คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

สัญญาซื้อขายข้อ10มีความว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้วถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ9เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรและข้อ11มีความว่าในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ10ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.2ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ9กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ10วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ดังนั้นแม้ครบกำหนดตามสัญญาแล้วเจ้าหนี้จะได้เร่งรัดให้ลูกหนี้ส่งมอบสิ่งของอีกก็ตามแต่ลูกหนี้ก็มิได้ปฏิบัติตามสัญญาอย่างใดเลยจนกระทั่งเจ้าหนี้ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังลูกหนี้แล้วแม้การที่เจ้าหนี้จะได้แจ้งสงวนสิทธิการปรับตามสัญญาไปด้วยก็หาใช่เป็นการใช้สิทธิปรับลูกหนี้เป็นรายวันตามสัญญาแล้วไม่เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้โดยอาศัยสัญญาซื้อขายข้อ11ได้อีก

ย่อยาว

มูลกรณี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง จำเลย (ลูกหนี้ ) ทั้ง สามขอให้ ล้มละลาย ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลย (ลูกหนี้ )ทั้ง สาม ไว้ เด็ดขาด เมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม 2533 เจ้าหนี้ ยื่น คำขอรับชำระหนี้ ตาม สัญญาซื้อขาย จำนวน 79,380 บาท จาก กอง ทรัพย์สินของ ลูกหนี้ ที่ 1 และ ที่ 2 รายละเอียด ปรากฏ ตาม บัญชี ท้าย คำขอรับชำระหนี้
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ นัด ตรวจ คำขอ รับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 104 แล้ว ไม่มี ผู้ใดโต้แย้ง คำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ ราย นี้
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ สอบสวน แล้ว เห็นว่า เจ้าหนี้ ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าปรับ รายวัน จาก การ ผิดสัญญา ซื้อ ขาย ระหว่างเจ้าหนี้ กับ ลูกหนี้ ที่ 1 เพราะ เมื่อ ลูกหนี้ ที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่ง มอบ เครื่องปรับอากาศ ให้ เจ้าหนี้ ตาม สัญญา เจ้าหนี้ ได้ ใช้ สิทธิบอกเลิก สัญญา แล้ว จึง มีสิทธิ ริบ หลักประกัน หรือ เรียกร้อง จากธนาคาร ผู้ ออก หนังสือ ค้ำประกัน ตาม สัญญา ข้อ 10 วรรคสอง เท่านั้นแต่ ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าปรับ รายวัน ตาม สัญญา ข้อ 11 จาก ลูกหนี้ ที่ 1อีก และ มีสิทธิ เรียก ค่าเสียหาย จาก การ ที่ ต้อง ซื้อ เครื่องปรับอากาศจาก ผู้ขาย ราย อื่น ใน ราคา ที่ สูง กว่า ที่ ลูกหนี้ ที่ 1 ประมูล ไว้จำนวน 43,000 บาท ตาม สัญญา ข้อ 10 วรรคสอง แต่ ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ค่าซ่อม ตู้เย็น แช่ เลือด เพราะ เจ้าหนี้ ไม่มี หลักฐานมา แสดง ให้ เชื่อ ได้ว่า ต้อง เสีย ค่าซ่อม เช่นนั้น จริง และ ความเสียหายดังกล่าว หาก มี ก็ ไกล เกิน เหตุ ลูกหนี้ ที่ 1 จึง ไม่ต้อง รับผิดและ เจ้าหนี้ ไม่มี สิทธิ ได้รับ ชำระหนี้ จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ที่ 2 เพราะ ลูกหนี้ ที่ 2 ลงชื่อ ใน สัญญาซื้อขาย ใน ฐานะ กรรมการผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน ลูกหนี้ ที่ 1 มิใช่ ใน ฐานะ ส่วนตัว เห็นควรให้ เจ้าหนี้ ได้รับ ชำระหนี้ เป็น เงิน 51,367.33 บาท จาก กอง ทรัพย์สินของ ลูกหนี้ ที่ 1 ตาม มาตรา 130(8) แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 ส่วน ที่ ขอ เกิน มา ให้ยก
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ เจ้าหนี้ ได้รับ ชำระหนี้ ตาม ความเห็นของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ เจ้าหนี้ ได้รับ ชำระ ค่าปรับจำนวน 31,680 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 14พฤษภาคม 2530 (ที่ ถูก เป็น 2531) จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ อีก จำนวน หนึ่งด้วย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำสั่งศาล ชั้นต้น
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหาข้อกฎหมาย ประการ แรก ตาม ฎีกาของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิ ได้รับ ชำระหนี้ค่าปรับ ตาม สัญญาซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 4 ข้อ 11 หรือไม่ คดี นี้เป็น คดี ที่ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาทต้องห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ใน การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัยจาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า สัญญาซื้อ ขาย ที่ ลูกหนี้ ที่ 1 ทำ ไว้ กับ เจ้าหนี้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 4 มี การวางเงิน ประกัน และ กำหนด เบี้ยปรับ ไว้ ด้วย เมื่อ ครบ กำหนด ส่งมอบสิ่งของ ตาม สัญญา ลูกหนี้ ที่ 1 ผิดสัญญา ไม่ส่ง มอบ สิ่งของ ให้ เจ้าหนี้เจ้าหนี้ ได้ เร่งรัด ให้ ลูกหนี้ ที่ 1 ส่งมอบ สิ่งของ ตาม สัญญา แล้วแต่ ลูกหนี้ ที่ 1 ก็ มิได้ ส่งมอบ เจ้าหนี้ เห็นว่า ลูกหนี้ ที่ 1ไม่อาจ ปฏิบัติ ตาม สัญญาซื้อขาย ได้ จึง ได้ มี หนังสือ บอกเลิก สัญญาและ ขอ สงวนสิทธิ ที่ จะ ริบ หลักประกัน และ เบี้ยปรับ กับ ค่าเสียหายตาม สัญญา เมื่อ วันที่ 3 ธันวาคม 2530 ซึ่ง ลูกหนี้ ที่ 1 ได้รับหนังสือ ดังกล่าว แล้ว ตาม หนังสือ บอกเลิก สัญญา และ ใบ ตอบรับ เอกสารหมาย จ. 6 และ จ. 7 เห็นว่า สัญญาซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 4 ข้อ 10มี ความ ว่า เมื่อ ครบ กำหนด ส่งมอบ สิ่งของ ตาม สัญญา นี้ แล้ว ถ้า ผู้ขายไม่ส่ง มอบ สิ่งของ ที่ ตกลง ขาย ให้ แก่ ผู้ซื้อ หรือ ส่งมอบ สิ่งของทั้งหมด ไม่ถูกต้อง หรือ ส่งมอบ สิ่งของ ไม่ครบ จำนวน ผู้ซื้อ มีสิทธิบอกเลิก สัญญา ได้ ใน กรณี ที่ ผู้ซื้อ ใช้ สิทธิ บอกเลิก สัญญา ผู้ขายยอม ให้ ผู้ซื้อ ริบ หลักประกัน หรือ เรียกร้อง จาก ธนาคาร ผู้ ออก หนังสือค้ำประกัน ตาม สัญญา ข้อ 9 เป็น จำนวนเงิน ทั้งหมด หรือ แต่ บางส่วนก็ ได้ แล้วแต่ ผู้ซื้อ จะ เห็นสมควร และ ข้อ 11 มี ความ ว่า ใน กรณีที่ ผู้ซื้อ ไม่ ใช้ สิทธิ บอกเลิก สัญญา ตาม สัญญา ข้อ 10 ผู้ขาย ยอม ให้ผู้ซื้อ ปรับ เป็น รายวัน ใน อัตรา ร้อยละ 0.2 ของ ราคา สิ่งของ ที่ ยังไม่ได้ รับมอบ นับแต่ วัน ถัด จาก วัน ครบ กำหนด ตาม สัญญา จน ถึง วันที่ผู้ขาย ได้ นำ สิ่งของ มา ส่ง ให้ แก่ ผู้ซื้อ จน ถูกต้อง ครบถ้วน ใน ระหว่างที่ มี การ ปรับ นั้น ถ้า ผู้ซื้อ เห็นว่า ผู้ขาย ไม่อาจ ปฏิบัติ ตาม สัญญาต่อไป ได้ ผู้ซื้อ จะ ใช้ สิทธิ บอกเลิก สัญญา และ ริบ หลักประกัน หรือเรียกร้อง จาก ธนาคาร ผู้ ออก หนังสือ ค้ำประกัน ตาม สัญญา ข้อ 9 กับเรียกร้อง ให้ ชดใช้ ราคา ที่ เพิ่มขึ้น ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา ข้อ 10วรรคสอง นอกเหนือ จาก การ ปรับ จน ถึง วัน บอกเลิก สัญญา ด้วย ก็ ได้ดังนั้น แม้ ครบ กำหนด ตาม สัญญา แล้ว เจ้าหนี้ จะ ได้ เร่งรัด ให้ลูกหนี้ ที่ 1 ส่งมอบ สิ่งของ อีก ก็ ตาม แต่ ลูกหนี้ ที่ 1 ก็ มิได้ปฏิบัติ ตาม สัญญา อย่างใด เลย จน กระทั่ง เจ้าหนี้ ได้ มี หนังสือบอกเลิก สัญญา ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 ไป ยัง ลูกหนี้ ที่ 1 แล้ว แม้ การที่ เจ้าหนี้ จะ ได้ แจ้ง สงวนสิทธิ การ ปรับ ตาม สัญญา ไป ด้วย นั้นก็ หาใช่ เป็น การ ใช้ สิทธิ ปรับ ลูกหนี้ ที่ 1 เป็น รายวัน ตาม สัญญา แล้ว ไม่เจ้าหนี้ จึง ไม่มี สิทธิ ที่ จะ เรียก ค่าปรับ เป็น รายวัน จาก ลูกหนี้ ที่ 1โดย อาศัย สัญญาซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 4 ข้อ 11 ได้ อีก
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ บังคับ ไป ตาม คำสั่งศาล ชั้นต้น

Share