คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5178/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เมื่อคดีอาญาที่โจทก์ที่1กับพวกฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่1กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัสถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้องด้วยเหตุผลว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อน่าสงสัยว่าจำเลยที่1จะเป็นผู้ขับรถคันเกิดเหตุหรือไม่ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยที่1ศาลในคดีแพ่งที่โจทก์ที่1กับพวกฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสองจึงจำต้องวินิจฉัยให้ได้ความชัดว่าจำเลยที่1เป็นผู้ขับรถคันเกิดเหตุและเป็นผู้ก่อเหตุละเมิดหรือไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ข้าราชการ ขับ รถยนต์บรรทุกหมายเลข ทะเบียน บ-0465 นครสวรรค์ ของ จำเลย ที่ 2 ใน หน้าที่ ราชการของ จำเลย ที่ 2 ด้วย ความประมาท ปราศจาก ความระมัดระวัง กระแทกด้านขวา รถยนต์ ของ โจทก์ ที่ 1 อย่าง แรง เป็นเหตุ ให้ รถยนต์ ของ โจทก์ ที่ 1เสีย หลัก ตกลง จาก ไหล่ ถนน และ พลิกคว่ำ นาย เกื้อ บัวพัน ผู้ขับ รถยนต์กระบะ นาง บรรจง บัวพัน ซึ่ง เป็น ภริยา ของ โจทก์ ที่ 1เป็น มารดา ของ โจทก์ ที่ 2 และ เป็น บุตร ของ โจทก์ ที่ 3 และ ที่ 4นาย วุฒิ พ่วงไทย บิดา ของ โจทก์ ที่ 5 และ ที่ 6 ถึงแก่กรรม โจทก์ ที่ 7 ได้รับ บาดเจ็บ สาหัส ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วม หรือแทน กัน ชำระ เงิน 445,582 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ มอบหมาย ให้ จำเลย ที่ 1ครอบครอง ขับ ใช้ ควบคุม และ รับผิดชอบ ใน การ ใช้ รถยนต์บรรทุกหมายเลข ทะเบียน บ-0465 นครสวรรค์ ของ จำเลย ที่ 2 และ ไม่ได้ มอบหมายให้ ปฏิบัติ ราชการ ใน ท้องที่เกิดเหตุ การ ที่ รถยนต์ ของ โจทก์ ที่ 1พลิกคว่ำ เกิดจาก ความประมาท เลินเล่อ ของ นาย เกื้อ บุตร โจทก์ ที่ 1ที่ ขับ รถยนต์ ด้วย ความ เร็ว สูง และ คึกคะนอง แซง รถยนต์ คัน หน้า ใน ขณะ มีรถยนต์ แล่น สวน มา นาย เกื้อ ใช้ ห้ามล้อ และ หลบ ไป ทาง ซ้าย จน รถยนต์ ตก ไหล่ ถนน เสีย หลัก พลิกคว่ำ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน 439,242 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จสิ้น แก่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลฎีกา โจทก์ ที่ 3 ถึงแก่กรรมนาง วงษ์ พงษ์นุ่มกูล ภริยา โจทก์ ที่ 3 ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลฎีกา อนุญาต
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี นี้ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกาขอให้ ยกฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ซึ่ง โจทก์ ที่ 1 ฟ้อง เรียกค่าสินไหมทดแทน จาก จำเลย ทั้ง สอง เป็น เงิน 200,364 บาท ศาลอุทธรณ์ ภาค 2พิพากษา ไม่ให้ โจทก์ ที่ 1 ได้ ค่า ปลงศพ 6,340 บาท คงเหลือค่าสินไหมทดแทน 194,024 บาท เมื่อ รวม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี ใน ต้นเงิน นี้ ตั้งแต่ วัน ทำละเมิด จน ถึง วันฟ้อง เป็น เวลา 8 เดือนเป็น เงิน ดอกเบี้ย 9,701.20 บาท รวม ค่าสินไหมทดแทน ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ แก่ โจทก์ ที่ 1 เป็น เงิน 203,725.20 บาทคดี ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 กับ จำเลย ทั้ง สอง มี จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กันใน ชั้นฎีกา เกินกว่า สอง แสน บาท จำเลย ทั้ง สอง จึง ฎีกา ข้อเท็จจริงใน ส่วน ของ โจทก์ ที่ 1 ได้ สำหรับ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 7 นั้น จำนวนทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน ราย ละ สอง แสน บาท จำเลย ทั้ง สองฎีกา ข้อเท็จจริง สำหรับ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 7 ไม่ได้ การ ฟ้อง เรียกค่าสินไหมทดแทน ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 กับ จำเลย ทั้ง สอง นั้น โจทก์ ที่ 1กับพวก ได้ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 เป็น จำเลย ใน คดีอาญา กล่าวหา ว่า จำเลย ที่ 1กระทำ โดยประมาท เป็นเหตุ ให้ ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย และ ได้รับอันตรายสาหัส คดี ส่วน อาญา ถึงที่สุด ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ว่าพยานหลักฐาน โจทก์ ยัง มี ข้อ น่า สงสัย ว่า จำเลย ที่ 1 จะ เป็น ผู้ขับ รถคัน เกิดเหตุ หรือไม่ ให้ยก ประโยชน์ แห่ง ความ สงสัย ให้ แก่ จำเลย ที่ 1พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ยก ฟ้องโจทก์ คดี นี้ เป็นคดีแพ่ง เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา ใน การ พิพากษาคดี ส่วน แพ่ง ศาลฎีกาจำต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา แต่ เนื่องจากคำพิพากษา คดี ส่วน อาญา มิได้ วินิจฉัยชี้ขาด ว่า จำเลย ที่ 1 เป็นผู้ขับ รถยนต์บรรทุก คัน เกิดเหตุ โดยประมาท หรือไม่ คดี นี้ จึง จำต้องวินิจฉัย ให้ ได้ความ ชัด ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ขับ รถยนต์บรรทุกคัน เกิดเหตุ และ เป็น ผู้ก่อเหตุ ละเมิด หรือไม่ ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1มิใช่ ผู้ขับ รถ คัน เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 มิใช่ ผู้ก่อเหตุ ละเมิด ตาม ฟ้องจำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้ ออกคำสั่ง ให้ จำเลย ที่ 1 ปฏิบัติ หน้าที่ ราชการจึง ไม่ต้อง รับผิด ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ข้อ นี้ฟังขึ้น คดี ไม่จำต้อง วินิจฉัย ประเด็น อื่น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ใน ส่วน ที่เกี่ยวกับ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 7 และ ยกฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 1 นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2

Share