คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เมื่อหนี้ที่จำเลยอาศัยเป็นมูลเหตุให้ยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันหนี้ได้ พฤติการณ์แห่งคดีเชื่อว่าจำเลยถูกหลอกลวงให้กู้ยืมเงินไปจำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันโดยเข้าใจว่ามีสิทธิยึดไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เมื่อคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความตลอดถึงการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรให้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลเป็นพับแม้โจทก์จะเป็นฝ่ายชนะคดีก็ตาม

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาง หนู แพงศรี ตาม คำสั่งศาล ชั้นต้น นาง หนู มี ที่ดิน 1 แปลง เป็น ทรัพย์มรดก คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 8104 โจทก์ ค้นหา โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ไม่พบจึง ไป ตรวจสอบ ที่ สำนักงาน ที่ดิน จังหวัด อุบลราชธานี ทราบ ว่า จำเลยเป็น ผู้ ยึดถือ ครอบครอง โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ไว้ โจทก์ ทวงถาม แล้วจำเลย ไม่ยอม คืน ให้ ขอให้ บังคับ จำเลย ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน เลขที่ 8108แก่ โจทก์ หาก จำเลย ไม่ส่ง มอบ ให้ ศาล พิพากษายก เลิก โฉนด ที่ดิน ดังกล่าวฉบับ ผู้ถือ และ ให้ โจทก์ มีสิทธิ ไป ขอ ออก ใบแทน โฉนด ที่ดิน ต่อ เจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัด อุบลราชธานี ได้
จำเลย ให้การ ว่า เมื่อ วันที่ 31 สิงหาคม 2514 นาง บวร แพงศรี นาง ใหญ่ แซ่หลาย นาง สมร แพงศรี นาง ราตรี บุตราช ได้ กู้ยืม เงิน จำเลย ไป จำนวน 60,000 บาท กำหนด ชำระหนี้ ให้ เสร็จสิ้น ภายใน วันที่31 ตุลาคม 2514 โดย ได้ นำ หลักฐาน สัญญากู้ยืม เงิน ของ นาง หนู แพงศรี มอบ ไว้ ให้ แก่ จำเลย พร้อม ทั้ง นำ โฉนด ที่ดิน เลขที่ 8104 มอบ ให้จำเลย ไว้ เพื่อ เป็น ประกัน การกู้ยืมเงิน สัญญากู้ยืม เงิน นั้นมี โจทก์ ลงชื่อ เป็น ผู้ค้ำประกัน เมื่อ ครบ กำหนด ชำระหนี้ ตาม สัญญาจำเลย ไม่ได้ รับชำระหนี้ จึง ไป แจ้ง อายัด โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ไว้จน บัดนี้ จำเลย ก็ ยัง ไม่ได้ รับชำระหนี้ จำเลย จึง มีสิทธิ ยึด หน่วงโฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ไว้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน เลขที่ 8104เลขที่ ดิน 4 ตำบล ใน เมือง อำเภอ เมือง อุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานีแก่ โจทก์ คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม ใน ศาลชั้นต้น แทน โจทก์ โดย กำหนด ค่า ทนายความ ให้1,000 บาท นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น และ ให้จำเลย ใช้ ค่า ทนายความ ชั้นอุทธรณ์ แทน โจทก์ 500 บาท
