถือไม่ได้ว่า ผู้พิพากษา ที่นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น ได้รับ รอง ว่า มีเหตุ อันควร อุทธรณ์ ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แล้ว ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ยก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ที่ เกี่ยวกับผู้ร้อง ที่ 1 และ ที่ 3 และ เพิกถอน คำสั่งศาล ชั้นต้น ที่ ว่า “คดี นี้ไม่ต้องห้าม อุทธรณ์ จึง ไม่จำต้อง รับรอง ” และ ให้ยก คำสั่ง รับอุทธรณ์ ของ ผู้ร้อง ที่ 1 และ ที่ 3 เสีย ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินการ ให้ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น พิจารณา คำร้อง ลงวันที่10 กรกฎาคม 2535 ว่า จะ รับรอง หรือไม่ แล้ว ดำเนินการ ต่อไป ให้ยก ฎีกาของ ผู้ร้อง ที่ 1 และ ที่ 3 ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1

Share