แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่2มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา290วรรคแรกจำคุก4ปีศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาแก้ว่าจำเลยที่2มีความผิดตามมาตรา288อีกบทหนึ่งให้ลงโทษตามมาตรา288ซึ่งเป็นบทหนักจำคุก20ปีโดยแก้ไขทั้งบทและโทษเป็นการแก้ไขมากจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่2ฐานร่วมกับพวกฆ่าผู้ตายโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288,83ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่2กับพวกทำร้ายผู้ตายโดยไม่มีเจตนาฆ่าจึงลงโทษตามมาตรา290วรรคแรกหากศาลอุทธรณ์ภาค3ฟังว่าจำเลยที่2ทำร้ายผู้ตายโดยมีเจตนาฆ่าก็ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา288,83ตามฟ้องเพียงบทเดียวจะพิพากษาว่าจำเลยที่2มีความผิดตามมาตรา288,83อีกบทหนึ่งและลงโทษตามบทนี้ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดไม่ได้และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 83
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สาม มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก จำเลย ที่ 3 อายุ 17 ปีลด มาตรา ส่วน โทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม มาตรา 75 จำคุก จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2คน ละ 4 ปี จำคุก จำเลย ที่ 3 มี กำหนด 2 ปี ข้อหา อื่น ให้ยก
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 อีก บทหนึ่ง แต่ เป็น การกระทำ กรรมเดียวผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตาม มาตรา 288 ซึ่ง เป็น บทหนัก ที่สุดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 20 ปี นอกจาก ที่ แก้คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่าจำเลย ทั้ง สาม มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรกจำคุก จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 คน ละ 4 ปี จำคุก จำเลย ที่ 3 มี กำหนด 2 ปีศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เฉพาะ จำเลย ที่ 2 ว่า มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 อีก บทหนึ่ง ให้ ลงโทษ จำเลย ที่ 2ตาม มาตรา 288 ซึ่ง เป็น บทหนัก จำคุก 20 ปี นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น นั้น จะ เห็น ได้ว่า คดี เกี่ยวกับ ตัว จำเลย ที่ 1และ ที่ 3 ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ได้ พิพากษายืน ตาม ศาลชั้นต้น และ ให้ลงโทษ จำคุก จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ไม่เกิน ห้า ปี จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก เมื่อ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ฟัง ข้อเท็จจริงว่า จำเลย ทั้ง สาม มี เจตนา ร่วมกัน ทำร้ายร่างกาย ผู้ตาย การ ที่ จำเลยที่ 1 และ ที่ 3 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3มิได้ มี เจตนา ทำร้าย ผู้ตาย และ ที่ จำเลย ที่ 1อ้างว่า มี พฤติการณ์ ที่ ทำให้ จำเลย ที่ 1จำต้อง แทง ผู้ตาย เพื่อ ป้องกันตัว พอสมควร แก่ เหตุ นั้น เป็น การ โต้เถียงดุลพินิจ ใน การ รับฟัง พยานหลักฐานของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 อันเป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย ให้ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ดังกล่าว หาใช่ เป็น ฎีกาใน ปัญหาข้อกฎหมาย ดัง ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 กล่าวอ้าง ไม่ ส่วนจำเลย ที่ 2 ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ได้ พิพากษาแก้ ไข ทั้ง บท และ โทษ เป็นการ แก้ไข มาก ขึง ไม่ต้องห้าม ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่ง ข้อเท็จจริงรับฟัง ได้ว่า ตาม วัน เวลา และ สถานที่เกิดเหตุ ตาม ฟ้อง มี คนร้าย ใช้ มีดเป็น อาวุธ ร่วมกัน ทำร้าย ผู้ตาย เป็นเหตุ ให้ ผู้ตาย ถึงแก่ความตายที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่มี ความผิด ฐาน ฆ่า ผู้ตาย โดยเจตนา อีก บทหนึ่ง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย นั้น เห็นว่าคดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ที่ 2 ฐาน ร่วม กับพวก ฆ่า ผู้ตายโดย เจตนา ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 83 ศาลชั้นต้น ฟัง ว่าจำเลย ที่ 2 ร่วม กับพวก ทำร้าย ผู้ตาย โดย ไม่มี เจตนาฆ่า จึง ลงโทษจำเลย ที่ 2 กับพวก ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรกดังนี้ หาก ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ที่ 2 ทำร้าย ผู้ตาย โดย มี เจตนาฆ่า ก็ ชอบ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 จะ ปรับ บทลงโทษจำเลย ที่ 2 ตาม มาตรา 288, 83 ตาม ฟ้อง เพียง บท เดียวหา ชอบ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 จะ พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความผิดตาม มาตรา 288, 83 อีก บทหนึ่ง และ ลงโทษ ตาม บท นี้ซึ่ง เป็น กฎหมาย บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด ไม่ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 3 จึง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ ปัญหา ข้อ นี้ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย อัน เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย แม้ คู่ความ จะ มิได้ ฎีกาศาลฎีกา ก็ มีอำนาจ หยิบยก ขึ้น วินิจฉัย เอง ได้ คดี จึง มี ปัญหา ที่ ต้องวินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 เพียง ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความผิดฐาน ร่วม กับพวก ฆ่า ผู้ตาย ตาม ฟ้องโจทก์ หรือไม่ ตาม พฤติการณ์ ดังกล่าวยัง รับฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย ที่ 2 กับพวก มี เจตนาฆ่า ผู้ตาย คง ฟังได้เพียง ว่า จำเลย ที่ 2 มี เจตนา ร่วม กับพวก ทำร้าย ผู้ตาย เท่านั้นเมื่อ ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย เพราะ ถูก พวก ของ จำเลย ที่ 2 ใช้ มีด แทงจำเลย ที่ 2 จึง มี ความผิด ฐาน ร่วมกัน ทำร้าย ผู้ตาย เป็นเหตุ ให้ ผู้ตายถึงแก่ความตาย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรกที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วยฎีกา จำเลย ที่ 2 ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ บังคับ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น