แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ผู้ว่าจ้างฟ้องให้จำเลยที่1ผู้รับจ้างซึ่งฝ่าฝืนข้อสัญญาให้ชำระค่าจ้างเพราะความผิดของจำเลยที่1ที่โจทก์ได้ให้บุคคลภายนอกทำการแก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้คืนดีและเป็นไปตามสัญญาแทนจำเลยที่1ซึ่งโจทก์ได้จ่ายเงินให้บุคคลภายนอกไปแล้วโดยสิ้นเชิงซึ่งจำเลยที่1ต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นด้วยจึงไม่เป็นการฟ้องจำเลยที่1ผู้รับจ้างเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องได้ปรากฎขึ้นในตัวทรัพย์ที่ส่งให้โจทก์อันมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา601ตามที่โจทก์ฟ้องให้ผู้รับจ้างรับผิดในกรณีเช่นนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามมาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่แก้ไขใหม่)
ย่อยาว
คดี สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น พิจารณา และ พิพากษา รวมกัน
โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟ้อง ว่า โจทก์ ทำ สัญญาจ้าง จำเลย ที่ 1ทำการ ก่อสร้าง ปรับปรุง ขยาย การประปา ตาก จังหวัด ตาก โดย มี จำเลย ที่ 3ทำ สัญญาค้ำประกัน จำเลย ที่ 1 ต่อ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ได้ ทำการ งานที่ จ้าง แล้ว เสร็จ จึง ส่งมอบ งาน จ้าง ให้ คณะกรรมการ ตรวจรับ งาน ของ โจทก์เรียบร้อย แล้ว โจทก์ ตรวจ พบ ความ ชำรุด เสียหาย เกิดขึ้น หลาย รายการจึง มี หนังสือ แจ้ง จำเลย ที่ 1 ให้ แก้ไข ความ ชำรุด เสียหาย และ แจ้ง จำเลยที่ 3 ให้ เร่งรัด จำเลย ที่ 1 ไป ทำการ แก้ไข ความ ชำรุด เสียหายแต่ จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ทำการ แก้ไข แต่อย่างใด โจทก์ จึง ทำ สัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ตากเมฆวิไล แก้ไข ความ ชำรุด เสียหาย ใน ราคา 397,000 บาท ต่อมา ท่อน้ำประปา แตก ชำรุด 2 แห่ง โจทก์ ไม่อาจ แจ้งจำเลย ที่ 1 ให้ ไป ทำการ ซ่อมแซม ก่อน ได้ เนื่องจาก จำเลย ที่ 1มี ภูมิลำเนา อยู่ กรุงเทพมหานคร เพราะ จะ ทำให้ ประชาชน ผู้ใช้ น้ำประปาเดือดร้อน ไม่มี น้ำ ใช้ โจทก์ จึง จ้าง ร้าน เมฆวิไล ทำการ ซ่อมแซม เป็น เงิน 20,000 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน417,100 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ใน สำนวน แรก ขาดนัด ยื่นคำให้การ และขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 3 ใน สำนวน แรก และ จำเลย ทั้ง สาม ใน สำนวน ที่ สองให้การ ว่า ความ ชำรุด บกพร่อง มิได้ เกิดจาก ความผิด ของ จำเลย ที่ 1และ ตาม สัญญา โจทก์ ต้อง แจ้ง จำเลย ที่ 1 ให้ ทำการ ซ่อมแซม แก้ไขแต่ จำเลย ที่ 1 ไม่เคย ได้รับ แจ้ง จาก โจทก์ ให้ ไป ซ่อมแซม แก้ไขความ ชำรุด บกพร่อง ที่ เกิดขึ้น ฟ้อง ของ โจทก์ ขาดอายุความ เพราะ โจทก์นำ คดี มา ฟ้อง เกิน 1 ปี นับแต่ วันที่ ความ ชำรุด บกพร่อง ปรากฎ ขึ้นโจทก์ ต่อ สัญญาจ้าง ให้ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ แจ้ง ให้จำเลย ที่ 3 ทราบ จำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน จึง หลุดพ้นจาก ความรับผิด ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ชำระ เงิน จำนวน 417,100 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง วันที่ 23พฤศจิกายน 2531 ของ ต้นเงิน 20,100 บาท และ วันที่ 7 ธันวาคม 2531ของ ต้นเงิน 397,000 บาท จนกว่า ได้ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ กับ ให้จำเลย ที่ 3 ชำระ ดอกเบี้ย ระหว่าง ผิดนัด อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีของ ต้นเงิน 397,000 บาท นับแต่ วันที่ 1 กันยายน 2531 ถึง วันฟ้องเป็น เงิน 8,022.70 บาท
จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ที่ 3 ฎีกา ใน สำนวน แรก นั้นเป็น คดี ที่ มี ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาทจึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง คง มีปัญหา ให้ วินิจฉัย ใน ข้อกฎหมาย ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่แต่ ควร วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 3 ใน สำนวน หลัง ก่อน ว่า ตาม สัญญาจ้างเอกสาร หมาย จ. 3 ความ ชำรุด เสียหาย ที่ เกิดขึ้น เป็น เงิน 397,000 บาทเกิดจาก ความผิด ของ จำเลย ที่ 1 หรือไม่ ที่ จำเลย ที่ 3 ฎีกา ไม่ยอมรับผิด ใน ค่าเสียหาย ดังกล่าว โจทก์ เรียก ค่าเสียหาย โดย นำสืบ ว่าความ ชำรุด เสียหาย ทั้งหมด เกิดจาก ความ บกพร่อง ของ จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้าง ที่ ทำ ไว้ ไม่ เรียบร้อย ใช้ สิ่งของ ที่ มี คุณภาพ ไม่ดีทำ ไม่ถูกต้อง ตาม หลักวิชา การ จำเลย ที่ 1 จึง ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ตาม สัญญาจ้าง ข้อ 6 นั้น จำเลย ทั้ง สาม ไม่ได้ นำสืบ หักล้าง ให้ ศาล เห็นเป็น อย่างอื่น อีก ทั้ง จำเลย ที่ 3 ก็ รับ ว่า โจทก์ ได้ แจ้ง ให้ ทราบ แล้วว่า งาน ที่ จำเลย ที่ 1 ทำ นั้น เกิด ความเสียหาย และ เมื่อ จำเลย ที่ 3แจ้ง ให้ จำเลย ที่ 1 ซ่อมแซม จำเลย ที่ 1 ก็ ไม่ ซ่อมแซม หรือ คัดค้าน แต่ประการใด ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า งาน ที่ จ้าง เกิด ความ ชำรุด เสียหายเพราะ ความผิด ของ จำเลย ที่ 1 โจทก์ จึง ใช้ สิทธิ จ้าง ผู้อื่น ทำงาน แทนจำเลย ที่ 1 ตาม สัญญาจ้าง ข้อ 6 ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ต้อง จ่ายเงิน ค่าจ้างค่า สิ่งของ ค่า คุม งาน และ ค่าใช้จ่าย อื่น ใด ตาม จำนวน ที่ โจทก์ต้อง เสีย ไป โดย สิ้นเชิง และ การ ที่ จำเลย ที่ 3 ยอมรับ ว่า ได้รับเงิน ค่าปรับ คืน จาก โจทก์ แทน จำเลย ที่ 1 แต่ กลับ ปฏิเสธ ว่า ไม่เคยได้รับ หนังสือ ต่อ อายุ สัญญา ใน การ ที่ จำเลย ที่ 2 ได้รับ จาก โจทก์ เพื่อมอบ ให้ จำเลย ที่ 3 จะ ถือว่า จำเลย ที่ 3 ตกลง ยินยอม ด้วย ใน การ ผ่อน เวลาของ โจทก์ ไม่ได้ จำเลย ที่ 3 จึง ไม่ต้อง รับผิด ใช้ เงิน ที่ โจทก์ต้อง เสีย ไป จำนวน 397,000 บาท นั้น ตาม สัญญาค้ำประกัน ข้อ 1หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ตาม เงื่อนไข ใน สัญญา ที่ ทำ ไว้ หรือ ปฏิบัติผิด เงื่อนไข ข้อ หนึ่ง ข้อ ใด ของ สัญญา ดังกล่าว ซึ่ง โจทก์ มีสิทธิ เรียกค่าเสียหาย ใด ๆ จาก จำเลย ที่ 1 ได้ แล้ว จำเลย ที่ 3 ยอม ชำระ เงินแทน ให้ ทันที โดย มิต้อง เรียกร้อง ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ ก่อน และ จำเลย ที่ 3ยอมรับ รู้ และ ยินยอม ด้วย ใน กรณี ที่ โจทก์ ได้ยิน ยอม ให้ ผัด หรือผ่อน เวลา หรือ ผ่อนผัน การ ปฏิบัติ ตาม เงื่อนไข ใน สัญญา ให้ แก่ จำเลยที่ 1 โดย เพียงแต่ โจทก์ แจ้ง ให้ จำเลย ที่ 3 ทราบ โดย ไม่ ชักช้า เท่านั้นจาก ข้อ สัญญา ดังกล่าว จำเลย ที่ 3 จึง ต้อง รับผิด ร่วม กับ จำเลย ที่ 1และ ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 3 ยินยอม ใน การ ต่อ อายุ สัญญา แล้ว จำเลย ที่ 3ไม่ หลุดพ้น จาก ความรับผิด ตาม สัญญาค้ำประกัน มี ปัญหา วินิจฉัย ต่อไป ว่าฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ขาดอายุความ หรือไม่ เห็นว่า คดี ทั้ง สอง สำนวนเป็น เรื่อง ที่ โจทก์ ผู้ว่าจ้าง ฟ้อง ให้ จำเลย ที่ 1 ผู้รับจ้าง ใน ทางอัน ฝ่าฝืน ข้อ สัญญา ให้ ชำระ ค่าจ้าง เพราะ ความผิด ของ จำเลย ที่ 1ที่ โจทก์ ได้ ให้ บุคคลภายนอก ทำการ แก้ไข สิ่ง ที่ บกพร่อง ให้ คืน ดี และเป็น ไป ตาม สัญญา แทน จำเลย ที่ 1 ซึ่ง โจทก์ ได้ จ่ายเงิน ให้ บุคคลภายนอกไป แล้ว โดย สิ้นเชิง ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ต้อง ออก ค่าใช้จ่าย ทั้งสิ้น ด้วยจึง ไม่เป็น การ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ผู้รับจ้าง เพื่อ การ ที่ ทำ ชำรุด บกพร่องได้ ปรากฏ ขึ้น ใน ตัว ทรัพย์ ที่ ส่ง ให้ โจทก์ อัน มี อายุความ 1 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 ตาม ที่ โจทก์ ฟ้องให้ ผู้รับจ้าง รับผิด ใน กรณี เช่นนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้บัญญัติ ไว้ โดยเฉพาะ จึง ต้อง ใช้ อายุความ สิบ ปี ตาม มาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่ แก้ไข ใหม่ ) ฟ้องโจทก์ ไม่ขาดอายุความ
พิพากษายืน