แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าขาดไร้อุปการะและค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตที่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั้นจะต้องแยกชำระให้แก่โจทก์แต่ละคนตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดปรากฎว่าโจทก์ที่2ถึงที่5ที่7และที่8ได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะและค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตเป็นจำนวนคนละไม่เกินสองแสนบาทคดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยที่1ถึงที่3ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์กำหนดให้จ่ายค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่2ถึงที่5ที่7และค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตให้โจทก์ที่8มากเกินสมควรเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนสำหรับการขาดไร้อุปการะเพราะเหตุบิดามารดาบุตรหรือสามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายโดยการทำละเมิดของบุคคลภายนอกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ชอบที่จะได้รับค่าอุปการะทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยผลแห่งกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสามประกอบด้วยมาตรา1461,1563และ1564ไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายกับผู้ขาดไร้อุปการะจะอุปการะกันจริงหรือไม่และในอนาคตจะอุปการะกันหรือไม่ผู้ขาดไร้อุปการะจะมีฐานะดีหรือยากจนก็ไม่ใช่ข้อสำคัญสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสำหรับการขาดไร้อุปการะคงมีอยู่เสมอ
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง สี่ สำนวน ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น บิดา โจทก์ ที่ 2เป็น มารดา โจทก์ ที่ 3 เป็น สามี โจทก์ ที่ 4 เป็น บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมายของ นาง สายสุนีย์ โจทก์ ที่ 5 เป็น มารดา โจทก์ ที่ 7 เป็น ภริยา โจทก์ ที่ 6 เป็น บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย ชอุ่ม เมื่อ วันที่ 9 กันยายน 2531 จำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ได้ ขับ รถยนต์โดยสารคัน เกิดเหตุ ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 และ ใน การ ประกอบ กิจการ เดินรถ ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถมา ถึง ที่เกิดเหตุ บน ถนน พหลโยธิน ด้วย ความประมาท เป็นเหตุ ให้ ชน รถพยาบาล ซึ่ง มี โจทก์ ที่ 8 เป็น ผู้ขับ บรรทุก นาย ชอุ่ม ผู้ป่วย กับ โจทก์ ที่ 7 พร้อม นาง สายสุนีย์ พยาบาล ประจำ รถ ทำให้ นายชอุ่ม นาง สายสุนีย์ ถึงแก่ความตาย โจทก์ ที่ 7 และ ที่ 8 ได้รับ บาดเจ็บ สาหัส ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหายโจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 4 เป็น เงิน 1,000,000 บาท โจทก์ ที่ 5 ถึง ที่ 7(ใน สำนวน ที่ สอง ) เป็น เงิน 1,000,000 บาท โจทก์ ที่ 7 (ใน สำนวน ที่ สาม )เป็น เงิน 200,000 บาท โจทก์ ที่ 8 (ใน สำนวน ที่ สี่ ) เป็น เงิน200,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ ถัด จากวันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ใจความ ว่า โจทก์ ที่ 1และ ที่ 2 มิได้ เป็น บิดา มารดา ของ นาง สายสุนีย์ โจทก์ ที่ 3 มิได้ เป็น สามี โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาง สายสุนีย์ โจทก์ ที่ 4 มิได้ เป็น บุตร ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาง สายสุนีย์ โจทก์ ที่ 5 มิได้ เป็น มารดา ของ นาย ชอุ่ม โจทก์ ที่ 6 มิได้ เป็น บุตร ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย ชอุ่ม และ โจทก์ ที่ 7 มิได้ เป็น ภริยา ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย ชอุ่ม จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 มิได้ เป็น เจ้าของ ผู้ครอบครอง ใช้ ประโยชน์ใน รถยนต์โดยสาร คัน เกิดเหตุ และ มิได้ เป็น นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 4เหตุ มิได้ เกิดจาก ความประมาท เลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 4 ค่าเสียหายที่ โจทก์ เรียกร้อง มา สูง เกิน ไป นาง สายสุนีย์ ไม่ได้ อุปการะ เลี้ยงดู โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ นาย ชอุ่ม ก็ มิได้ อุปการะ เลี้ยงดู โจทก์ ที่ 5ถึง ที่ 7 จึง ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 4 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนแก่ โจทก์ ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ใน สำนวน แรก เป็น เงิน 702,705 บาทโจทก์ ที่ 5 ที่ 6 ที่ 7 ใน สำนวน คดี ที่ สอง เป็น เงิน 629,000 บาทโจทก์ ที่ 7 ใน สำนวน ที่ สาม เป็น เงิน 110,150 บาท โจทก์ ที่ 8ใน สำนวน ที่ สี่ เป็น เงิน 150,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน แต่ละ สำนวน นับ ตั้งแต่ วันที่ 5 กันยายน 2532ซึ่ง เป็น วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ยกฟ้องโจทก์ ที่ 1 ใน สำนวน แรก
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 4 เป็น เงิน 582,705 บาทโจทก์ ที่ 5 ถึง ที่ 7 เป็น เงิน 610,150 บาท นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็นไป ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา ตรวจ สำนวน ประชุม ปรึกษา แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าตาม วัน เวลา และ สถานที่เกิดเหตุ ใน ฟ้อง จำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็น ลูกจ้างได้ ขับ รถยนต์โดยสาร คัน เกิดเหตุ ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 และ ใน การ ประกอบ กิจการ เดินรถ ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ด้วย ความประมาท เลินเล่อ เป็นเหตุ ให้ ชน รถพยาบาล ซึ่ง มี โจทก์ ที่ 8 เป็น คนขับบรรทุก นาย ชอุ่ม ผู้ป่วย และ โจทก์ ที่ 7 ภริยา ของ นาย ชอุ่ม กับ นาง สายสุนีย์ ถึงแก่ความตาย โจทก์ ที่ 7 กับ โจทก์ ที่ 8 ได้รับ บาดเจ็บ สาหัส ศาลอุทธรณ์ ได้ กำหนด ค่าสินไหมทดแทน เกี่ยวกับค่า ขาดไร้อุปการะ ให้ โจทก์ ที่ 2 มารดา ของ นาง สายสุนีย์ เป็น เงิน 120,000 บาท โจทก์ ที่ 3 สามี ของ นาง สายสุนีย์ เป็น เงิน 180,000 บาท โจทก์ ที่ 4 บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาง สายสุนีย์ เป็น เงิน 188,750 บาท โจทก์ ที่ 5 มารดา ของ นาย ชอุ่ม เป็น เงิน 72,000 บาท โจทก์ ที่ 6 บุตร ของ นาย ชอุ่ม เป็น เงิน 248,750 บาท โจทก์ ที่ 7ภริยา ของ นาย ชอุ่ม เป็น เงิน 180,000 บาท และ โจทก์ ที่ 8 ได้รับ ค่าเสียหาย ที่ ต้อง ทุพพลภาพ ตลอด ชีวิต เป็น เงิน 104,430 บาทส่วน ค่าเสียหาย อื่น ๆ นอกจาก นี้ จำเลย ทั้ง สี่ ยอมรับ ผิด ตาม ที่ศาลอุทธรณ์ กำหนด สำหรับ โจทก์ ที่ 1 ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่าไม่มี อำนาจฟ้อง คดีถึงที่สุด ไป แล้ว คง มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาของ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ใน ชั้น นี้ ว่า ศาลอุทธรณ์ กำหนด ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับ ค่า ขาดไร้อุปการะ ให้ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 7 และ ค่า ที่ ต้องทุพพลภาพ ตลอด ชีวิต ให้ โจทก์ ที่ 8 มาก เกิน ไป หรือไม่ และ ศาลฎีกาวินิจฉัย ว่า ค่าสินไหมทดแทน เกี่ยวกับ ค่า ขาดไร้อุปการะ และ ค่า ที่ต้อง ทุพพลภาพ ตลอด ชีวิต ที่ จำเลย ทั้ง สี่ ซึ่ง เป็น ลูกหนี้ ร่วม จะ ต้องรับผิด ชดใช้ แก่ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 8 นี้ จะ ต้อง แยก ชำระ ให้ แก่ โจทก์แต่ละ คน ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ กำหนด ปรากฏว่า โจทก์ ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4ที่ 5 ที่ 7 และ ที่ 8 ได้รับ ค่าสินไหมทดแทน เป็น ค่า ขาดไร้อุปการะและ ค่า ที่ ต้อง ทุพพลภาพ ตลอด ชีวิต เป็น จำนวน คน ละ ไม่เกิน สอง แสน บาทคดี จึง ต้องห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ กำหนด ให้ จ่าย ค่า ขาดไร้อุปการะ ให้ โจทก์ ที่ 2ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 และ ค่า ที่ ต้อง ทุพพลภาพ ตลอด ชีวิต ให้โจทก์ ที่ 8 มาก เกินสมควร เป็น การ ไม่ชอบ นั้น เป็น ฎีกา โต้เถียง ดุลพินิจของ ศาลอุทธรณ์ ใน การ กำหนด ค่าสินไหมทดแทน จึง เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงต้องห้าม ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว ข้างต้น ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
