คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่าคดีมีเหตุอันสมควรที่จะให้ถอนหมายอายัดที่ศาลได้ออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา258ในกรณีฉุกเฉินตามคำขอของโจทก์นั้นคดีนี้เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องเงินที่จำเลยที่1มีต่อบริษัท อ. ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่2และที่3ในฐานะส่วนตัวจำเลยที่2และที่3จึงไม่มีส่วนได้เสียในคำสั่งดังกล่าวจำเลยที่2และที่3ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดและไม่ได้ถูกกระทบกระเทือนจากคำสั่งยกคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดจำเลยที่2และที่3จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจำเลยที่2ก็ชอบที่จะฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2ว่าตนมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนหมายอายัดจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอถอนหมายอายัดแต่จำเลยที่2ก็มิได้ฎีกาคดีจึงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2ว่าจำเลยที่2ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนหมายอายัดปัญหาตามฎีกาข้างต้นในส่วนของจำเลยที่2จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยส่วนจำเลยที่3ปรากฏว่าจำเลยที่3ไม่ได้ร่วมยืนคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดด้วยคงมีแต่จำเลยที่1และที่2เท่านั้นเป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดเมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่1และที่2ที่ขอให้ถอนหมายอายัดจำเลยที่3ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์เนื่องจากมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้นศาลการที่ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่3เป็นการไม่ชอบจำเลยที่3ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่2และที่3 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่1ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยฉุกเฉินโดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มีเหตุเพียงพอกรณีมีเหตุฉุกเฉินจำเลยที่1ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเมื่อจำเลยที่1ไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุดฎีกาของจำเลยที่1ที่ว่าข้ออ้างของโจทก์ไม่มีเหตุเพียงพอจึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยุติไปแล้วทั้งไม่ใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณาคำร้องของจำเลยที่1ที่ขอให้ถอนหมายอายัดชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่1ตั้งสิทธิเรียกร้องจากมูลละเมิดกล่าวหาว่าโจทก์ร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกลั่นแกล้งจำเลยที่1ให้ได้รับความเสียหายมิได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่จำเลยทั้งสามซื้อเชื่อสินค้าไปจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคาฟ้องแย้งของจำเลยที่1เช่นนี้จึงเป็นคนละเรื่องกับคำฟ้องของโจทก์ไม่เกี่ยวข้องกันพอที่จะนำมารวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ ระหว่าง วันที่ 10 มีนาคม2535 ถึง วันที่ 28 สิงหาคม 2535 จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ซื้อ เชื่อสินค้า ไป จาก โจทก์ รวมเป็น เงิน 8,318,356.59 บาท โดย รับ สินค้าไป เรียบร้อย แต่ จำเลย ทั้ง สาม ไม่นำ เงิน มา ชำระ ขอให้ บังคับ จำเลยทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 8,501,425.59 บาท พร้อม ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 8,318,365.59 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า ชำระ เสร็จ
