คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4938/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

แม้ตามสัญญาเช่าซื้อข้อ8ระบุว่าถ้าจำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดยอมให้ถือว่าสัญญานี้เลิกกันโดยโจทก์มิต้องบอกกล่าวก่อนและข้อ10ระบุว่าถ้าโจทก์ยอมผ่อนผันกรณีที่จำเลยที่1ผิดนัดหรือผิดสัญญาครั้งใดอย่างใดไม่ให้ถือว่าเป็นการผ่อนผันการผิดนัดหรือผิดสัญญาครั้งอื่นก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาเกือบถึง1ปีและครั้งสุดท้ายชำระไม่ครบจำนวนดังกล่าวโจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิทักท้วงพฤติการณ์แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่1ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อรวมทั้งจำนวนเงินค่าเช่าซื้อแต่ละงวดตามสัญญาเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญอีกต่อไปหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387เสียก่อน หนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์และราคารถส่วนที่ขายไปยังขาดภายใน7วันตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายดังกล่าวเท่านั้นถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาจากจำเลยที่1โดยจำเลยที่1ไม่ได้โต้แย้งการยึดแต่อย่างใดเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่1ต่างประสงค์หรือสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันแล้วนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ กรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันด้วยความสมัครใจของคู่สัญญาจึงมิใช่เป็นการเลิกสัญญากันโดยผลของสัญญาเช่าซื้อเพราะเหตุใดจำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหรือผิดสัญญาเช่าซื้อแต่อย่างใดแต่เป็นกรณีที่สัญญาเลิกกันด้วยเหตุอื่นคู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคารถส่วนที่ขายไปยังขาดค่าเช่าซื้ออยู่โดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อ9ซึ่งระงับไปแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญาเช่าซื้อ รถยนต์บรรทุกสิบล้อ ของ โจทก์ ไป ใน ราคา 730,000 บาท ชำระ ค่าเช่าซื้อ ใน วัน ทำ สัญญาเป็น เงิน 10,000 บาท ส่วน ที่ เหลือ จะ ชำระ 36 งวด งวด ละ เดือนโดย ชำระ ทุกวัน ที่ 19 ของ เดือน เริ่ม ตั้งแต่ วันที่ 19 สิงหาคม 2517จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อ งวด ที่ 10 ซึ่ง จะ ต้อง ชำระ ใน วันที่19 พฤษภาคม 2528 ให้ โจทก์ เพียง 540 บาท และ ผิดนัด ไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ตั้งแต่งวดดังกล่าว เป็นต้น มา โจทก์ ติดตาม ยึด รถ คืน ได้เมื่อ วันที่ 19 มิถุนายน 2529 รถ อยู่ ใน สภาพ ได้รับ ความเสียหายโจทก์ นำ รถ ออก ขาย ตาม สภาพ โดย เปิดเผย เป็น เงิน 265,000 บาทยัง ขาด ราคา รถ อยู่ อีก 318,425 บาท โจทก์ ได้รับ ความเสียหายขาด ประโยชน์ จาก การ นำ รถ ออก ให้ เช่า ได้ เป็น เงิน 140,000 บาท รวมกับค่าขาย รถ แล้ว ขาด ราคา เป็น เงิน 458,425 บาท จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3เป็น ผู้ค้ำประกัน ยอมรับ ผิด ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 โจทก์ ให้ ทนายความมี หนังสือ ทวงถาม แล้ว จำเลย ทั้ง สาม ไม่ชำระ หนี้ ขอให้ บังคับ จำเลยทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน 458,425 บาท และ ดอกเบี้ย ร้อยละ 18 ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ ฟ้อง เพราะ จำเลยที่ 1 ยัง ไม่ผิด นัด หรือ ผิดสัญญา เช่าซื้อ ตาม สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 ระบุให้ โจทก์ มีสิทธิ เรียก ราคา รถ ที่ ยัง ขาด อยู่ หรือ ค่าเสียหาย จาก การ ขาดประโยชน์ ได้ เพียง อย่างใด อย่างหนึ่ง เท่านั้น ฟ้องโจทก์ เกี่ยวกับค่าเสียหาย เคลือบคลุม โจทก์ ขาย รถ ไป ได้ ราคา มาก กว่า 265,000 บาทเพราะ ขณะ รถ อยู่ ใน ความ ครอบครอง ของ จำเลย ที่ 1 มี สภาพ ใช้ การ ได้ ดีเหมือนเดิม จำเลย ที่ 1 บำรุง รักษา รถ อย่างดี ตลอด เวลา โจทก์ ไม่สามารถนำ รถ ไป ให้ บุคคลภายนอก เช่า ได้ เพราะ โจทก์ ไม่มี วัตถุประสงค์ใน การ ให้ เช่า รถ หาก โจทก์ จะ นำ รถ ไป ให้ บุคคลภายนอก เช่า จะ ได้ ค่าเช่าไม่เกิน เดือน ละ 3,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน91,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา เรื่อง โจทก์ มีสิทธิ ฟ้องคดี นี้ หรือไม่นั้น เห็นว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อ ให้ โจทก์ ดังกล่าวเกิน กำหนด เวลา ที่ ระบุ ไว้ ใน สัญญาเช่าซื้อ ตลอดมา ทุก งวด โดยเฉพาะ ที่จำเลย ที่ 1 ชำระ ครั้งสุดท้าย เมื่อ วันที่ 11 เมษายน 2529 เกิน กำหนดเวลา ชำระ งวด ที่ 9 และ งวด ที่ 10 เกือบ ถึง 1 ปี ทั้ง ไม่ครบ จำนวนค่าเช่าซื้อ งวด ที่ 10 ด้วย แต่ โจทก์ ก็ ยอมรับ โดย ไม่ ทักท้วง ย่อมหมายความ ว่า จน ถึง วันที่ จำเลย ที่ 1 ชำระ ครั้งสุดท้าย เมื่อ วันที่11 เมษายน 2529 สัญญาเช่าซื้อ ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 ยัง ไม่เลิกกัน แม้ ตาม สัญญาเช่าซื้อ จะ ตกลง กัน ไว้ ใน ข้อ 8 มี ใจความ ว่าถ้า จำเลย ที่ 1 ผิดนัด ชำระ ค่าเช่าซื้อ งวด หนึ่ง งวด ใด ยอม ให้ ถือว่าสัญญา นี้ เลิกกัน โดย โจทก์ มิต้อง บอกกล่าว ก่อน และ ใน ข้อ 10 มี ใจความ ว่าถ้า โจทก์ ยอม ผ่อนผัน กรณี ที่ จำเลย ที่ 1 ผิดนัด หรือ ผิดสัญญา ครั้ง ใดอย่างใด ไม่ให้ ถือว่า เป็น การ ผ่อนผัน การ ผิดนัด หรือ ผิดสัญญา ครั้ง อื่นอย่างอื่น ก็ ตาม แต่เมื่อ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อ เกิน กำหนด เวลาและ ครั้งสุดท้าย ชำระ ไม่ครบ จำนวน ดังกล่าว มา แล้ว โจทก์ ก็ ยินยอม รับ ไว้โดย มิทักท้วง พฤติการณ์ แสดง ว่า โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ปฎิบัติ ต่อ กันโดย มิได้ ถือเอา กำหนด เวลา ชำระ ค่าเช่าซื้อ รวมทั้ง จำนวนเงินค่าเช่าซื้อ แต่ละ งวด ตาม สัญญาเช่าซื้อ เป็น สาระสำคัญ อีก ต่อไปดังนั้น กรณี หาก โจทก์ ประสงค์ จะ เลิกสัญญา ก็ จะ ต้อง บอกกล่าว ให้จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 387 ก่อน กล่าว คือ โจทก์ จะ ต้อง กำหนด ระยะเวลา พอสมควรให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อ งวด ที่ ติด ค้าง อยุ่ ต่อเมื่อ จำเลย ที่ 1ไม่ชำระ ภายใน ระยะเวลา ที่ กำหนด นั้น โจทก์ จึง จะ บอกเลิก สัญญา ได้ที่ โจทก์ มี หนังสือ ลงวันที่ 9 มีนาคม 2532 ถึง จำเลย ทั้ง สาม ให้ ชำระค่าเสียหาย ที่ เป็น ค่าขาดประโยชน์ จาก การ ที่ จำเลย ที่ 1 