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ใน เบื้องต้น ว่า โจทก์ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาง หนู แพงศรี ซึ่ง ถึงแก่กรรม ไป เมื่อ ปี 2513 จำเลย ได้ ยึดถือ โฉนด ที่ดินพิพาทซึ่ง มี ชื่อ นาง หนู เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ไว้ มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ว่า จำเลย มีสิทธิ ยึด หน่วง โฉนด ที่ดินพิพาท ไว้ หรือไม่คดี นี้ จำเลย ให้การ ต่อสู้ ว่า เมื่อ วันที่ 31 สิงหาคม 2514นาง บวร นางใหญ่ นางสมรและนางราตรี กู้ยืม เงิน จำเลย ไป 60,000 บาท โดย นำ หลักฐาน สัญญากู้ยืม เงิน ของ นาง หนู มอบ ให้ จำเลย ไว้ พร้อม ทั้ง นำ โฉนด ที่ดินพิพาท มอบ ให้ จำเลย เพื่อ เป็น ประกัน การกู้ยืมเงิน นั้นเห็นว่า ใน ชั้นพิจารณา จำเลย ไม่ได้ นำสืบ ให้ ฟังได้ ว่า นาง หนู เป็น ผู้กู้ยืม เงิน จาก จำเลย เอง หรือ มอบอำนาจ ให้ นาง บวร นางใหญ่ นาง สมรและนางราตรี เป็น ผู้กู้ยืม เงิน แทน นาง หนู แม้ จำเลย จะ มี หนังสือ สัญญากู้ยืม เงิน เอกสาร หมาย ล. 1 มา เป็น หลักฐาน ว่านาง หนู ได้ กู้ยืม เงิน ดังกล่าว ไป จาก จำเลย เมื่อ วันที่ 31 สิงหาคม 2514 ก็ ตาม แต่ ปรากฏว่า นาง หนู ได้ ถึงแก่กรรม ไป ก่อน แล้ว ตั้งแต่ วันที่ 11 มกราคม 2513 ตาม สำเนา มรณบัตร เอกสาร หมาย จ. 6หนังสือ สัญญากู้ยืม เงิน เอกสาร หมาย ล. 1 จึง มิใช่ เป็น หลักฐานแห่ง การกู้ยืมเงิน ที่ จำเลย จะ ฟ้องร้อง บังคับ นาง หนู หรือ ทายาท ผู้รับมรดก ของ นาง หนู ให้ ชดใช้ เงิน ตาม สัญญากู้ยืม เงิน ดังกล่าว ได้ เมื่อ หนี้ ที่ จำเลย อาศัย เป็น มูลเหตุ ให้ ยึดถือ โฉนด ที่ดินพิพาทไม่อาจ ฟ้องร้อง ให้ บังคับคดี ได้ จำเลย จึง ไม่มี สิทธิ ยึดถือโฉนด ที่ดินพิพาท ไว้ เป็น ประกันหนี้ ได้ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษาให้ จำเลย ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน แก่ โจทก์ ชอบแล้ว ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ว่าหาก จำเลย แพ้ คดี ขอให้ ศาลฎีกา มี คำสั่ง ให้ โจทก์ และ จำเลย แต่ละ ฝ่ายต่าง เสีย ค่าฤชาธรรมเนียม ใน ส่วน ของ ตน หรือ ตาม ส่วน แห่ง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ซึ่ง คู่ความ ทั้ง สอง ฝ่าย ได้เสีย ไป แล้ว ทั้ง สาม ศาล นั้น เห็นว่าตาม พฤติการณ์ แห่ง คดี เชื่อ ได้ว่า จำเลย ถูก หลอกลวง ให้ กู้ยืม เงิน ไปจำเลย ยึดถือ โฉนด ที่ดินพิพาท ไว้ เป็น ประกัน โดย เข้าใจ ว่า มีสิทธิ ยึดไว้ ได้ จนกว่า จะ ได้รับ ชำระ เงิน ที่ ให้ กู้ยืม ไป แล้ว แม้ โจทก์ จะ เป็นฝ่าย ชนะคดี แต่เมื่อ คำนึง ถึง เหตุสมควร และ ความ สุจริต ใน การ สู้ ความตลอด ถึง การ ดำเนินคดี ของ คู่ความ ทั้งปวง แล้ว ศาลฎีกา เห็นสมควร ให้ค่าฤชาธรรมเนียม ทั้ง สาม ศาล เป็น พับ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 กำหนด ให้จำเลย ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม ใน ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 แทน โจทก์ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษาแก้ ใน เรื่อง ความรับผิด ค่าฤชาธรรมเนียม เป็น ว่าค่าฤชาธรรมเนียม ใน ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ให้ เป็น พับนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกา ให้ เป็น พับ

Share