แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นเจ้าของเรือยนต์ที่ไปทำละเมิดจำเลยที่2เป็นผู้ครอบครองเรือยนต์ที่ก่อเหตุละเมิดแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา425และมาตรา437วรรคแรกมิได้บัญญัติให้เจ้าของเรือยนต์ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นด้วยจึงขอบังคับให้จำเลยที่1ชดใช้ค่าเสียหายด้วยไม่ได้ส่วนความรับผิดของจำเลยที่2นั้นตามคำฟ้องโจทก์เพียงแต่บรรยายว่าลูกจ้างที่ยังไม่ทราบชื่อของจำเลยที่2ได้ขับเรือแล่นไปชนเรือของโจทก์โดยมิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ที่ขับเรือไปชนนั้นกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่2ทั้งข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่1และจำเลยที่2มิได้อยู่ในเรือที่ก่อเหตุด้วยแม้จะได้บันทึกประจำวันว่าจำเลยที่2เป็นผู้ครอบครองก็ไม่ทำให้ต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้ครอบครองจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิด
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า ลูกจ้าง ที่ ยัง ไม่ทราบ ชื่อ ของ จำเลยที่ 2 ได้ ขับ เรือยนต์ มรกต 2 ด้วย ความประมาท มา เฉี่ยว ชน เรือยนต์ของ โจทก์ ใน เส้นทาง เดิน เรือ ของ โจทก์ ทำให้ เรือยนต์ โจทก์ได้รับ ความเสียหาย จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ เจ้าของ เรือยนต์ มรกต 2และ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้ครอบครอง เรือยนต์ มรกต 2 ต้อง ร่วมกัน รับผิดชดใช้ ค่าซ่อมแซม เรือ และ ค่าเสียหาย ที่ ไม่สามารถ ใช้ เรือประกอบ อาชีพ ขอ บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน จำนวน 100,000 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องจนกว่า ชำระ เสร็จ และ ค่าขาดประโยชน์ อีก วัน ละ 1,000 บาท นับแต่วันฟ้อง จนกว่า โจทก์ จะ ได้ ใช้ เรือ ตาม ปกติ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า เหตุ ที่ เรือ ชนกัน เป็น เพราะ ความประมาท ของ โจทก์ เรือ ของ โจทก์ มี ราคา ซื้อ ขาย เพียง 50,000 บาทและ ขาด ประโยชน์ เดือน ละ ไม่ถึง 2,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ประเด็น ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์มี ว่า คำฟ้อง ของ โจทก์ มี สภาพ บังคับ ขอให้ จำเลย ทั้ง สอง รับผิด ชดใช้ค่าเสียหาย ได้ หรือไม่ โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของเรือยนต์ ที่ ไป กระทำการ ละเมิด จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ครอบครอง เรือยนต์ที่ ก่อเหตุ ละเมิด โดย ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ขับ เรือยนต์ ไป ชนเรือยนต์ ของ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ข้อ นี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 บัญญัติ ว่า นายจ้าง ต้อง ร่วมรับผิด กับ ลูกจ้าง ใน ผล แห่ง ละเมิด ซึ่ง ลูกจ้าง ได้ กระทำ ไป ใน ทางการ ที่จ้าง นั้น และ ตาม มาตรา 437 วรรคแรก บัญญัติ ว่า บุคคล ใด ครอบครองหรือ ควบคุม ดูแล ยานพาหนะ อย่างใด ๆ อัน เดิน ด้วย กำลัง เครื่องจักรกลบุคคล นั้น จะ ต้อง รับผิดชอบ เพื่อ การ เสียหาย อัน เกิด แต่ ยานพาหนะ นั้นกฎหมาย มิได้ บัญญัติ ให้ เจ้าของ เรือยนต์ ต้อง ร่วมรับผิด ใน ผล แห่ง ละเมิดนั้น ด้วย จึง ขอ บังคับ ให้ จำเลย ที่ 1 ชดใช้ ค่าเสียหาย ด้วย ไม่ได้ส่วน ความรับผิด ของ จำเลย ที่ 2 นั้น ตาม คำฟ้อง โจทก์ เพียงแต่ บรรยาย ว่าลูกจ้าง ที่ ยัง ไม่ทราบ ชื่อ ของ จำเลย ที่ 2 ได้ ขับ เรือ แล่น ไป ชน เรือ ของโจทก์ โดย มิได้ บรรยาย ให้ เห็นว่า ผู้ที่ ขับ เรือ ไป ชน นั้น กระทำการใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ทั้ง ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ว่า ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 2มิได้ อยู่ ใน เรือ ที่ ก่อเหตุ ด้วย แม้ จะ ได้ บันทึก ประจำวัน ว่าจำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ครอบครอง ก็ ไม่ทำ ให้ ต้อง รับผิด ใน ฐานะเป็น ผู้ครอบครอง จำเลย ทั้ง สอง จึง ไม่ต้อง รับผิด
พิพากษายืน