ที่ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ฎีกา ว่า การ กำหนด ค่า ขาดไร้อุปการะจะ ต้อง ปฏิบัติ ตาม เจตนารมณ์ ของ กฎหมาย ไป ตาม ข้อเท็จจริง ตาม ประเพณีและ เป็น ไป ด้วย ความยุติธรรม ซึ่ง หาก ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า ผู้ตายมี รายได้ ไม่ เพียงพอ ที่ จะ ให้ ค่า อุปการะ เลี้ยงดู ใน ขณะที่ มี ชีวิต อยู่หรือไม่ เคย ให้ เมื่อ ถึงแก่ความตาย ผู้เป็น ทายาท จะ มา เรียกร้องเอา ค่า ขาดไร้อุปการะ จาก ผู้กระทำ ละเมิด ย่อม เป็น การ ขัด ต่อ เจตนารมณ์ของ กฎหมาย นั้น เห็นว่า ใน เรื่อง ความรับผิด ใน ค่าสินไหมทดแทน สำหรับการ ขาดไร้อุปการะ เพราะ เหตุ บิดา มารดา บุตร หรือ สามี ภริยา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถึงแก่ความตาย โดย การกระทำ ละเมิด ของ บุคคลภายนอก ฝ่าย ที่ ยังมี ชีวิต อยู่ ชอบ ที่ จะ ได้รับ ค่า อุปการะ ทั้ง ใน ปัจจุบัน และ อนาคตโดย ผล แห่งกฎหมาย ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 443 วรรคสาม ประกอบ ด้วย มาตรา 1461, 1563 และ 1564ไม่ต้อง พิจารณา ว่า ขณะ เกิดเหตุ ผู้ตาย กับ ผู้ขาดไร้อุปการะ จะ อุปการะกัน จริง หรือไม่ และ ใน อนาคต จะ อุปการะ กัน หรือไม่ ผู้ขาดไร้อุปการะจะ มี ฐานะ ดี หรือ ยากจน ก็ ไม่ใช่ ข้อสำคัญ สิทธิ ที่ จะ เรียกร้องค่าสินไหมทดแทน สำหรับ การ ขาดไร้อุปการะ คง มี อยู่ เสมอ และ ศาลฎีกาฟัง ข้อเท็จจริง ว่า ศาลอุทธรณ์ กำหนด ค่า ขาดไร้อุปการะ ให้ โจทก์ ที่ 6เหมาะสม แล้ว
อนึ่ง ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ใน สำนวน แรกให้ โจทก์ ที่ 4 ได้รับ ค่า ขาดไร้อุปการะ ใน อัตรา เดือน ละ 1,250 บาทเป็น เวลา 12 ปี 7 เดือน จนกว่า จะ บรรลุนิติภาวะ และ พิพากษา ในสำนวน ที่ สอง ให้ ค่า ขาดไร้อุปการะ โจทก์ ที่ 5 จำนวน 72,000 บาทโจทก์ ที่ 6 จำนวน 248,750 บาท และ โจทก์ ที่ 7 จำนวน 180,000 บาทแต่ ที่ ศาลอุทธรณ์ คิด คำนวณ ยอดเงิน รวม ค่า ขาดไร้อุปการะ โจทก์ ที่ 4จำนวน 226,500 บาท ค่า ขาดไร้อุปการะ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 4 จำนวน รวม526,500 บาท และ เมื่อ รวมกับ ค่าใช้จ่าย ใน การ ทำ ศพ นาง สายสุนีย์ อีก จำนวน 56,205 บาท แล้ว เป็น เงิน รวม 482,705 บาท ค่า ขาดไร้อุปการะโจทก์ ที่ 5 ถึง ที่ 7 จำนวน รวม 500,000 บาท และ เมื่อ รวมกับค่ารักษาพยาบาล และ ค่า เสียโฉม จำนวน 110,150 บาท เป็น เงิน รวม610,150 บาท นั้น ยัง ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกา เห็นสมควร แก้ไข ให้ ถูกต้อง
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำนวน ค่า ขาดไร้อุปการะ ของ โจทก์ ที่ 4ใน สำนวน แรก เป็น เงิน 188,750 บาท รวมเป็น ค่า ขาดไร้อุปการะ ของโจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 4 จำนวน 488,750 บาท รวมกับ ค่าใช้จ่าย ใน การ ทำ ศพนาง สายสุนีย์ จำนวน 56,205 บาท จำเลย ทั้ง สี่ ต้อง ร่วมกัน รับผิด ต่อ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 4 เป็น เงิน 544,955 บาท และ ยอดเงิน รวม ที่จำเลย ทั้ง สี่ จะ ต้อง ร่วมกัน ชดใช้ ค่า ขาดไร้อุปการะ ให้ แก่ โจทก์ ที่ 5ถึง ที่ 7 ใน สำนวน ที่ สอง เป็น เงิน 500,750 บาท และ เมื่อ รวมกับค่ารักษาพยาบาล และ ค่า เสียโฉม จำนวน 110,150 บาท เป็น เงิน 610,900 บาทนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ ให้ยก ฎีกา ของจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ โจทก์ ที่ 8