คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คดีอุกฉกรรจ์มีโทษหนักถึง ประหารชีวิต พยานหลักฐานโจทก์จะต้องชัดแจ้งหนักแน่นมั่นคงโดยไม่มีข้อตำหนิใดๆให้เป็นที่ประจักษ์ได้เมื่อโจทก์ ไม่มีประจักษ์พยานคงมีแต่พยานเหตุผลแวดล้อมกรณีซึ่งเบิกความไม่สอดคล้องกันจึงไม่น่าเชื่อถือประกอบกับจำเลยให้ การปฏิเสธตลอดมาตั้งแต่ต้นคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ชิงทรัพย์ของนาง บุญส่งพิมลศรีผู้ตายโดยจำเลยใช้มีดปลายแหลมที่ติดตัวแทงผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเพื่อความสะดวกในการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก2ปีฐานลักทรัพย์ขอให้ลงโทษและเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288,289,339,93(12)ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนจำนวน12,000บาทแก่ผู้เสียหาย
จำเลยให้การปฏิเสธแต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288,289(7),339วรรคท้ายซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา289(7)ให้ลงโทษประหารชีวิตให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนจำนวน12,000บาทแก่ผู้เสียหายสำหรับที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษนั้นเมื่อลงโทษจำเลยถึงประหารชีวิตซึ่งเป็นโทษสูงสุดแล้วจึงไม่จำต้องเพิ่มโทษอีกคำขอส่วนนี้จึงให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า”ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องมีคนร้ายชิงเอาทรัพย์ของผู้ตายและใช้มีดแทงผู้ตายถึงแก่ความตายตามที่โจทก์ฟ้องคดีมีปัญหาตามฎีกาจำเลยว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้หรือไม่โจทก์นำสืบเป็นทำนองว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยเดินมาตามชายคลอง ชวดชะโดผ่านบ้านนาง ปราณีกล่อมดี ไปทางบ้านผู้ตายหลังจากจำเลยชิงเอาทรัพย์และใช้มีดแทงทำร้ายผู้ตายแล้วจำเลยออกจากบ้านผู้ตายเดินย้อนกลับมาทางเดิมแต่โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะผู้ตายถูกทำร้ายชิงทรัพย์คงได้ความจากคำเบิกความพยานโจทก์คือนาง ปราณีและเด็กหญิง นงลักษณ์บุญรักษ์บุตรของนาง ปราณีต้องกันว่าวันเกิดเหตุเวลาประมาณ7นาฬิกานาง ปราณีกำลังหุงข้าวอยู่ในครัวส่วนเด็กหญิง นงลักษณ์กำลังซักผ้าอยู่ที่ริมคลองหน้าบ้านจากคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองปากดังกล่าวฟังได้ว่าขณะที่นาง ปราณีหุงข้าวอยู่ก็ดีและขณะเด็กหญิง นงลักษณ์ซักผ้าก็ดีเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกันและใกล้เคียงกันประกอบที่ครัวที่นางปราณีหุงข้าวกับริมคลองที่เด็กหญิง นงลักษณ์ซักผ้าอยู่ไม่ไกลกันจึงน่าจะเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สอดคล้องไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันกล่าวคือน่าจะต่างเห็นจำเลยเดินถือมีดผ่านไปทั้งขาไปและขากลับแต่พยานโจทก์ทั้งสองปากนี้กลับเบิกความไม่สอดคล้องกันกล่าวคือเด็กหญิง นงลักษณ์เห็นเฉพาะตอนที่จำเลยเดินถือมีดผ่านไปทางบ้านผู้ตายเท่านั้นส่วนนาง ปราณีก็เห็นเฉพาะตอนที่จำเลยเดินถือมีดเปื้อนโลหิตมาจากทางบ้านผู้ตายผ่านไปเท่านั้นดังนี้จึงไม่สนิทใจที่จะฟังว่าพยานโจทก์ทั้งสองปากนี้จะได้เห็นจำเลยดังที่เบิกความพยานโจทก์คือพันตำรวจโท อนุศักดิ์ พรหมนะ พนักงานสอบสวนเบิกความว่าวันเกิดเหตุหลังจากได้รับแจ้งเหตุแล้วได้ไปยังที่เกิดเหตุแต่จากคำเบิกความของเด็กหญิงนงลักษณ์ และนาง