แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา238ประกอบด้วยมาตรา247 โจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยผู้ให้เช่าซื้อต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้วผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าวคู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อโจทก์มิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใดๆให้แก่จำเลยคงจะต้องรับผิดเฉพาะค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ของจำเลยผู้ให้เช่าซื้อในระหว่างที่โจทก์ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ดังกล่าวอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคสามและกรณีที่มีการเลิกสัญญากันแล้วเช่นนี้โจทก์มาฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยไม่เสนอชำระหนี้ค่าเสียหายตอบแทนเพื่อให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมแม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตอบแทนแก่จำเลยได้ด้วย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ เช่าซื้อ รถยนต์ จาก จำเลย 1 คัน ราคา445,600 บาท โดย ชำระ ใน วัน ทำ สัญญา 100,000 บาท ส่วน ที่ เหลือตกลง ชำระ เป็น รายเดือน เดือน ละ 9,600 บาท เมื่อ โจทก์ ชำระราคา ครบถ้วน แล้ว จำเลย จะ โอน กรรมสิทธิ์ ใน รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ ให้ แก่โจทก์ โจทก์ ได้ ชำระ ค่าเช่าซื้อ ให้ แก่ จำเลย ตลอดมา รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น212,066 บาท โดย ชำระ ครั้งสุดท้าย เมื่อ วันที่ 6 มีนาคม 2535เป็น เงิน 12,000 บาท ต่อมา วันที่ 7 มีนาคม 2535 จำเลย ได้ ให้พนักงาน ของ จำเลย มา ยึด รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ คืน ไป จาก โจทก์ โดย ไม่บอกกล่าว และ มิได้ บอกเลิก สัญญา เป็น การกระทำ ผิดสัญญา ถือว่า จำเลยไม่ประสงค์ จะ โอน กรรมสิทธิ์ รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ ให้ แก่ โจทก์ ตาม สัญญาเมื่อ โจทก์ ชำระ ค่าเช่าซื้อ ครบถ้วน แล้ว จำเลย จึง ต้อง คืน ค่าเช่าซื้อที่ โจทก์ ชำระ แล้ว ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ขอให้ บังคับ จำเลยชำระ เงิน 212,066 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ สิบ ห้า ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ค้างชำระ ค่าเช่าซื้อ 2 งวด ติดต่อ กันสัญญาเช่าซื้อ ย่อม สิ้นสุด ลง โดย ไม่ต้อง บอกกล่าว จำเลย มีสิทธิเข้า ครอบครอง รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ ได้ ทันที ตาม สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6เดิม โจทก์ ชำระ ค่าเช่าซื้อ ครั้งสุดท้าย เมื่อ วันที่ 20 มกราคม 2535ใน วันที่ 6 มีนาคม 2535 โจทก์ ค้างชำระ ค่าเช่าซื้อ เป็น เงิน63,134 บาท จำเลย จึง ให้ พนักงาน ของ จำเลย ไป ติดต่อ โจทก์ ที่ บ้านโจทก์ โจทก์ ยินยอม ให้ พนักงาน ของ จำเลย นำ รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ ไป เก็บไว้ ณ ที่ทำการ ของ จำเลย ใน วัน ดัง กล่าว พนักงาน ของ จำเลยทราบ ว่า เมื่อ วันที่ 5 มีนาคม 2535 โจทก์ ได้ ส่ง ธนาณัติ เงิน จำนวน12,000 บาท เพื่อ ชำระ ค่าเช่าซื้อ เพิ่มเติม แก่ จำเลย โจทก์ ได้ ตกลงกับ พนักงาน ของ จำเลย ว่า ใน วันที่ 1 เมษายน 2535 โจทก์ จะ ไป ทำความ ตกลง กับ จำเลย และ จะ ชำระ ค่าเช่าซื้อ ที่ ค้างชำระ ให้ ครบถ้วนแต่ โจทก์ ไม่ชำระ จำเลย มิได้ ปฏิบัติ ผิดสัญญา ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 140,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระเสร็จ แก่ โจทก์
