แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เมื่อจำเลยคัดค้านคำร้องขอของโจทก์ที่ขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกากรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ทวิที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตจึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี กับ โจทก์ตกลง จะ ให้ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 16.5 ต่อ ปี เป็น วงเงิน เบิก เกินบัญชี ทั้งสิ้น 12,500,000 บาท ต่อมา วันที่ 14 กันยายน 2535จำเลย ที่ 1 ทำ หนังสือ สัญญา ขาย ชัก ส่วนลด เช็ค กับ โจทก์ โดย นำ เช็ค ที่สั่งจ่าย เงิน จำนวน 1,200,000 บาท มา ขาย ให้ แก่ โจทก์ เพื่อ เป็นหลักประกัน จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ จำนอง ที่ดิน 4 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ใน จังหวัด เชียงใหม่ ไว้ แก่ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ยัง ได้มา ทำ หนังสือ สัญญา สิทธิ และ ยินยอม ให้ โจทก์ หักเงิน ฝาก จำนวน11,000,000 บาท ประกันหนี้ ไว้ ด้วย หลังจาก ทำ สัญญา แล้ว จำเลย ที่ 1ได้ เบิกเงินเกินบัญชี และ รับ เงิน ไป ตาม สัญญา ขาย ชัก ส่วนลด เช็คเมื่อ หัก ทอน ทาง บัญชี แล้ว จำเลย ที่ 1 ยัง เป็น หนี้ ทั้ง สอง สัญญา จน ถึงวันฟ้อง เป็น เงิน 8,947,558.69 บาท ขอให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย หาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ชำระ หนี้หรือ ชำระหนี้ ไม่ครบ ให้ ยึดทรัพย์ จำนอง และ ทรัพย์สิน อื่น ของ จำเลยทั้ง สอง ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา ชำระหนี้ ให้ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ได้ มอบอำนาจ ให้ ฟ้องคดี กันถูกต้อง โจทก์ คิด ดอกเบี้ย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดย คิด ดอกเบี้ย เกินกว่าอัตรา ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้ ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี จำเลย ที่ 2ค้ำประกัน หนี้ ของ จำเลย ที่ 1 ใน วงเงิน เพียง 500,000 บาท ไม่ต้องรับผิด เกินกว่า นี้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ ให้โจทก์ จำนวน 8,947,558.69 บาท พร้อม ดอกเบี้ย โดย ให้ จำเลย ที่ 2รับผิด ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 เป็น เงิน 500,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยหาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ชำระ หนี้ ให้ ยึดทรัพย์ จำนอง ออก ขายทอดตลาด นำ เงินมา ชำระหนี้ ให้ โจทก์ หาก ยัง ไม่พอ ชำระหนี้ ให้ ยึดทรัพย์สิน อื่น ของ จำเลยทั้ง สอง ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา ชำระหนี้ ตาม ส่วน ที่ ตนเองต้อง รับผิด ดังกล่าว ข้างต้น ให้ แก่ โจทก์ จน ครบถ้วน
โจทก์ ยื่น คำร้องขอ อนุญาต ยื่น อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรง ต่อ ศาลฎีกา พร้อม คำฟ้อง อุทธรณ์ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ อุทธรณ์และ อนุญาต ให้ ยื่น โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ โจทก์ ยื่น คำร้องขอ อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา แต่ จำเลย คัดค้าน คำร้องขอ อนุญาตยื่น อุทธรณ์ โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา ของ โจทก์ กรณี จึง ไม่ต้อง ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ที่ ศาลชั้นต้นจะ มี คำสั่ง อนุญาต ให้ ยื่น อุทธรณ์ โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา ได้ การ ที่ ศาลชั้นต้นมี คำสั่ง อนุญาต ให้ โจทก์ อุทธรณ์ โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา ได้ และ รับ อุทธรณ์โจทก์ ส่ง ไป ให้ ศาลฎีกา จึง เป็น การ ขัด ต่อ บท กฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจ จะ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ โจทก์ ได้
พิพากษายก คำสั่งศาล ชั้นต้น ที่ อนุญาต ให้ โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ โดยตรงต่อ ศาลฎีกา และ ให้ ศาลชั้นต้น สั่ง อุทธรณ์ ของ โจทก์ ใหม่