คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2496

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

แม้ความผิดฐานาข่มขืนชำเราตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 244 วรรคต้นมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถือ 10 ปี แต่ ความผิดฐานพยายามตามมาตรา 244 นั้น อย่างสูงศาลจะพิพากษาโทษได้ 6 ปี 8 เดือนเท่านั้น จึงเป็นคดีที่ไม่จำเป็น ต้องฟังพยานโจทก์ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 176 ก่อน เมื่อจำเลยรับสารภาพจำเลยก็ย่อมพิพาทลงโทษจำเลยได้ที เดียว./

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยข่มขืนกระทำชำเราเด็ก อายุ ๖ ขวบ แต่มีเหตุพ้นวิสัยมาขัดขวางเสีย โดยเด็กหญิงดี ร้องไห้และมี คนเห็น จำเลยจึงข่มขืนชำเราไม่สำเร็จ จอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๒๔๔, ๖๐, ๒๔๕.
จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง และจำเลยมีอายุ ๑๖ ปี.
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยผิด ๒ มาตราคือมาตรา ๒๔๔, ๖๐ และ ๒๔๕ สำหรับมาตรา ๒๔๔ โทกษจำคุกถืง ๑๐ ปี โจทก์ไม่ สืบพยาน จึงลงโทษไม่ได้คงให้ลงโทษจำเลยเพียงมาตรา ๒๔๕ ประกอบด้วยมาตรา ๕๘ จำคุก ๒ เดือน ลดตามมาตรา ๕๙ กึ่งหนึ่งคงจำคุก ๑ เดือน ให้รอการลงอาญาไว้
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ลงโทษจำเลยตามมาตรา ๒๔๔, ๖๐ ได้ พิพากษาแก้ให้วางโทษจำเลยตามมาตรา ๒๔๔ วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา ๖๐ จำคุก ๒ ปี ลดโทษตามมาตรา ๕๘, ๕๙ คงจำคุก ๖ เดือน ให้รอการลงอาญาไว้.
จำเลยฎีกาา,
ศาลฎีกาเห็นว่า จริงอยู่ความผิดฐานข่อขืนชำเราตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๒๔๔ วรรคต้นมีอัตราโทษอย่างสูงถืงสิบปี แต่ความผิดฐานพยายามนั้น กฎหมายได้กำหนดให้ลงอาญาได้เพียงสองในสามส่วนของความผิดสำเร็จเท่านั้น จึงเห็น
ได้ชัดว่า ความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราตามมาตรา ๒๔๔ นั้น เป็นคดีซึ่งจิพิพากษาโทษผู้กระทำผิด ถึง ๑๐ ปี ไม่ได้ อย่างสูงจะพิพากษาลงโทษได้เพียงสองในสามคือ ๖ ปี ๘ เดือนเท่านั้น จึงเป็นคดีที่จำเป็นต้องฟังพยานโจทก์
คงพิพากษายืน.

Share