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ยื่น คำร้องขอ ให้ อายัด สิทธิเรียกร้องของ จำเลย ทั้ง สาม ที่ มีสิทธิ ได้รับ ค่าจ้าง จากบริษัท อีโก้เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จำนวน 9,403,057 บาท ไว้ ชั่วคราว ก่อน มี คำ พิพากษา โดย ฉุกเฉิน
ศาลชั้นต้น ไต่สวน แล้ว มี คำสั่ง อายัด สิทธิเรียกร้อง เงิน จำนวน7,090,574.02 บาท จาก บริษัท อีโก้เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ยื่น คำร้องขอ ให้ยก เลิก คำสั่ง และถอน หมายอายัด
โจทก์ ยื่น คำร้อง คัดค้าน ขอให้ ยกคำร้อง ขอ ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2
ศาลชั้นต้น ไต่สวน แล้ว มี คำสั่ง ยกคำร้อง ขอ ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2
จำเลย ทั้ง สาม ยื่นคำให้การ และ จำเลย ที่ 1 ฟ้องแย้ง ว่าโจทก์ ไม่ใช่ ผู้เสียหาย และ หนังสือมอบอำนาจ ให้ ฟ้อง ปลอม จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 กระทำการ แทน จำเลย ที่ 1 ดังนั้น จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ไม่ต้อง รับผิด ใน ฐานะ ส่วนตัว จำเลย ที่ 1 ติดต่อ ซื้อ ขาย เครื่องมือเครื่องใช้ เล็ก ๆ น้อย จาก ร้าน ทวีชัยการช่าง จริง แต่ ไม่เคย ติด ค้าง ชำระ โจทก์ จงใจ หรือ เลินเล่อ กลั่นแกล้ง จำเลย ที่ 1 โดย โจทก์ ยื่น คำร้องเท็จ ต่อ ศาล ขอให้ อายัด สิทธิเรียกร้อง ของ จำเลย ที่ มี ต่อ บริษัท อีโก้เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ก่อน มี คำพิพากษา โดย ฉุกเฉิน และ ได้ เบิกความเท็จ เกี่ยวกับ เรื่อง ดังกล่าว เป็นเหตุ ให้ ศาล ได้ มี คำสั่งอายัด สิทธิเรียกร้อง ทำให้ จำเลย ที่ 1 เสียหาย ไม่ได้ รับ เงินที่ ศาล มี คำสั่ง อายัด และ จำเลย ที่ 1 ขาด ความ เชื่อถือ ใน วงการ ธุรกิจขอให้ ยกฟ้อง โจทก์ และ ขอให้ บังคับ โจทก์ ชำระ ค่าขาดประโยชน์จาก การ ไม่ได้ รับ เงิน ที่ ถูก อายัด คือ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 19 ต่อ ปีของ ต้นเงิน 7,090,574.07 บาท (ที่ ถูก น่า จะ เป็น 7,090,574.02 บาท )นับแต่ วันที่ 31 มีนาคม 2530 จนกว่า จะ ถอน คำสั่ง อายัด และ ให้ โจทก์ชำระ เงิน จำนวน 1,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง แย้ง จนกว่า ชำระ เสร็จ แก่ จำเลย ที่ 1
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับฟ้อง แย้ง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ถึงแก่กรรม นาง เฉลียว พลชัย ภริยา และ ผู้จัดการมรดก โจทก์ ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทนศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์ คำสั่ง ที่ ให้ยก คำร้องขอ เพิกถอน หมายอายัดและ จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์ ขอให้ รับฟ้อง แย้ง
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ว่า คดี มีเหตุ อันสมควร ที่ จะ ให้ ถอน หมายอายัด ที่ ศาล ได้ ออก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 258 ใน กรณี ฉุกเฉิน ตาม คำขอของ โจทก์ นั้น เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ได้ วินิจฉัย ว่า “ศาลชั้นต้น มีคำสั่ง ให้ อายัด สิทธิเรียกร้อง เงิน ที่ จำเลย ที่ 1 มี ต่อบริษัท อีโก้เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ไม่ใช่ สิทธิเรียกร้อง ของ จำเลย ที่ 2 หรือ ที่ 3 ใน ฐานะ ส่วนตัว จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จึง ไม่มีส่วนได้เสีย ใน คำสั่ง ดังกล่าว ดังนั้น จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ย่อม ไม่มีสิทธิ ยื่น คำร้องขอ ให้ ถอน หมายอายัด และ ไม่ได้ ถูก กระทบ กระเทือนจาก คำสั่ง ยกคำร้อง ขอให้ ถอน หมายอายัด แต่อย่างใด จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 จึง ไม่มี สิทธิ อุทธรณ์ คำสั่ง ดังกล่าว ” ครั้น เมื่อ จำเลย ที่ยื่นฎีกา จำเลย ที่ 2 ชอบ ที่ จะ ฎีกา โต้แย้ง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2ว่า ตน มีสิทธิ ยื่น คำร้องขอ ถอน หมายอายัด จึง มีสิทธิ อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้น ที่ ให้ยก คำร้องขอ ถอน หมายอายัด แต่ จำเลย ที่ 2 ก็ ไม่ได้ฎีกา โต้แย้ง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 แต่อย่างใด คดี จึง ฟังได้เป็น ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่มี สิทธิ ยื่นคำร้องขอ ถอน หมายอายัด ปัญหา ตาม ฎีกา ข้างต้น ใน ส่วน ของ จำเลย ที่ 2จึง ไม่เป็น สาระ แก่ คดี อันควร ได้ รับ การ วินิจฉัย ส่วน จำเลย ที่ 3ปรากฏว่า จำเลย ที่ 3 ไม่ได้ ร่วม ยื่น คำร้องขอ ให้ ถอน หมายอายัดแต่อย่างใด คง มี แต่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เท่านั้น เป็น ผู้ยื่นคำร้องขอให้ ถอน หมายอายัด เมื่อ ศาลชั้นต้น ยกคำร้อง ของ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ที่ ขอให้ ถอน หมายอายัด จำเลย ที่ 3 ย่อม ไม่มี สิทธิ อุทธรณ์เนื่องจาก มิได้ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ตามลำดับ ชั้น ศาล การ ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 3 จึง เป็น การ ไม่ชอบจำเลย ที่ 3 ไม่มี สิทธิ ฎีกา ต่อมา ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ฎีกาจำเลย ที่ 3 คดี จึง มี ปัญหา แต่ เฉพาะ ฎีกา จำเลย ที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า โจทก์ ยื่น คำร้อง และ นำสืบ เพียง ว่า จำเลยปิด กิจการ กำลัง จะ ไป รับ เงิน จาก บริษัท อีโก้เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด โจทก์ มี หน้าที่ นำสืบ ให้ ได้ความ จริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255 วรรคสอง (ก)แต่ ข้อเท็จจริง ตาม ทางพิจารณา ปรากฏว่า ข้ออ้าง ของ โจทก์ ไม่เป็น ความจริง ตาม คำร้อง และ ไม่ เข้า องค์ประกอบ หลักกฎหมาย ดังกล่าวไม่มี เหตุ เพียงพอ ศาล ชอบ ที่ จะ ยกคำร้อง เห็นว่า เมื่อ ศาลชั้นต้น มีคำสั่ง ให้ อายัด สิทธิเรียกร้อง ของ จำเลย ที่ 1 ชั่วคราว ก่อน พิพากษาโดย ฉุกเฉิน โดย วินิจฉัย ว่า ฟ้องโจทก์ มีเหตุ เพียงพอ กรณี มีเหตุฉุกเฉิน จำเลย ที่ 1 ย่อม มีสิทธิ อุทธรณ์ คำสั่ง เมื่อ จำเลย ที่ 1ไม่ยื่น อุทธรณ์ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น จึง ถึงที่สุด ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1ข้างต้น จึง เป็น การ โต้แย้ง คำสั่งศาล ชั้นต้น ที่ ยุติ ไป แล้ว ทั้ง ไม่ใช่เหตุ ที่ จะ นำ มา พิจารณา คำร้องของ จำเลย ที่ 1 ที่ ขอให้ ถอน หมายอายัด ชั่วคราว ใน กรณี ฉุกเฉิน กรณี นี้ ได้
คดี คง มี ปัญหา วินิจฉัย เฉพาะ ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า มีเหตุ ผลสมควร ที่ จะ ให้ ถอน หมายอายัด หรือไม่ ซึ่ง ปัญหา นี้ ศาลฎีกา วินิจฉัยข้อเท็จจริง ว่า พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ นำสืบ มี น้ำหนัก ดีกว่า พยาน จำเลยที่ 1 ไม่มี เหตุสมควร ที่ จะ ถอน หมายอายัด
ปัญหา ต่อไป มี ว่า ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ที่ 1 เกี่ยวข้อง กับฟ้องเดิม พอ ที่ จะ รวม พิจารณา พิพากษา เข้า ด้วยกัน หรือไม่ เห็นว่าฟ้องแย้ง ของ จำเลย ที่ 1 ตั้ง สิทธิเรียกร้อง จาก มูลละเมิด กล่าวหา ว่าโจทก์ ร้องขอ ให้ ศาล นำ วิธีการ ชั่วคราว ก่อน คำพิพากษา มา ใช้ บังคับโดย จงใจ หรือ เลินเล่อ กลั่นแกล้ง จำเลย ที่ 1 ให้ ได้รับ ความเสียหายเช่นนี้ เห็นว่า ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ที่ 1 มิได้ เกี่ยวข้อง กับ คำฟ้องของ โจทก์ ที่ ฟ้อง เรียก ค่าสินค้า ที่ จำเลย ทั้ง สาม ซื้อ เชื่อ สินค้า ไปจาก โจทก์ แล้ว ไม่ชำระ ราคา ฟ้องแย้ง จำเลย ที่ 1 จึง เป็น คน ละ เรื่องกับ คำฟ้อง ของ โจทก์ ไม่สามารถ นำ มา รวม พิจารณา พิพากษา เข้า ด้วยกัน ได้
พิพากษายืน เฉพาะ ที่ เกี่ยวกับ ฎีกา จำเลย ที่ 1 และ ให้ยก ฎีกาจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 กับ ให้ยก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 3 เสีย ด้วย

Share