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงินจำนวน 72,066 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ ทุน ทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกาไม่เกิน สอง แสน บาท ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งโจทก์ ฎีกา ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 หยิบยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม มา ปรับ กับ คดี นี้ไม่ชอบ ทั้ง ค่าเสียหาย จำเลย ก็ ไม่ได้ ต่อสู้ ไว้ ใน คำให้การ ด้วยใน การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตามข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบ ด้วย มาตรา 247ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า เมื่อ วันที่ 11 กันยายน 2533โจทก์ ได้ เช่าซื้อ รถยนต์ ยี่ห้อ มิตซุบิชิ จาก จำเลย 1 คัน ราคา 445,600 บาท ตาม สำเนา สัญญาเช่าซื้อ เอกสาร หมาย จ. 2โจทก์ ได้ ชำระ ค่าเช่าซื้อ ให้ แก่ จำเลย ไป แล้ว 212,066บาท ใน การ ชำระ ค่าเช่าซื้อ นี้ โจทก์ ผ่อนชำระ ไม่ ตรงตาม งวด และ บางครั้ง ชำระ ไม่ ตรง กับ จำนวนเงิน ที่ จะ ต้อง ชำระแต่ละ งวด ครั้งสุดท้าย โจทก์ ชำระ เมื่อ วันที่ 6 มีนาคม 2535ซึ่ง จำเลย ก็ ยอมรับ ชำระ การ ที่ โจทก์ ผู้เช่าซื้อ ผิดนัด ชำระ ค่าเช่าซื้อมา ตลอด โดย มิได้ ชำระ ตรง ตาม กำหนด แต่ละ งวด และ จำเลย ผู้ ให้เช่าซื้อ ก็ ยอมรับ ค่าเช่าซื้อ ที่ ชำระ ไม่ ตรง ตาม กำหนด นั้น ตลอดมาโดย มิได้ ทักท้วง โจทก์ และ จำเลย มิได้ มี เจตนา ที่ จะ ถือเอา กำหนด เวลาตาม สัญญาเช่าซื้อ เป็น สาระสำคัญ ที่ จำเลย ไป ยึด รถยนต์ ที่ เช่าซื้อคืน เพราะ เหตุ ที่ โจทก์ ติด ค้าง ค่าเช่าซื้อ และ โจทก์ ก็ ยินยอม ให้ ยึดรถยนต์ ที่ เช่าซื้อ ไป โดย มิได้ โต้แย้ง ไว้ ถือได้ว่า โจทก์ และ จำเลยต่าง สมัครใจ ที่ จะ เลิกสัญญา ต่อ กัน โดย ปริยาย นับแต่ วันที่ จำเลยยึด รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ คืน เห็นว่า เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์และ จำเลย ต่าง สมัครใจ ที่ จะ เลิกสัญญา ต่อ กัน โดย ปริยาย แล้ว ผล แห่ง การเลิกสัญญา ดังกล่าว คู่ สัญญา จะ ต้อง กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม เมื่อ โจทก์มิได้ ผิดสัญญา ก็ ไม่ต้อง ชดใช้ ค่าเสียหาย ใด ๆ ให้ แก่ จำเลย คง จะ ต้องรับผิด เฉพาะ ค่าเสียหาย เป็น ค่าขาดประโยชน์ ของ จำเลย ผู้ให้เช่าซื้อใน ระหว่าง ที่ โจทก์ ยัง คง ครอบครอง และ ใช้ ประโยชน์ ใน ทรัพย์ ดังกล่าว อยู่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม และกรณี ที่ มี การ เลิกสัญญา กัน แล้ว เช่นนี้ โจทก์ มา ฟ้อง เรียกเงิน คืน จากจำเลย โดย ไม่ เสนอ ชำระหนี้ ค่าเสียหาย ตอบแทน เพื่อ ให้ แต่ละ ฝ่ายได้ กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม แม้ จำเลย จะ ไม่ได้ ต่อสู้ ไว้ ใน คำให้การเมื่อ ศาล พิพากษา ให้ จำเลย คืนเงิน ก็ มีอำนาจ พิพากษา ให้ โจทก์ ชำระหนี้ ตอบแทน แก่ จำเลย ได้ ด้วย ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 หยิบยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม มา ปรับ กับ คดี นี้และ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน