คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5101/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ในวันนัดพิจารณาคำร้องขอปฏิเสธหนี้ผู้ร้องไม่ไปศาลศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาผู้ร้องยื่นคำร้องว่าไม่ทราบกำหนดนัดมาก่อนขอให้เพิกถอนคำสั่งเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่เกี่ยวกับการพิจารณาโดยขาดนัดในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมอันเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา27ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา153ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นก่อนมีคำพิพากษาแต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ผู้ร้องทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่5กรกฎาคม2536ฉบับหนึ่งมาแล้วแสดงว่าผู้ร้องทราบกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวแล้วอย่างช้าวันที่5กรกฎาคม2536แต่ผู้ร้องเพิ่งยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเมื่อวันที่11สิงหาคม2536ซึ่งช้ากว่าแปดวันนับแต่ผู้ร้องทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ กรณีที่จะถือว่าคู่ความฝ่ายใดขาดนัดพิจารณาได้ต้องปรากฏว่าคู่ความฝ่ายนั้นทราบวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วไม่มาศาลเมื่อผู้ร้องยังโต้เถียงข้อเท็จจริงอยู่ว่าผู้ร้องไม่ทราบกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่การขอพิจารณาคดีใหม่แต่อย่างใด

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก ผู้คัดค้าน มี หนังสือ แจ้ง ยืนยัน หนี้ ไป ยังผู้ร้อง ว่า ผู้ร้อง เป็น หนี้ ตาม สัญญา ขาย ลด ตั๋วเงิน (เช็ค ) จะ ต้องชำระหนี้ จำนวน 4,840,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 19.5 ต่อ ปีให้ แก่ จำเลย จึง ให้ ผู้ร้อง ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ยแก่ ผู้คัดค้าน
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง ไม่เคย ทำ สัญญา ขาย ลด ตั๋วเงิน(เช็ค ) กับ จำเลย และ ไม่เคย เป็น หนี้ จำเลย แต่อย่างใด จึง ไม่มีความรับผิด ที่ จะ ต้อง ชำระหนี้ ตาม หนังสือ ของ ผู้คัดค้าน ขอให้จำหน่าย ชื่อ ผู้ร้อง ออกจาก บัญชี ลูกหนี้ ของ จำเลย
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้ร้อง เป็น หนี้ จำเลย ตาม สัญญาขาย ลด ตั๋วเงิน (เช็ค ) จำนวน 4,840,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 19.5 ต่อ ปี ผู้ร้อง ต้อง ชำระหนี้ จำนวน ดังกล่าว แก่ ผู้คัดค้านขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น นัด ไต่สวน คำร้อง วันที่ 10 มิถุนายน 2536 เวลา13.30 นาฬิกา ถึง วัน เวลา นัด ผู้ร้อง และ ทนาย ไม่มา ศาล ผู้คัดค้านแถลงว่า ไม่ประสงค์ จะ ดำเนินการ พิจารณา ต่อไป ศาลชั้นต้น สั่ง ว่าผู้ร้อง ขาดนัดพิจารณา ให้ จำหน่ายคดี ของ ผู้ร้อง
ต่อมา วันที่ 11 สิงหาคม 2536 ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้องมิได้ มี เจตนา หรือ จงใจ ไม่มา ศาล แต่ ผู้ร้อง ไม่ทราบ กำหนด วันนัด ไต่สวนคำร้อง เพิ่ง มา ทราบ เมื่อ ศาล มี หมาย แจ้ง คำสั่ง ให้ ทราบ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536 ว่า ผู้ร้อง ขาดนัดพิจารณา ให้ จำหน่ายคดีผู้ร้อง มิได้ เป็น หนี้ จำเลย ตาม ที่ ผู้คัดค้าน อ้าง หาก มี การ ไต่สวนคำร้อง แล้ว ผู้ร้อง สามารถ พิสูจน์ ข้อเท็จจริง ตาม คำร้อง ดังกล่าวได้ ขอให้ ไต่สวน คำร้อง และ มี คำสั่ง เพิกถอน คำสั่งศาล ที่ สั่ง ว่าผู้ร้อง ขาดนัดพิจารณา และ ที่ ให้ จำหน่ายคดี ของ ผู้ร้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ ผู้ร้อง ฎีกา ว่า ผู้ร้อง ยัง ไม่ทราบวันนัด ไต่สวน คำร้อง ลายมือชื่อ ทราบ วันนัด ไต่สวน คำร้อง มิใช่ลายมือ ผู้ร้อง หรือ ทนาย ผู้ร้อง แต่ ศาลชั้นต้น สั่ง ว่า ผู้ร้อง ขาดนัดพิจารณา และ ให้ จำหน่ายคดี ของ ผู้ร้อง ผู้ร้อง จึง มีสิทธิ ยื่น คำร้องลงวันที่ 11 สิงหาคม 2536 ขอให้ เพิกถอน คำสั่ง นั้น ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 เพราะ มิใช่ เป็น การขอให้พิจารณา คดี ใหม่ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201นั้น เห็นว่า ตาม คำร้อง ดังกล่าว ผู้ร้อง อ้างว่า ผู้ร้อง ไม่ทราบ วันนัดไต่สวน พยาน ผู้ร้อง การ ที่ ผู้ร้อง ไม่มา ศาล ใน วัน ไต่สวน จะ ถือว่าผู้ร้อง ขาดนัดพิจารณา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 ไม่ได้ ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ผู้ร้อง ขาดนัดพิจารณาและ จำหน่ายคดี ของ ผู้ร้อง จาก สารบบความ เป็น การ ไม่ชอบ เท่ากับเป็น การ กล่าวอ้าง ว่า ศาลชั้นต้น มิได้ ปฏิบัติ ตาม บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ เกี่ยวกับ การ พิจารณา โดยขาดนัด ใน ข้อ ที่ มุ่งหมาย จะ ยัง ให้การ เป็น ไป ด้วย ความยุติธรรมอันเป็น การ พิจารณา ที่ ผิดระเบียบ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ประกอบ ด้วย พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27ประกอบ ด้วย พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ผู้ร้องซึ่ง ได้รับ ความเสียหาย ต้อง ยื่น คำร้องขอ ให้ เพิกถอน การ พิจารณาที่ ผิดระเบียบ นั้น ก่อน มี คำพิพากษา แต่ ต้อง ไม่ ช้า กว่า แปด วัน นับแต่วันที่ ผู้ร้อง ทราบ ข้อความ หรือ พฤติการณ์ อันเป็น มูล แห่ง ข้ออ้าง นั้นคดี นี้ เมื่อ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง จำหน่ายคดี ของ ผู้ร้อง แล้ว ศาลชั้นต้นได้ มี หมาย แจ้ง คำสั่ง ให้ แก่ ผู้ร้อง ทราบ โดย ปิด หมาย เมื่อ วันที่ 22มิถุนายน 2536 และ ผู้ร้อง ได้ ยื่น คำร้องขอ พิจารณา คดี ใหม่ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2536 ฉบับ หนึ่ง มา แล้ว แสดง ว่า ผู้ร้อง ได้ ทราบกระบวนพิจารณา ที่ ผิดระเบียบ ดังกล่าว แล้ว อย่างช้า ใน วันที่ 5กรกฎาคม 2536 แต่ ผู้ร้อง เพิ่ง ยื่น คำร้องขอ ให้ เพิกถอน กระบวนพิจารณาที่ ผิดระเบียบ เมื่อ วันที่ 11 สิงหาคม 2536 ซึ่ง ช้า กว่า แปด วันนับแต่ ผู้ร้อง ทราบ ข้อความ หรือ พฤติการณ์ อันเป็น มูล แห่ง ข้ออ้าง นั้นผู้ร้อง จึง ไม่มี สิทธิ ร้องขอ ให้ เพิกถอน กระบวนพิจารณา ที่ ผิดระเบียบนั้น ได้ คดี ไม่มี ความจำเป็น ที่ ศาล จะ ต้อง ไต่สวน คำร้องขอ งผู้ร้องต่อไป ที่ ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ตาม คำร้องของผู้ร้อง เป็น กรณี ที่ผู้ร้อง ขาดนัดพิจารณา เมื่อ ศาลชั้นต้น จำหน่ายคดี ของ ผู้ร้อง จากสารบบความ แล้ว ผู้ร้อง คง ทำได้ เพียง ประการ เดียว คือ ร้อง เริ่มต้นคดี ใหม่ แต่ ต้อง อยู่ ใน บังคับ แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 ผู้ร้อง ไม่มี สิทธิ ร้องขอ ให้ พิจารณา ใหม่ นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า กรณี ที่ จะ ถือว่า คู่ความ ฝ่ายใด ขาดนัดพิจารณา ได้ ต้อง ปรากฏว่าคู่ความ ฝ่าย นั้น ทราบ วันนัด สืบพยาน โดยชอบ แล้ว ไม่มา ศาล เมื่อตาม คำร้องของผู้ร้อง ยัง โต้เถียง ข้อเท็จจริง อยู่ ว่า ผู้ร้อง ไม่ทราบกำหนด วันนัด ไต่สวน สืบพยาน ผู้ร้อง ลายมือชื่อ ทราบ วันนัด ไม่ใช่ลายมือชื่อ ของ ผู้ร้อง หรือ ทนาย ผู้ร้อง เช่นนี้ คำร้องของผู้ร้องจึง มิใช่ การ ขอให้พิจารณา ใหม่ แต่อย่างใด ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้น ให้ยก คำร้องของผู้ร้อง ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผลฎีกา ของ ผู้ร้อง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share