แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
สัญญาพิพาทมีข้อความระบุไว้ชัดตั้งแต่ชื่อของสัญญาตลอดจนข้อสัญญาทุกข้อว่าเป็นสัญญาจะขายฝาก เพียงแต่ไม่มีกำหนดเวลาว่าจะไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อใดเท่านั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นสัญญาขายฝากเพราะตามสัญญาได้ระบุความรับผิดของทั้งสองฝ่ายไว้ในกรณีไม่ไปทำหนังสือและจดทะเบียนตามกำหนด แสดงถึงเจตนาของคู่สัญญาว่ามิได้มีเจตนาจะทำสัญญาขายฝากหากแต่ต้องการให้เป็นเพียงสัญญาจะขายฝากซึ่งจะต้องได้มีการทำหนังสือจดทะเบียนกันให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง จึงกำหนดหน้าที่ความรับผิดของคู่สัญญาไว้ ส่วนที่กำหนดเวลาไถ่คืนไว้ในสัญญานี้ด้วยก็เพื่อให้เป็นการแน่นอนว่า ถ้าได้ทำหนังสือจดทะเบียนโดยถูกต้องแล้วกำหนดเวลาไถ่คืนต้องเป็นไปตามนั้น ทั้งโฉนดที่ดินที่จะขายฝากอยู่ที่บุคคล-ภายนอก จึงจำเป็นอยู่เองที่คู่กรณีจะต้องทำเป็นสัญญาจะขายฝากไว้ก่อน เมื่อได้โฉนด-ที่ดินมาแล้วจึงไปทำสัญญากันในภายหลัง ดังนั้นเมื่อสัญญาพิพาทมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญแล้ว โจทก์ก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตามป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง