แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ฎีกาจำเลยที่ว่าจำเลยได้ขอเลื่อนการขายทอดตลาดต่อศาลและได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแต่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลก่อนเป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อผลที่สุดปรากฏว่าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนการขายทอดตลาดตามที่จำเลยร้องขอการที่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลและขายทอดตลาดไปจึงหาทำให้เป็นการไม่ชอบไม่ การขายทอดตลาดไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าต้องมีผู้เข้าสู้ราคาเกินกว่าหนึ่งรายหรือกี่รายจึงจะทำการขายทอดตลาดได้แม้ทรัพย์บางอันดับจะมีผู้เข้าสู้ราคา2คนและทรัพย์บางอันดับมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียวก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในการขายทอดตลาดผู้คัดค้านมีอำนาจขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา123ซึ่งอาจจะแยกขายทีละสิ่งหรือรวมขายก็ได้สุดแต่ว่าวิธีใดจะเป็นวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดและเมื่อมีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483โดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจปรับด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา309
ย่อยาว
คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก เมื่อ วันที่ 17 ธันวาคม 2535 ผู้คัดค้านได้ ขายทอดตลาด ทรัพย์ ของ จำเลย ที่ 3 รวม 5 รายการ ให้ แก่นาย บุญมี กิติประเสริฐ ผู้ สู้ราคา สูงสุด
จำเลย ที่ 3 ยื่น คำร้อง ว่า นาย บุญมี กับ ผู้ เข้า สู้ราคา อีก 2 คน ร่วมกัน กด ราคา ซื้อ จึง ขาย ได้ ใน ราคา ต่ำ ทรัพย์ ที่ ขายทอดตลาด มี ราคาอย่าง ต่ำ ไม่ น้อยกว่า 10,000,000 บาท แต่ ผู้คัดค้าน ขายทอดตลาดได้ เพียง 1,730,000 บาท ซึ่ง ต่ำกว่า ราคา แท้จริง มาก ผู้คัดค้าน ทำการขายทอดตลาด โดยมิชอบ เพราะ ใน การ ขาย ทรัพย์ อันดับ 1 ถึง 3มี ผู้ เข้า สู้ราคา เพียง 2 คน และ ใน การ ขาย ทรัพย์ อันดับ 4 และ 5มี ผู้ เข้า สู้ราคา เพียง คนเดียว จำเลย ที่ 3 ได้ ขอเลื่อน การ ขายทอดตลาดต่อ ศาล และ ผู้คัดค้าน ซึ่ง ผู้คัดค้าน ควร รอ ฟัง คำสั่งศาล ก่อน แต่เมื่อจำเลย ที่ 3 กับพวก ที่ จะ เข้า สู้ราคา ทราบ คำสั่งศาล แล้ว ไป ยัง สถานที่ ขายทอดตลาด ซึ่ง เป็น เวลา ประมาณ 11.20 นาฬิกา ปรากฏว่า ผู้คัดค้านได้ ขายทอดตลาด เสร็จ แล้ว โดย ยัง ไม่ถึง เวลา 12 นาฬิกา ตาม ที่ ประกาศไว้ จึง เป็น การ ขายทอดตลาด ที่ รวบรัด ผิดปกติ วิสัย ทำให้ ผู้ที่ ตามจำเลย ที่ 3 ไป เพื่อ เข้า สู้ราคา ไม่อาจ เข้า สู้ราคา ได้ อีก ประการ หนึ่งผู้คัดค้าน น่า จะ แยก ขาย ทรัพย์ แต่ละ รายการ เพื่อ ให้ ได้ ราคา สูง ตามหน้าที่ ของ ผู้ขาย ทอดตลาด ขอให้ เพิกถอน คำสั่ง ขายทอดตลาด ของผู้คัดค้าน และ ให้ ประกาศ ขายทอดตลาด ใหม่
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้าน ได้ ส่ง และ ปิดประกาศขายทอดตลาด โดยชอบ เมื่อ ถึง เวลา ขาย จะ มี ผู้ เข้า สู้ราคา กี่ ราย ย่อมไม่เป็น ข้อ สาระสำคัญ เพราะ ไม่มี กฎหมาย บัญญัติ ไว้ จำเลย ทราบ ประกาศขายทอดตลาด ล่วงหน้า เป็น เวลา นาน แต่ ไม่ หา ผู้ เข้า สู้ราคา เพื่อ ให้ทรัพย์ มี ราคา สูง ขึ้น ผู้คัดค้าน ได้ ขายทอดตลาด ตาม วัน เวลา และสถานที่ ที่ ประกาศ ไว้ และ ที่ กำหนด เวลา 10 นาฬิกา เป็น เวลา เริ่มต้นการ ขาย และ ดำเนินการ ไป จน กระทั่ง ขาย เสร็จ ซึ่ง เป็น เวลา 11.30นาฬิกา ไม่มี เหตุ ที่ จะ ต้อง รอ จน เวลา 12 นาฬิกา ทรัพย์ ที่ ขายทอดตลาดเดิม ยึด ไว้ ใน คคีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 359/2524 ของ ศาลชั้นต้นตั้งแต่ วันที่ 2 มิถุนายน 2535 ซึ่ง การ ขายทอดตลาด ครั้งที่ 3ใน คดี ดังกล่าว เมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2533 มี ผู้ สู้ราคา สูงสุด ในทรัพย์ อันดับ 1 ถึง 3 รวมเป็น เงิน 305,000 บาท จำเลย ที่ 3ไม่ คัดค้าน และ รับ ว่า เป็น ราคา ที่ เหมาะสม กับ สภาพ ของ ทรัพย์ แต่ ศาลไม่อนุญาต ให้ ขาย ต่อมา ได้ โอน ทรัพย์ ที่ ยึด มา ใน คดี นี้ และ ได้ประกาศ ขายทอดตลาด มา หลาย ครั้ง ทรัพย์ ดังกล่าว ไม่ทราบ ราคา ที่ แท้จริงเพราะ เป็น ทรัพย์ ที่ ไม่มี ขาย ใน ประเทศ ไทย แต่เมื่อ หัก ค่า เสื่อม ของตัว ทรัพย์ แล้ว ราคา ที่ ขาย เป็น ราคา ที่ เหมาะสม กับ สภาพ ของ ทรัพย์ใน ขณะ ขาย ซึ่ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เจ้าหนี้ ผู้ มี ความรู้ เกี่ยวกับทรัพย์ ดังกล่าว โดยตรง ไม่ได้ คัดค้าน ราคา ทั้ง ยัง ขาย สูง กว่า ราคาประเมินของ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ผู้คัดค้าน ขายทอดตลาด ไป โดยชอบ ขอให้ยกคำร้อง
โจทก์ ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้าน ได้ ขายทอดตลาด ทรัพย์โดยชอบ โดย ก่อน การ ขาย บรรดา เจ้าหนี้ ได้ ขอให้ ขาย ทรัพย์ อันดับ 1ถึง 3 รวมกัน และ ขาย ทรัพย์ อันดับ 4 และ 5 รวมกัน เพราะ เป็นทรัพย์ ประเภท เดียว กัน จะ ได้ ราคา ดีกว่า ที่ จำเลย ที่ 3 กล่าวอ้าง ว่าทรัพย์ ที่ ขายทอดตลาด มี ราคา ไม่ น้อยกว่า 10,000,000 บาท เป็น การ กล่าวอ้าง ลอย ๆ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ประเมิน ราคา ทรัพย์ ที่ ยึด ทั้งหมดไว้ เพียง 250,000 บาท ซึ่ง จำเลย ที่ 3 ไม่เคย คัดค้าน ราคาทรัพย์ ที่ ขายทอดตลาด มี อายุ ประมาณ 20 ปี และ ถูก ยึด ไว้ นาน 10 ปีมี สภาพ เก่า และ ชำรุด ทรุดโทรม มี การ ประกาศ ขายทอดตลาด รวมทั้งหมด12 ครั้ง ราคา ขาย ได้ เป็น ราคา ที่ เหมาะสม แก่ สภาพ ของ ทรัพย์ แล้วขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น ให้ยก คำร้องของ จำเลย ที่ 3
จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ที่ 3 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 3ได้ ขอเลื่อน การ ขายทอดตลาด ต่อ ศาล และ ได้ แจ้ง ให้ ผู้คัดค้าน ทราบแต่ ผู้คัดค้าน ไม่ได้ รอ ฟัง คำสั่งศาล ก่อน เป็น การ ไม่ชอบ นั้น เห็นว่าเมื่อ ผล ที่สุด ปรากฏว่า ศาล ไม่อนุญาต ให้ เลื่อน การ ขายทอดตลาด ตาม ที่จำเลย ที่ 3 ร้องขอ การ ที่ ผู้คัดค้าน ไม่ได้ รอ ฟัง คำสั่งศาล และขายทอดตลาด ไป จึง หา ทำให้ เป็น การ ไม่ชอบ ไม่ ส่วน ที่ จำเลย ที่ 3 ฎีกา ว่าทรัพย์ อันดับ 1 ถึง 3 มี ราคา สูง มี ผู้ เข้า สู้ราคา เพียง 2 คน ทรัพย์อันดับ 4 และ 5 มี ผู้ เข้า สู้ราคา เพียง คนเดียว ผู้คัดค้านควร ถอน ทรัพย์ อันดับ 4 และ 5 ออกจาก การ ขายทอดตลาด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 และ ควร แยก ขาย ทรัพย์อันดับ 1 ถึง 5 ที ละ รายการ เพื่อ ให้ ผู้ มี เงิน น้อย เข้า สู้ราคา ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 การ ที่ ผู้คัดค้านสั่ง ขาย ทรัพย์ ไป เป็น การ ฝ่าฝืน ต่อ บทบัญญัติ ดังกล่าว นั้น เห็นว่า การขายทอดตลาด ไม่มี บท กฎหมาย ใด บัญญัติ ว่า ต้อง มี ผู้ เข้า สู้ราคา เกินกว่าหนึ่ง ราย หรือ กี่ ราย จึง จะ ทำการ ขายทอดตลาด ได้ ดังนี้ แม้ ทรัพย์อันดับ 1 ถึง 3 จะ มี ผู้ เข้า สู้ราคา 2 คน และ ทรัพย์ อันดับ 4 และ 5มี ผู้ สู้ราคา เพียง คนเดียว ก็ ไม่ทำ ให้การ ขายทอดตลาด นั้น ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย และ การ ขายทอดตลาด ผู้คัดค้าน มีอำนาจ ขาย ตาม วิธี ที่ สะดวกและ เป็น ผล ดี ที่สุด ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 123ซึ่ง อาจจะ แยก ขาย ที ละ สิ่ง หรือ รวม ขาย ก็ ได้ สุด แต่ ว่า วิธี ใด จะ เป็น วิธีที่ สะดวก และ เป็น ผล ดี ที่สุด กรณี นี้ เมื่อ มี บัญญัติ ไว้ โดยเฉพาะดังกล่าว แล้ว จึง ไม่อาจ ปรับ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 309 ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 3 ทรัพย์สิน ที่ ขายทอดตลาด คดี นี้ ถูก ยึดไว้ เป็น เวลา นาน ประมาณ 10 ปี และ ได้ ทำการ ขายทอดตลาด มา แล้วหลาย ครั้ง แต่ ไม่สามารถ ขาย ได้ ซึ่ง ใน การ ขายทอดตลาด ที่ แล้ว มาก็ ได้ความ จาก นาย บุญธรรม ทองขลิบ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ และ นาย ประเสริฐ อังอติชาติ ทนายโจทก์ ว่า ได้ ทำการ ขาย ทรัพย์ อันดับ 1 ถึง 3 รวมกัน มา แล้ว และ ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 3 ได้ คัดค้านแต่อย่างใด ทั้ง การ ขายทอดตลาด ครั้งหลัง นี้ นาย ประเสริฐ ทนายโจทก์ ก็ เห็นชอบ ด้วย กับ ผู้คัดค้าน ให้ ขาย ทรัพย์ อันดับ 1 ถึง 3 รวมกันและ ขาย ทรัพย์ อันดับ 4 และ 5 รวมกัน เพราะ เป็น ทรัพย์ ประเภท เดียว กันและ ปรากฏว่า ขาย ได้ ใน ราคา ที่ สูง กว่า ราคาประเมิน ของ เจ้าพนักงานบังคับคดี และ ราคา ที่ มี ผู้ สู้ราคา สูงสุด ใน การ ขายทอดตลาด ครั้งที่ แล้วมา ดังนี้ การ ที่ ผู้คัดค้าน รวม ขาย ทรัพย์ ดังกล่าว และ ขาย ไป จึง ถือว่าเป็น วิธี ที่ สะดวก และ เป็น ผล ดี ที่สุด หา เป็น การ ฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย ไม่
พิพากษายืน