คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2540

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่โจทก์ร่วมฝากให้จำเลยเก็บรักษาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ร่วมไว้แล้วจำเลยไม่ยอมคืนให้เมื่อโจทก์ร่วมทวงคืนในภายหลังเป็นกรณีที่ต้องว่ากล่าวกันทางแพ่งถือไม่ได้ว่าจำเลยเจตนาเอาเอกสารหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ร่วมไปในลักษณะที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188ลงโทษจำเลยในข้อหานี้ไม่ได้

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188, 352

จำเลยให้การปฏิเสธ

ระหว่างพิจารณา นางหลิ่น แสนภาค ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ศาลชั้นต้นอนุญาต

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 จำคุก 2 ปี จำเลยรู้ถึงความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายภายหลังการกระทำความผิดโดยการคืนเอกสารแก่โจทก์ร่วม มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสาม คงจำคุก 1 ปี4 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ข้อหาอื่นให้ยก

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่ไม่ได้โต้เถียงกันเป็นอันฟังได้ว่า โจทก์ร่วมเป็นมารดาจำเลยและเป็นเจ้าของหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 1450ตำบลบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งได้จดทะเบียนจำนองไว้ต่อธนาคารสหธนาคาร จำกัด ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2522 และมีการชำระหนี้จำนองเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2535 ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม 2536 จึงมีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง ต่อมาวันที่ 24 ธันวาคม 2536 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งคำพิพากษา อาจจะมีผู้คัดค้านเข้ามาได้ใหม่อีก จึงขอให้งดการไต่สวนไว้ชั่วคราวจนกว่าศาลจะพิพากษาคดีแล้ว ศาลชั้นต้นอนุญาตและสั่งให้โจทก์แถลงเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วเพื่อยกคดีขึ้นไต่สวนต่อไป ต่อมาโจทก์แถลงว่า ศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอริบทรัพย์ของโจทก์ต่อไป ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านอีกศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องคัดค้านที่ผู้ร้องยื่นไว้แล้วขอถอนไปนั้น ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำร้องคัดค้านดังกล่าว ทำให้กลับสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้มีการยื่นคำร้องคัดค้านไว้เลย เมื่อผู้ร้องนำคำร้องคัดค้านมายื่นใหม่หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามแล้วย่อมล่วงพ้นเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2535 มาตรา 30 วรรคสองจึงให้ยกคำร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องคัดค้านภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติได้ว่า พนักงานอัยการยื่นคำร้องลงวันที่ 2 สิงหาคม 2537 ขอให้ศาลมีคำสั่งริบรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน บ – 5740 ลพบุรี เนื่องจากเป็นทรัพย์ที่ใช้เป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านขอให้ศาลมีคำสั่งคืนทรัพย์ ลงวันที่ 9 กันยายน 2537 ต่อมาวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2538 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องคัดค้านฉบับลงวันที่ 9กันยายน 2537 ศาลมีคำสั่งอนุญาต ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2538 ผู้ร้องจึงมายื่นคำร้องคัดค้านขอคืนรถยนต์อีก เมื่อวันที่ 8ธันวาคม 2538 เห็นว่า พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสอง บัญญัติว่า “ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีเพื่อขอให้สั่งริบทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง และเมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองวันติดต่อกันเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง”เป็นบทบัญญัติให้โอกาสบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องเข้ามาในคดีที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้สั่งริบทรัพย์สิน แต่บุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินจะต้องยื่นคำร้องเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งต้องหมายความถึงหรือทวงคืนทันที เป็นการเจือสมกับข้อนำสืบของจำเลยอีกเช่นกัน พยานจำเลยจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วม ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ร่วมฝากให้จำเลยเก็บรักษาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ร่วมไว้เอง ส่วนการที่จำเลยไม่ยอมคืนให้เมื่อโจทก์ร่วมทวงคืนในภายหลังก็เป็นกรณีที่ต้องว่ากล่าวกันทางแพ่ง ถือไม่ได้ว่าจำเลยเจตนาเอาเอกสารหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ร่วมไปในลักษณะที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 จึงลงโทษจำเลยในข้อหานี้ไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น”

พิพากษายืน

Share