ไม่นำ รถมา ส่งมอบ คืน โจทก์ เป็น เงิน 140,000 บาท และ ราคา รถ ส่วน ที่ ขาย ไปยัง ขาด ค่าเช่าซื้อ อยู่ อีก เป็น เงิน 318,425 บาท แก่ โจทก์ ภายใน7 วัน ตาม ข้อตกลง ใน สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 และ ข้อ 9 นั้น เห็นว่าหนังสือ ดังกล่าว เป็น เพียง หนังสือ ทวงถาม ให้ จำเลย ทั้ง สาม ชำระค่าเสียหาย ที่ เป็น ค่าขาดประโยชน์ จาก การ ที่ จำเลย ที่ 1 ไม่นำ รถ มาส่งมอบ คืน โจทก์ และ ราคา รถ ส่วน ที่ ขาย ไป ยัง ขาด ค่าเช่าซื้อ อยู่ อีก ตามข้อตกลง ใน สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 และ ข้อ 9 เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็น หนังสือ บอกเลิก สัญญา และ ที่ โจทก์ ฎีกา อ้างว่า พนักงาน ของ โจทก์ได้ ไป ติดตาม ทวงถาม ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อ ที่ ค้างชำระ ก่อนที่ โจทก์ จะ ยึด รถ คืน มา แล้วแต่ จำเลย ที่ 1 ไม่สามารถ ชำระ ให้ ได้แม้ จะ ได้ความ ดัง โจทก์ ฎีกา ดังกล่าว ก็ ตาม ก็ ถือไม่ได้ว่า โจทก์ ได้บอกเลิก สัญญาเช่าซื้อ แก่ จำเลย ที่ 1 แล้ว แต่ อย่างไร ก็ ตาม การ ที่โจทก์ ยึด รถ ที่ เช่าซื้อ คืน มาจาก จำเลย ที่ 1 เมื่อ วันที่ 19 มิถุนายน2529 เพราะ เหตุ ที่ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อ เกิน กำหนด เวลา โดยจำเลย ที่ 1 ไม่ได้ โต้แย้ง การ ยึด แต่อย่างใด เป็น พฤติการณ์ ที่ ถือได้ว่า โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 ต่าง ประสงค์ หรือ สมัครใจ เลิกสัญญา เช่าซื้อต่อ กัน แล้ว นับแต่ วันที่ โจทก์ ยึด รถ ที่ เช่าซื้อ คืน โจทก์ จึง มีสิทธิฟ้องคดี นี้ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ ฟ้อง และพิพากษายก ฟ้องโจทก์ ไป เสีย ทีเดียว กัน ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกาโจทก์ ใน ปัญหา ดังกล่าว ฟังขึ้น บางส่วน
มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ต่อไป ว่า จำเลย ทั้ง สาม ต้องร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ที่ เป็น ค่าขาดประโยชน์ และ ราคา รถ ส่วนที่ ขาย ไป ยัง ขาด ค่าเช่าซื้อ ให้ โจทก์ หรือไม่ เพียงใด ปัญหา ดังกล่าวศาลอุทธรณ์ ยัง ไม่ได้ วินิจฉัย ใน ส่วน อุทธรณ์ ของ โจทก์ ที่ ว่า จำเลยทั้ง สาม ต้อง ร่วมกัน ชำระ ราคา รถ ส่วน ที่ ขาย ไป ยัง ขาด ค่าเช่าซื้อ ให้โจทก์ ตาม ฟ้อง หรือไม่ และ ใน ส่วน อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สาม ที่ ว่าจำเลย ทั้ง สาม ไม่ต้อง ร่วมกัน ชำระ ค่า เสียหาย ที่ เป็น ค่าขาดประโยชน์แก่ โจทก์ ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว ไป โดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณา พิพากษา ใหม่ เห็นว่า การ ที่ สัญญาเช่าซื้อ เลิกกัน ดังกล่าว มิใช่ เป็น การ เลิกสัญญา กัน โดย ผล ของ สัญญาเช่าซื้อ เพราะ เหตุ จำเลย ที่ 1 ผิดนัด ชำระ ค่าเช่าซื้อ หรือ ผิดสัญญาเช่าซื้อ แต่อย่างใด แต่ เป็น กรณี ที่ สัญญา เลิกกัน ด้วย เหตุอื่นคู่สัญญา จึง ไม่มี สิทธิ และ หน้าที่ ตาม สัญญา อีก ต่อไป การ ที่ โจทก์ ฟ้องเรียก ราคา รถ ส่วน ที่ ขาย ไป ยัง ขาด ค่าเช่าซื้อ อยู่ โดย อาศัย ข้อ สัญญา ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 9 ซึ่ง ระงับ ไป แล้ว จึง ฟ้อง หาได้ไม่ อุทธรณ์และ ฎีกา โจทก์ ใน ปัญหา นี้ จึง ฟังไม่ขึ้น
