แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
คำสั่งของนายจ้างที่ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามป.พ.พ.มาตรา575,583และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ต้องเป็นคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานในกิจการของนายจ้างการที่จำเลยให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานที่บริษัทอ. ซึ่งมิได้เป็นกิจการของจำเลยทั้งมิใช่งานตามหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดขัดหรือฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง เจ็ด สำนวน ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด เป็น ลูกจ้าง จำเลยใน ตำแหน่ง พนักงาน ทั่วไป ต่อมา เมื่อ วันที่ 24 เมษายน 2536 จำเลยได้ เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง เจ็ด โดย ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไม่มี ความผิด เป็นการ เลิกจ้าง โดย ไม่เป็นธรรม ขอให้ บังคับ จำเลย จ่าย สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า จ่ายเงิน ประกัน คืน และ จ่าย ค่าเสียหาย จาก การเลิกจ้าง ไม่เป็นธรรม แก่ โจทก์ แต่ละ คน ตาม จำนวน ที่ กล่าว ใน ฟ้อง พร้อมดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ ตั้งแต่ วัน เลิกจ้าง
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า จำเลย ประกอบ ธุรกิจ ผลิต รองเท้าเมื่อ เดือน เมษายน 2536 จำเลย ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด กับ ลูกจ้าง อื่น รวมทั้งหมด 29 คน ด้วยกัน ไป ช่วย ทำงาน ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด ซึ่ง เป็น บริษัท ผลิต วัตถุดิบ พื้น ยาง รองเท้า ส่ง ให้ แก่ จำเลย โจทก์ที่ 4 และ ที่ 6 ทำงาน ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด ได้ 1 วัน ส่วน โจทก์ อื่น ทำงาน อยู่ 2 วัน หลังจาก นั้น โจทก์ ทุกคน กลับ ไป ที่บริษัท จำเลย ขอ กลับ ไป ทำงาน กับ จำเลย จำเลย สั่ง ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ดเดินทาง กลับ ไป ทำงาน ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด แต่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไม่ปฏิบัติ ตาม จำเลย ลงโทษ โจทก์ ทุกคน ด้วย การ ตักเตือน เป็น หนังสือและ มี คำสั่ง ให้ พัก งาน โดย ไม่ได้ รับ ค่าจ้าง ตั้งแต่ วันที่ 20 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2536 เมื่อ ครบ กำหนด เวลา พัก งาน แล้ว โจทก์ ที่ 1ที่ 2 ที่ 4 ถึง ที่ 7 กลับ ไป ที่ บริษัท จำเลย ส่วน โจทก์ ที่ 3 ไม่ไปอีก เลย จำเลย มี คำสั่ง ให้ โจทก์ ที่ ไป พบ กลับ ไป ทำงาน ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด อีก ครั้ง แต่ โจทก์ ดังกล่าว ไม่ปฏิบัติ ตาม จำเลย จึง มี คำสั่ง เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง เจ็ด การ ที่ จำเลย สั่ง ให้ โจทก์ทั้ง เจ็ด ไป ทำงาน ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด ซึ่ง เป็น บริษัท ผลิต พื้น รองเท้า ยาง ส่ง ให้ จำเลย เนื่องจาก บริษัท ดังกล่าว ประสบปัญหา ขาด คนงาน ถือได้ว่า จำเลย ใช้ สิทธิ ใน ทาง จัดการ โดยชอบ แล้วคำสั่ง ของ จำเลย ดังกล่าว เป็น คำสั่ง อัน ชอบ ด้วย กฎหมาย จำเลย มีสิทธิเลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง เจ็ด ได้ โดย ไม่ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชย ทั้ง ไม่ใช่ การ เลิกจ้าง ไม่เป็นธรรม แต่ จำเลย ต้องคืนเงิน ประกัน แก่ โจทก์ ทุกคน พิพากษา ให้ จำเลย คืนเงิน ประกัน แก่โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 คน ละ 1,000 บาท โจทก์ ที่ 4และ ที่ 6 คน ละ 1,500 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีจาก เงิน ที่ จำเลย จะ ต้อง จ่าย ให้ แก่ โจทก์ แต่ละ คน นับแต่ วันฟ้อง(วันที่ 3 มิถุนายน 2536) จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ คำขอ อื่น นอกจาก นี้ให้ยก เสีย
โจทก์ ทั้ง เจ็ด สำนวน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด อุทธรณ์ว่า คำสั่ง ของ จำเลย ที่ สั่ง ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไป ทำงาน ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด เป็น คำสั่ง ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไม่จำต้อง ปฏิบัติ ตาม จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง เจ็ด ด้วย เหตุ ที่ โจทก์ทั้ง เจ็ด ไม่ปฏิบัติ ตาม คำสั่ง ดังกล่าว จึง ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า ค่าชดเชย และ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง เจ็ดตาม ฟ้อง นั้น เห็นว่า บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 575, 583 และ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การ คุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ได้ กำหนด ให้ ลูกจ้าง มี หน้าที่ ทำงาน ให้ แก่ นายจ้างโดย ทำงาน ตาม คำสั่ง อัน ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นายจ้าง ดังนั้น คำสั่งของ นายจ้าง ที่ ลูกจ้าง ต้อง ปฏิบัติ ตาม ก็ จะ ต้อง เป็น คำสั่ง ที่ ให้ลูกจ้าง ทำงาน ตาม หน้าที่ ของ ลูกจ้าง และ เป็น งาน ใน กิจการ ของ นายจ้างนั้น ตาม ข้อเท็จจริง ใน คดี นี้ เมื่อ จำเลย มี ปัญหา ใน การ ผลิต เนื่องจากเกิด การ ผละ งาน ใน บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด จำเลย ได้ ชี้แจง ให้ ลูกจ้าง ทราบ ความจำเป็น ที่ จะ ต้อง ให้ ลูกจ้าง จำเลย ไป ทำงาน ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด โจทก์ ทั้ง เจ็ด และ ลูกจ้าง อื่น ก็ มิได้ โต้แย้ง และ ไป ทำงาน ให้ ตาม ประสงค์ ของ จำเลย ซึ่ง เป็น การ ให้ ความ ร่วมมือช่วยเหลือ จำเลย ผู้เป็น นายจ้าง ชอบ ด้วย กฎหมาย และ การ แรงงานสัมพันธ์ที่ ดี แล้ว แต่ ที่ จำเลย สั่ง ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไป ทำงาน ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด หลังจาก ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด กลับ ไป ที่ บริษัท จำเลย และ สั่ง เช่นเดียวกัน ซ้ำ อีก ครั้งหนึ่ง หลังจาก ได้ ลงโทษ โจทก์ทั้ง เจ็ด ที่ ไม่ปฏิบัติ คำสั่ง ครั้งแรก นั้น ปรากฏว่า บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด มิได้ เป็น กิจการ ของ จำเลย แต่ เป็น กิจการ ของ บุคคลอื่น จำเลย เกี่ยวข้อง เพียง เป็น ลูกค้า รับ ซื้อ ผลิตภัณฑ์ พื้น ยางรองเท้า จาก บริษัท ดังกล่าว มา ดำเนินการ ผลิต เป็น รองเท้า เท่านั้นทั้ง งาน ที่ จำเลย สั่ง ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ทำ ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด ก็ มิใช่ งาน ตาม หน้าที่ ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด แต่อย่างใด คำสั่งของ จำเลย ที่ ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไป ทำงาน นอก หน้าที่ ของ ลูกจ้าง และ เป็นงาน ของ บุคคลอื่น มิใช่ งาน ใน กิจการ ของ จำเลย ผู้เป็น นายจ้าง เช่นนี้ย่อม มิใช่ คำสั่ง อัน ชอบ ด้วย กฎหมาย กรณี ถือไม่ได้ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ดขัด หรือ ฝ่าฝืน คำสั่ง อัน ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นายจ้าง ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าวข้างต้น จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ถึง ที่ 7 ด้วย เหตุดังกล่าว จึง เป็น การ เลิกจ้าง โดย ไม่มี ความผิด เป็น การ เลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม ทั้ง จำเลย จะ ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้าและ ค่าชดเชย ให้ แก่ โจทก์ ดังกล่าว ด้วย แต่ ศาลแรงงานกลาง ยัง มิได้พิจารณา วินิจฉัย ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ จำนวน ค่าเสียหาย สินจ้าง แทนการ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าชดเชย จึง ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ศาลแรงงานกลาง ดำเนิน กระบวนพิจารณา ใน เรื่อง ดังกล่าว ส่วน โจทก์ที่ 3 นั้น จำเลย เลิกจ้าง เพราะ เหตุ ละทิ้ง หน้าที่ เป็น เวลา3 วันทำงาน ติดต่อ กัน ด้วย เมื่อ ศาลแรงงานกลาง ฟัง ข้อเท็จจริง ว่าโจทก์ ที่ 3 มิได้ ไป ปฏิบัติ หน้าที่ ทำงาน ให้ แก่ จำเลย อีก เลย นับแต่ครบ กำหนด เวลา พัก งาน ซึ่ง เป็น เวลา เกินกว่า 3 วันทำงาน ติดต่อ กันโดย ไม่มี เหตุอันสมควร จำเลย จึง เลิกจ้าง โจทก์ ที่ 3 ได้ โดย ไม่ต้องบอกกล่าว ล่วงหน้า ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ มิใช่ การ เลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม อุทธรณ์ ของ โจทก์ ที่ 3 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง ใน ส่วน ที่เกี่ยวกับ ข้อหา ใน เรื่อง การ เลิกจ้าง ตาม ฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 1 ที่ 2ที่ 4 ถึง ที่ 7 ให้ ศาลแรงงานกลาง พิจารณา วินิจฉัย ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ จำนวน ค่าเสียหาย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า และค่าชดเชย ของ โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ถึง ที่ 7 และ พิพากษา ใหม่ ตามรูปคดี นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง