แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การจะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1120,1121นั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่หาต้องเรียกภายใน10ปีนับแต่วันจดทะเบียนบริษัทไม่
ย่อยาว
คดี สืบเนื่อง จาก เมื่อ ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยเด็ดขาด แล้ว ผู้คัดค้าน มี หนังสือ ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2534 ยืนยันให้ ผู้ร้อง ชำระ ค่าหุ้น ที่ ผู้ร้อง ค้างชำระ จำเลย อยู่ จำนวน 360,750 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 24 มกราคม 2534เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง ลงชื่อ ถือ หุ้น จำนวน 481 หุ้นใน บริษัท จำเลย แทน นาง เสาวคนธ์ ครจำนงค์หรือฤทธิเดช ตาม คำขอ ร้อง ของ นาย วิฑูรย์ ครจำนงค์ ต่อมา เมื่อ ปี 2525 ได้ มี การ จดทะเบียน เปลี่ยนแปลง ให้ ผู้ร้อง พ้น จาก การ เป็น ผู้ถือหุ้น ของ บริษัท จำเลย แล้วนอกจาก นี้ ค่าหุ้น ที่ ค้างชำระ ดังกล่าว เกิดขึ้น ตั้งแต่ ปี 2519สิทธิเรียกร้อง ให้ ชำระ ค่าหุ้น ขาดอายุความ แล้ว ขอให้ มี คำสั่งยกคำสั่ง ยืนยัน หนี้ ของ ผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า ตาม หลักฐาน ทาง ทะเบียน ปรากฏว่าผู้ร้อง ถือ หุ้น ใน บริษัท จำเลย อยู่ จำนวน 481 หุ้น มูลค่า หุ้น ละ1,000 บาท ชำระ ค่าหุ้น แล้ว หุ้น ละ 250 บาท ไม่ปรากฏ หลักฐาน ว่าผู้ร้อง ถือ หุ้น แทน นาง เสาวคนธ์ ผู้คัดค้าน มี หนังสือ ทวง หนี้ ไป ยัง ผู้ร้อง เมื่อ วันที่ 8 มกราคม 2534 สิทธิเรียกร้อง ให้ ชำระ ค่าหุ้นจึง ยัง ไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ซึ่ง ไม่โต้แย้ง กัน รับฟังได้ ใน เบื้องต้น ว่า จำเลย เป็น นิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัด ทุน จดทะเบียน1,000,000 บาท แบ่ง ออก เป็น 1,000 หุ้น มูลค่า หุ้น ละ 1,000 บาทใน ชั้น ยื่น คำขอ จดทะเบียน บริษัท ผู้ถือหุ้น ได้ ใช้ เงินค่าหุ้น แล้วหุ้น ละ 250 บาท เฉพาะ ผู้ร้อง ถือ หุ้น อยู่ ใน บริษัท จำเลย จำนวน 481 หุ้นปรากฏ ตาม คำขอ จดทะเบียน บริษัท จำกัด และ บัญชี ราย ชื่อ ผู้ถือหุ้นเอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 1 ตามลำดับ
ฎีกา ข้อ หลัง ของ ผู้ร้อง มี ว่า สิทธิเรียกร้อง ค่าหุ้น ของ บริษัทจำเลย เริ่ม ตั้งแต่ วัน จดทะเบียน บริษัท การ ที่ ไม่ เรียก ให้ ผู้ร้องชำระ ค่าหุ้น เป็น เวลา นาน ถึง 14 ปี คดี ขาดอายุความ แล้ว เห็นว่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1120 บัญญัติ ว่า “บรรดาเงิน หุ้น ซึ่ง ยัง จะ ต้อง ส่ง อีก นั้น กรรมการ จะ เรียก ให้ ผู้ถือหุ้นส่ง ใช้ เสีย เมื่อใด ก็ ได้ ” และ มาตรา 1121 บัญญัติ ว่า “การ เรียกเงินค่าหุ้น แต่ละ คราว นั้น ท่าน บังคับ ว่า ให้ ส่ง คำบอกกล่าว ล่วงหน้าไม่ ต่ำกว่า ยี่สิบ เอ็ดวัน ด้วย จดหมาย ส่ง ลงทะเบียน ไปรษณีย์ และผู้ถือหุ้น ทุกคน จะ ต้อง ใช้ เงิน ตาม จำนวน ที่ เรียก นั้น สุด แต่ กรรมการจะ ได้ กำหนด ไป ว่า ให้ ส่ง ไป ยัง ผู้ใด ณ ที่ ใด และ เวลา ใด ” เมื่อ พิจารณาบทบัญญัติ สอง มาตรา ดังกล่าว แล้ว จะ เห็น ได้ว่า การ ที่ จะ เรียกเงินค่าหุ้น ซึ่ง ยัง จะ ต้อง ส่ง อีก ใน แต่ละ คราว นั้น เป็น ดุลพินิจ ของ กรรมการที่ จะ เรียก จาก ผู้ถือหุ้น เมื่อใด เป็น จำนวน เท่าใด ก็ ได้ ตราบ เท่าที่บริษัท ยัง คง ดำรง อยู่ หาใช่ ว่า ต้อง เรียก ภายใน กำหนด 10 ปี นับแต่วัน จดทะเบียน บริษัท ดัง ที่ ผู้ร้อง ฎีกา ไม่ คดี นี้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ว่า กรรมการ บริษัท จำเลย ไม่เคย ส่ง คำบอกกล่าว เรียกเงิน ค่าหุ้นซึ่ง ยัง จะ ต้อง ส่ง อีก ไป ยัง ผู้ถือหุ้น ดังนั้น เมื่อ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บริษัท จำเลย เด็ดขาด เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ จึงมีอำนาจ ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ มาตรา 119เรียก ให้ ผู้ร้อง ซึ่ง เป็น ผู้ถือหุ้น ของ บริษัท จำเลย ชำระ เงินค่าหุ้นซึ่ง ยัง จะ ต้อง ส่ง อีก ทั้งหมด ได้ สิทธิเรียกร้อง ของ ผู้คัดค้าน จึงยัง ไม่ขาดอายุความ ฎีกา ของ ผู้ร้อง ฟังไม่ขึ้น แต่ ที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ ให้ยก คำร้องขอ งผู้ร้อง โดยมิได้ กำหนด ให้ ผู้ร้อง ชำระ เงินค่าหุ้น แก่ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ด้วย นั้น ยัง ไม่ถูกต้อง ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคสาม สมควร แก้ไข ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ผู้ร้อง ชำระ ค่าหุ้น จำนวน 360,750 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.4 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 24 มกราคม2534 ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ ผู้คัดค้าน นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์