แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยเข้าไปยกหีบบรรจุทรัพย์ซึ่งวางอยู่บนร้านที่เจ้าทรัพย์นอนต่อหน้าเจ้าทรัพย์ที่กำลังนั่งอยู่ที่ร้านนั้น พอคว้าหีบเจ้าทรัพย์ก็แย่งไว้ หีบจึงพลัดตกน้ำไป กลับใช้อาวุธทำร้ายเจ้าทรัพย์แล้วหนีไปแต่ตัว ดังนี้ เป็นผิดฐานพยามชิงทรัพยืเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่าจำเลยปล้นโดยทำให้เจ้าทรัพย์บาดเจ็บ ให้ลงโทษตามมาตรา 301, 296 ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยพยายามชิงทรัพย์ กระทำให้เจ้าทรัพย์บ่ดเจ็บ+มีอำนาจลงดทษจำเลยฐานพยามยามชิงทรัพย์ตามมาตรา 300,60 โดยอาศัยกฎหมายอาญามาตรา 192 วรรคท้ายได้
+แต่ศาลอุทธรณืไม่อนุญาติให้โจทก์แถลงการณ์ด้วยวาจาเท่านั้น ยังไม่เป็นการจำเป็นที่จะต้องให้ศาลอุทธรณ์ทำการพิจารณาพิพากษาใหม่
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานสมคบกับพวกปล้นทรัพย์ของนายไป๋ ขอให้ลงโทษตามมาตรา ๓๐๑
คดีได้ความว่า จำเลยผู้เดียวเข้าไปยกหีบบรรจุทรัพย์ซึ่งวางอยู่บนร้านที่นายไป๋นอนต่อหน้านายไป๋ ผู้กำลังนั่งอยู่ที่ร้านนั้น พอจำเลยคว้าหีบ นายไป๋ก็แย่งไว้ หีบพลัดตกน้ำลงไป จำเลยทำร้ายนายไป๋ด้วยมีดและไม้แล้วหนีไปแต่ตัว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา ๒๙๔ – ๖๐ เพราะจะลงโทษตามมาตรา ๓๐๐ ก็เป็นการเกินคำขอของโจทก์ จำคุก ๓ ปี ๔ เดือน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษตามมาตรา ๓๐๑ และยื่นคำร้องขอแถลงการณ์ด้วยวาจา
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ในข้อแถลงการณ์ด้วยวาจา โจทก์ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐๕ วรรคต้น จึงไม่อนุญาต ส่วนข้อกฎหมายเห็นว่า โจทก์อ้างมาตรา ๓๐๑ อยู่แล้ว หากจะไม่อ้างมาตรา ๒๙๘ เสียเลย ศาลก็ลงโทษจำเลยตามมาตรา ๓๐๐ได้ เพราะโจทก์ระบุในฟ้องชัดเจนว่า จำเลยมีสาตราวุธทำการชิงทรัพย์และทำร้ายเจ้าทรัพย์ถึงบาดเจ็บ ศาลลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๙๒ วรรคท้าย พิพากษาแก้จำคุกจำเลยตามกฎหมายอาญามาตรา ๓๐๐ และ ๖๐ มีกำหนด ๕ ปี
โจทก์จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อเท็จจริงได้ความดังกล่าว เห็นว่าจำเลยยังไม่ได้เอาทรัพย์ไป จึงเป็นผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ และแม้โจทก์จะไม่อ้างมาตรา ๓๐๐ มา แต่ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า จำเลยปล้นทรัพย์โดยทำให้เจ้าทรัพย์บาดเจ็บ เมื่อพิจารณาได้ความว่า จำเลยพยายามชิงทรัพย์ ศาลก็ลงโทษได้
ส่วนข้อที่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้โจทก์แถลงการณ์ด้วยวาจานั้น เพียงเท่านี้ ศาลฎีกาเห็นว่า ยังไม่เป็นการจำเป็นที่จะต้องให้ศาลอุทธรณ์ทำการพิจารณา และ พิพากษาใหม่ จึงพิพากษายืน