สำหรับ ปัญหา ตาม อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สาม ดังกล่าว นั้น เห็นว่าเมื่อ สัญญาเช่าซื้อ เลิกกัน นับแต่ วันที่ โจทก์ ยึด รถ ที่ เช่าซื้อ คืน มาเมื่อ วันที่ 19 มิถุนายน 2529 คู่สัญญา จำต้อง ให้ อีกฝ่าย หนึ่ง ได้ กลับสู่ ฐานะ ดัง ที่ เป็น อยู่ เดิม โดย จำเลย ที่ 1 ผู้เช่าซื้อ ซึ่ง มี หน้าที่จะ ต้อง คืน รถ เพื่อ ให้ โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้ให้เช่าซื้อ กลับคืน สู่ ฐานะ เดิมได้ นั้น จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง ใช้ เงิน เป็น ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ใน การ ใช้ รถของ โจทก์ ใน ระหว่าง ที่ ตน ยัง ไม่ได้ ส่งมอบ รถ คืน ตาม ควร ค่า แห่ง การ นั้น ๆด้วย ทั้งนี้ ตาม นัย แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และ วรรคสาม เมื่อ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อให้ โจทก์ ครบถ้วน เพียง ถึง งวด ที่ 9 ส่วน งวด ที่ 10 ซึ่ง จะ ต้อง ชำระ ภายในกำหนด วันที่ 19 พฤษภาคม 2528 จำเลย ที่ 1 ชำระ ให้ เพียง 540 บาทยัง ชำระ ขาด อยู่ อีก 14,575 บาท โจทก์ ย่อม ได้รับ ความเสียหาย เนื่องจากยัง ไม่ได้ รถ ที่ เช่าซื้อ คืน จาก จำเลย ที่ 1 นับ ตั้งแต่ วันที่19 พฤษภาคม 2528 ถึง วันที่ 19 มิถุนายน 2529 ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ให้จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้ แก่ โจทก์ ซึ่ง โจทก์ ขอ มาเพียง 7 เดือน โดย ให้ เดือน ละ 13,000 บาท รวมเป็น เงินทั้งสิ้น 91,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จน กว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ มา นั้น เป็นค่าเสียหาย ที่ สมควร แล้ว ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ที่ จำเลย ทั้ง สามอุทธรณ์ ใน ปัญหา ที่ ว่า จำเลย ทั้ง สาม ไม่ต้อง ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหายดังกล่าว แก่ โจทก์ จึง ฟังไม่ขึ้น โจทก์ มิได้ อุทธรณ์ ใน ปัญหา นี้แต่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ โจทก์ จึง ฎีกา ได้ เพียง ขอให้ จำเลยทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ส่วน นี้ ให้ โจทก์ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้นเท่านั้น แต่ โจทก์ ฎีกา ขอให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหายส่วน นี้ แก่ โจทก์ เป็น เงิน 140,000 บาท ซึ่ง เกิน ไป กว่า จำนวนเงิน ค่าเสียหาย ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ฎีกา โจทก์ ใน ส่วน ที่ ขอให้ จำเลยทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เกิน ไป กว่า จำนวนเงิน ค่าเสียหายตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น จึง เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ด้วย เหตุผล ดัง วินิจฉัยมา แล้ว จำเลย ทั้ง สาม จึง ต้อง ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ที่ เป็น ค่าขาด ประโยชน์ แก่ โจทก์ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น เท่านั้น ฎีกา โจทก์ใน ปัญหา นี้ ฟังขึ้น บางส่วน
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share