คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5176/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา277และมาตรา279ผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำแก่เด็กอายุไม่เกิน15ปีเรื่องอายุของผู้เสียหายเป็นองค์ประกอบความผิดด้วยเมื่อจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหายแม้ความจริงไม่ใช่อย่างที่จำเลยสำคัญผิดจำเลยย่อมไม่มีความผิดการที่จำเลยไม่รู้จักผู้เสียหายมาก่อนก็ไม่มีข้อห้ามที่ไม่ให้จำเลยอ้างความสำคัญผิดมาเป็นข้อแก้ตัว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277, 83
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 กระทำชำเรา ผู้เสียหาย ส่วน จำเลย ที่ 3 กระทำอนาจาร แก่ ผู้เสียหาย โดยผู้เสียหาย ยินยอม แต่ จำเลย ทั้ง สาม สำคัญผิด ว่า ผู้เสียหาย มี อายุ18 ปี แล้ว การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สาม จึง ไม่มี ความผิด พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา โดย อัยการ สูงสุด รับรอง ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ร่วมประเวณี และ จำเลย ที่ 3 ได้ กระทำอนาจาร แก่ เด็ก หญิง มะปราง ศิริแตง ผู้เสียหาย ซึ่ง มี อายุ 14 ปี 5 เดือน โดย สำคัญผิด ว่า ผู้เสียหาย มี อายุ 18 ปี จริง คดีมี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า จำเลย ที่ 3 ได้ ร่วมประเวณี กับ ผู้เสียหาย หรือไม่ ผู้เสียหาย ยินยอม ให้ จำเลย ทั้ง สามร่วมประเวณี หรือไม่ และ จำเลย ทั้ง สาม จะ อ้าง เหตุ สำคัญผิด เรื่องอายุ ของ ผู้เสียหาย ได้ หรือไม่ เชื่อ ได้ว่า ผู้เสียหาย สมัครใจ ร่วมประเวณี กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 และ สมัครใจ ให้ จำเลย ที่ 3 กระทำอนาจาร
ฎีกา ประการ สุดท้าย มี ว่า จำเลย จะ อ้าง ความ สำคัญผิด ใน เรื่องอายุ ของ ผู้เสียหาย ได้ หรือไม่ เห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา277 และ มาตรา 279 ผู้กระทำผิด จะ ต้อง กระทำ แก่ เด็ก อายุ ไม่เกิน15 ปี เรื่อง อายุ ของ ผู้เสียหาย เป็น องค์ประกอบ ความผิด ด้วย จึง เป็นข้อเท็จจริง ที่ ว่า ผู้กระทำผิด ได้ รู้ หรือไม่ การ รู้ หรือไม่ รู้ข้อเท็จจริง จะ ผิด หรือไม่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคหนึ่งบัญญัติ ว่า ข้อเท็จจริง ใด ถ้า มี อยู่ จริง จะ ทำให้ การกระทำ ไม่เป็นความผิด ฯลฯ แม้ ข้อเท็จจริง นั้น จะ ไม่มี อยู่ จริง แต่ ผู้กระทำสำคัญผิด ว่า มี อยู่ จริง ผู้กระทำ ย่อม ไม่มี ความผิด ฯลฯ จึง เห็น ได้ว่าเมื่อ จำเลย สำคัญผิด ใน เรื่อง อายุ ของ ผู้เสียหาย แม้ ความจริง ไม่ใช่อย่าง ที่ จำเลย สำคัญผิด จำเลย ย่อม ไม่มี ความผิด การ ที่ จำเลย ไม่รู้ จัก ผู้เสียหาย มา ก่อน ก็ ไม่มี ข้อห้าม ที่ ไม่ให้ จำเลย อ้าง ความสำคัญผิด มา เป็น ข้อ แก้ตัว ฉะนั้น จำเลย ทั้ง สาม จึง ไม่มี ความผิดตาม ฟ้องฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share