แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
++ เรื่อง ล้มละลาย ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ โจทก์ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 208/2525 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่7 กรกฎาคม 2529 ซึ่งพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 3,353,698.60 บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 75,067.68 บาท และตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน1,400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 73,605.47 บาทกับดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ โจทก์ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยออกขายทอดตลาด จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยว่าไม่ถูกต้องและขอให้ศาลชั้นต้นงดการบังคับคดีไว้ก่อน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2532
++ ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีต่อไปโดยอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2534 โจทก์บังคับคดีได้เงินชำระหนี้บางส่วนยังค้างชำระอยู่ 2,843,377.25 บาท รวมกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 ถึงวันฟ้องเป็นเงิน378,909.15 บาท รวมเป็นเงิน 3,222,286.40 บาท
++
++ มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้หรือไม่
++ โจทก์ฎีกาว่า มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ โจทก์มีสิทธิบังคับคดีจำเลยทั้งสามได้ภายในสิบปีซึ่งจะครบในเดือนเมษายน 2542เนื่องจากจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม2532 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีต่อไปซึ่งได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2534จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีนับแต่วันที่ 16 มกราคม2532 จนถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2534 เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือนเศษซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ควรนำระยะเวลาดังกล่าวมานับรวมในระยะเวลาบังคับคดีของโจทก์ดังนั้น โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ถึงเดือนเมษายน 2542
++
++ศาลฎีกาเห็นว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลาย เป็นมูลหนี้ที่ถึงที่สุดโดยคำพิพากษาศาลฎีกามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2529 โจทก์จึงชอบที่จะนำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสามภายในสิบปีนับแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2529กล่าวคือ จะต้องฟ้องภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2539 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2532 เป็นต้นไปจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงและต่อมาวันที่ 18 ตุลาคม2534 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการบังคับคดีต่อไปนั้น ถึงแม้จะมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2532 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม2534 เป็นเวลานาน 2 ปี 9 เดือนเศษ ที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีได้เพราะเหตุจากคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนของศาลชั้นต้นก็ตาม กรณีดังกล่าวก็หาเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตาม 193/14 ไม่
++
++ อนึ่ง คดีนี้โจทก์ได้ใช้สิทธิในการบังคับคดีแล้ว เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยทั้งสามยังค้างชำระหนี้โจทก์ตามฟ้อง โจทก์จึงทราบแล้วว่าโจทก์สามารถฟ้องคดีล้มละลายแก่จำเลยทั้งสามนับแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม2539 ซึ่งเป็นเวลานานหลายเดือนเพียงพอที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายได้แต่โจทก์กลับไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2539 จึงพ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นมูลที่จะนำมาฟ้องคดีล้มละลายขาดอายุความแล้ว จึงเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยทั้งสามล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ++
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๒๐๘/๒๕๒๕ ของศาลชั้นต้น ซึ่งพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน๓,๓๕๓,๖๙๘.๖๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย ๗๕,๐๖๗.๖๘ บาท และตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน ๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย ๗๓,๖๐๕.๔๗ บาทกับดอกเบี้ยร้อยละ ๑๙ ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดเอาเงินที่ได้มาชำระหนี้โจทก์จนครบคดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยทั้งสามไม่ชำระ โจทก์ดำเนินการบังคับคดีโดยยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดรวม ๒ ครั้ง ได้เงินสุทธิไม่พอชำระหนี้ หนี้ถึงวันฟ้องคิดเป็นเงินรวม ๓,๒๒๓,๗๘๖.๔๐ บาทโจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามแล้ว ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้โจทก์ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสามเด็ดขาด และพิพากษาให้จำเลยทั้งสามล้มละลาย
จำเลยทั้งสามให้การว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๓๒ เนื่องจากมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องนี้ ศาลฎีกามีคำพิพากษาลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม๒๕๒๙ โดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม๒๕๒๙ ถือว่าคดีถึงที่สุดเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๒๙ โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ จึงเกินกว่า ๑๐ ปี แล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยทั้งสามมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าว จำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสามเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๔ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยหักจากกองทรัพย์สินของจำเลยทั้งสาม เฉพาะค่าทนายความให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดตามที่เห็นสมควร
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๒๐๘/๒๕๒๕ ของศาลชั้นต้น ซึ่งพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน๓,๓๕๓,๖๙๘.๖๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย ๗๕,๐๖๗.๖๘ บาท และตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน ๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย ๗๓,๖๐๕.๔๗ บาทกับดอกเบี้ยร้อยละ ๑๙ ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเอาเงินที่ได้มาชำระหนี้ หากไม่ครบให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดเอาเงินที่ได้มาชำระหนี้ กับให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ ๔๐,๐๐๐ บาทศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต่อมาจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงดำเนินการบังคับคดีโดยยึดทรัพย์จำนองคือที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๐ ตำบลน้ำอ้อม อำเภอกันทรลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ ออกขายทอดตลาดในวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๖ เมื่อหักค่าธรรมเนียมการบังคับคดีแล้ว เหลือเงินสุทธิชำระหนี้โจทก์จำนวน๕,๖๑๐,๐๐๐ บาท จำเลยทั้งสามคงค้างชำระหนี้โจทก์จำนวน๓,๒๗๔,๙๒๑.๑๘ บาท โจทก์จึงดำเนินการบังคับคดีโดยยึดทรัพย์จำนองคือที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑ ตำบลน้ำอ้อม อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษออกขายทอดตลาดในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ เมื่อหักค่าธรรมเนียมการบังคับคดีแล้ว เหลือเงินสุทธิชำระหนี้โจทก์จำนวน ๖,๔๒๓,๗๕๔ บาทจำเลยทั้งสามยังคงค้างชำระหนี้โจทก์จำนวน ๒,๘๔๓,๓๗๗.๒๕ บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๑๙ ต่อปี นับแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ ถึงวันฟ้องคิดเป็นดอกเบี้ย ๓๗๘,๙๐๙.๑๕ บาท รวมเป็นเงิน ๓,๒๒๒,๒๘๖.๔๐ บาทนอกจากนี้จำเลยทั้งสามต้องใช้ค่าทนายความในชั้นฎีกาแทนโจทก์อีก๑,๕๐๐ บาท โจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามมีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้โจทก์ได้
จำเลยทั้งสามนำสืบว่า ปัจจุบันจำเลยที่ ๑ ไม่ได้ประกอบอาชีพ จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ประกอบอาชีพซื้อขายพืชไร่และปุ๋ยที่อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ยังสามารถชำระหนี้โจทก์ได้
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๒๐๘/๒๕๒๕ ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่๗ กรกฎาคม ๒๕๒๙ ซึ่งพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน ๓,๓๕๓,๖๙๘.๖๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน ๗๕,๐๖๗.๖๘ บาท และตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน ๗๓,๖๐๕.๔๗ บาทกับดอกเบี้ยร้อยละ ๑๙ ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ โจทก์ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยออกขายทอดตลาด จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยว่าไม่ถูกต้องและขอให้ศาลชั้นต้นงดการบังคับคดีไว้ก่อน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๒ ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค ๑มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีต่อไปโดยอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๓๔ โจทก์บังคับคดีได้เงินชำระหนี้บางส่วนยังค้างชำระอยู่ ๒,๘๔๓,๓๗๗.๒๕ บาท รวมกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ๑๙ ต่อปี นับแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ ถึงวันฟ้องเป็นเงิน๓๗๘,๙๐๙.๑๕ บาท รวมเป็นเงิน ๓,๒๒๒,๒๘๖.๔๐ บาท มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้หรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ โจทก์มีสิทธิบังคับคดีจำเลยทั้งสามได้ภายในสิบปีซึ่งจะครบในเดือนเมษายน ๒๕๔๒เนื่องจากจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม๒๕๓๒ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีต่อไปซึ่งได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๓๔จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีนับแต่วันที่ ๑๖ มกราคม๒๕๓๒ จนถึงวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๓๔ เป็นเวลา ๒ ปี ๙ เดือนเศษซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ควรนำระยะเวลาดังกล่าวมานับรวมในระยะเวลาบังคับคดีของโจทก์ดังนั้นโจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ถึงเดือนเมษายน ๒๕๔๒ ศาลฎีกาเห็นว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลาย เป็นมูลหนี้ที่ถึงที่สุดโดยคำพิพากษาศาลฎีกามีอายุความ ๑๐ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๓๒ ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๒๙ โจทก์จึงชอบที่จะนำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสามภายในสิบปีนับแต่วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๒๙กล่าวคือ จะต้องฟ้องภายในวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๙ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๒ เป็นต้นไปจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงและต่อมาวันที่ ๑๘ ตุลาคม๒๕๓๔ ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ซึ่งพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการบังคับคดีต่อไปนั้น ถึงแม้จะมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๒ ถึงวันที่ ๑๘ ตุลาคม๒๕๓๔ เป็นเวลานาน ๒ ปี ๙ เดือนเศษ ที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีได้เพราะเหตุจากคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนของศาลชั้นต้นก็ตาม กรณีดังกล่าวก็หาเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตาม ๑๙๓/๑๔ ไม่ อนึ่ง คดีนี้โจทก์ได้ใช้สิทธิในการบังคับคดีแล้ว เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ ซึ่งปรากฏว่าจำเลยทั้งสามยังค้างชำระหนี้โจทก์ตามฟ้อง โจทก์จึงทราบแล้วว่าโจทก์สามารถฟ้องคดีล้มละลายแก่จำเลยทั้งสามนับแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ จนถึงวันที่ ๗ กรกฎาคม๒๕๓๙ ซึ่งเป็นเวลานานหลายเดือนเพียงพอที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายได้แต่โจทก์กลับไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ จึงพ้นกำหนด ๑๐ ปี หนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นมูลที่จะนำมาฟ้องคดีล้มละลายขาดอายุความแล้ว จึงเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยทั้งสามล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓มาตรา ๑๔ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นอีก เนื่องจากไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง
พิพากษายืน ค่าทนายความชั้นฎีกาให้เป็นพับ.