ปราณีไม่ได้ความว่าได้บอกเรื่องที่เห็นจำเลยดังที่เบิกความข้างต้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่มาตรวจที่เกิดเหตุแต่อย่างใดแต่กลับได้ความจากคำเบิกความของนาง ปราณีว่าวันเกิดเหตุได้ไปที่สถานีตำรวจกับเด็กหญิง นงลักษณ์ แต่ไม่ได้แจ้งเหตุที่เกิดขึ้นให้ทราบเพราะเจ้าพนักงานตำรวจไม่ยอมสอบคำให้การทั้งที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้มารับไปสถานีตำรวจจากคำเบิกความของพันตำรวจโท อนุศักดิ์ก็ไม่ได้ความชัดว่าเด็กหญิง นงลักษณ์และนาง ปราณีได้เล่าเรื่องที่เห็นจำเลยเดินถือมีดผ่านไปให้ทราบเมื่อใดดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่าในวันเกิดเหตุเด็กหญิง นงลักษณ์และนาง ปราณีได้บอกเรื่องดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานตำรวจผิดวิสัยของผู้ที่อ้างว่าเห็นจำเลยเดินถือมีดผ่านไปอย่างยิ่งดังนั้นที่นางปราณีเบิกความว่าวันเกิดเหตุตอนประมาณเที่ยงวันได้บอกเรื่องที่เห็นจำเลยดังเบิกความข้างต้นแก่นาย สมจิตรพิมลศรี สามีผู้ตายแม้โจทก์จะมีนาย สมจิตรมาเบิกความสนับสนุนความข้อนี้ก็ไม่มีน้ำหนักควรแก่การรับฟังแผนที่เกิดเหตุที่โจทก์อ้างส่งศาลเป็นพยานตามเอกสารหมายจ.2ก็มีข้อน่าสังเกตกล่าวคือระบุเฉพาะเด็กหญิง นงลักษณ์ผู้เดียวที่เห็นเหตุการณ์ไม่ได้ระบุว่านาง ปราณีเป็นผู้ที่เห็นเหตุการณ์ด้วยเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นไม่ได้ความจากการนำสืบของโจทก์จึงมีข้อตำหนิให้ระแวงได้ว่านาง ปราณีเป็นพยานที่แต่งเสริมขึ้นในภายหลังก็ได้สำหรับรอยเท้าที่พบบริเวณใกล้ที่เกิดเหตุก็ยังยืนยันไม่ได้ว่าเป็นรอยเท้าของจำเลยเพราะจากการนำสืบของโจทก์คงได้ความเพียงว่ามีขนาดใกล้เคียงกับเท้าของจำเลยเท่านั้นประกอบกับยังได้ความจากคำเบิกความของพยานโจทก์ต้องกันว่าบริเวณที่พบรอยเท้าเป็นทางเดินสำหรับบุคคลทั่วไปดังนี้รอยเท้าที่พบจึงเป็นหลักฐานที่ไกลต่อเหตุส่วนที่พยานโจทก์อีกปากหนึ่งคือจ่าสิบตำรวจ ดำรงค์แสงสุวรรณ ผู้จับกุมจำเลยเบิกความว่าพบจำเลยกำลังนอนแอบซุ่มอยู่ในพงหญ้ากลางทุ่งนานั้นก็เป็นเพียงคำเบิกความลอยๆไม่มีรายละเอียดว่าเหตุใดจึงว่าจำเลยนอนแอบซ่อนดังนี้ที่จำเลยนอนอยู่ดังที่จ่าสิบตำรวจ ดำรงค์เบิกความจึงยังฟังได้ไม่ถนัดว่าเป็นข้อพิรุธของจำเลยเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีอุกฉกรรจ์มีโทษหนักถึงประหารชีวิตพยานหลักฐานโจทก์จะต้องชัดแจ้งหนักแน่นมั่นคงโดยไม่มีข้อตำหนิใดๆให้เป็นที่ประจักษ์ได้แต่พยานโจทก์ในคดีนี้คงมีแต่พยานเหตุผลแวดล้อมกรณีไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นแต่พยานแวดล้อมดังกล่าวก็ไม่น่าเชื่อถือและมีข้อให้ตำหนิดังได้วินิจฉัยแล้วข้างต้นประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธตลอดมาตั้งแต่ต้นพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยเคยมีสาเหตุบาดหมางอยู่กับนาย สมจิตร สามีผู้ตายซึ่งมีตำแหน่งเป็นกำนันประกอบกับจำเลยมีประวัติเคยต้องโทษมาแล้วหลายครั้งเมื่อมีเหตุครั้งนี้เกิดขึ้นจึงเข้าใจว่าคนร้ายคงไม่ใช่ใครนอกเสียจากจำเลยเพราะเหตุนี้มากกว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่หนักแน่นมั่นคงคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายชิงทรัพย์และทำร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตายดังที่โจทก์ฟ้องคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาฎีกาจำเลยฟังขึ้น”
พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์

Share