แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยยึดทรัพย์โจทก์ ซึ่งในคดีนั้นศาลยกฟ้อง แต่ฟ้องมิได้ระบุกรณีที่จำเลยจะต้องรับผิด ดังบัญญัติไว้ในวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.263 (1) ดังนี้ถือว่าขาดข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้จำเลยต้องรับผิดศาลต้องยกฟ้อง
ย่อยาว
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยให้ค่าเสียหาย เนื่องจากจำเลยยึดทรัพย์ของโจทก์
ศาลชั้นต้นเห็นว่า การที่ขายต๋อยจำเลยยึดทรัพย์โจทก์นั้น ก็เพราะโจทก์ถูกฟ้องคดีอาญา ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษและให้ใช้คืนทรัพย์ให้โจทก์ จำเลยจึงยึดทรัพย์ตามคำพิพากษาได้ การกระทำของจำเลยเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว นอกจากนี้ ฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้กล่าวว่า จำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ หรือ+ใช้ศาลเป็นเครื่องกำบังใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงไม่มีประเด็นสืบให้จำเลยรับผิด พิพากษายกฟ้องโจทก์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าอำนาจยึดทรัพย์ของจำเลยย่อมหมดไป เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้อง แต่จำเลยก็ยัง+ให้ยึดทรัพย์ของโจทก์ต่อไป ซึ่งอาจต้องรับผิดตาม ม.๒๖๓ (๑) ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งได้ พิพากษากลับให้ศาลชั้นต้นสืบพะยานแล้วพิพากษาใหม่
จำเลยฎีกา,ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยอาจรับผิดในการที่ยังคงให้ยึดทรัพย์ของโจทก์ ในเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องแล้วก็จริง แต่คดีนี้ โจทก์มิได้บรรยายข้อความที่เป็นละเมิดตาม ป.ม. วิธีพิจารณาความแพ่ง ม.๒๖๓ (๑) ซึ่งตามมาตรานี้จำเลยจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อศาลมีความเห็นลงไป โดยความผิดหรือเลินเล่อของจำเลย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้จำเลยต้องรับผิด พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ยกฟ้องโจทก์