คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2533

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยครอบครองที่ดินรุกล้ำที่ดินโจทก์มาโดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครองรุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แม้โจทก์จะได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ก็เป็นเวลาภายหลังที่กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยรุกล้ำได้ตกเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว และแม้จำเลยจะยังมิได้จดทะเบียน ส่วนโจทก์ผู้ได้รับโอนที่ดินพิพาทได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว แต่โจทก์มิได้เสียค่าตอบแทน จำเลยย่อมยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยยื่นคำให้การว่า ไม่ได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ หากรุกล้ำจำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งและเสียค่าขึ้นศาลก็ตามแต่ศาลอุทธรณ์ก็เพียงพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์เท่านั้น จึงไม่ได้พิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142.

ย่อยาว

โจทก์ทั้งสิบฟ้องว่า จำเลยได้มีเจตนาที่จะรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยนำขยะมูลฝอยเปลือกมะพร้าว และกะลามะพร้าวไปทิ้งลงในลำกระโดงซึ่งอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ และจำเลยสร้างรั้วคอนกรีตรุกล้ำบังหน้าที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วคอนกรีตส่วนที่รุกล้ำ และขนขยะมูลฝอย เปลือกมะพร้าว กะลามะพร้าวออกไปจากแนวเขตที่ดินของโจทก์ และขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดตรวจสอบเขตที่ดินของโจทก์ ห้ามจำเลยขัดขวางการรังวัดตรวจสอบ
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ หากรุกล้ำก็ถือได้ว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ถูกรุกล้ำตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีตส่วนที่รุกล้ำบังหน้าที่ดินของโจทก์ และขนขยะมูลฝอยต่าง ๆ ออกไปจากที่ดินของโจทก์ และห้ามจำเลยมิให้ขัดขวางการรังวัดตรวจสอบที่ดินของโจทก์
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยนำสืบรับกันและจำเลยมิได้โต้เถียงในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติว่า โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 10 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3096 แขวงบางหว้าเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 65 ตารางวาโดยรับการยกให้จากนายกิมเซ็ก แซ่เต๋ง และนายยุ้น แซ่เต๋ง ตามโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.1 โจทก์ที่ 10 และที่ 12 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3787 แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.2 จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3478ทิศตะวันตกของที่ดินของจำเลยตกมาเป็นของโจทก์ที่ 1 กับพวกซึ่งได้มาโดยเสน่หา ปรากฏตามเอกสารหมาย ล.8 และ ล.9 โจทก์ที่ 1กับพวกขอรังวัดที่ดินเมื่อ พ.ศ. 2525 จำเลยได้ชี้แนวเขตเช่นเดิมโดยใช้หลักกึ่งกลางลำกระโดง แต่ตกลงกันไม่ได้จำเลยเปลี่ยนรั้วสังกะสีที่ทำไว้เดิมเป็นรั้วคอนกรีตเมื่อประมาณปลาย พ.ศ. 2523โดยทำรั้วคอนกรีตยาวเท่ากับรั้วสังกะสีเดิม แต่ขยับแนวมาทางถนนทรัพย์สินบางขุนเทียนประมาณ 20-30 เซนติเมตร การสร้างรั้วคอนกรีตของจำเลยนั้นไม่มีผู้ใดโต้แย้ง
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยนำสืบรับกันและจำเลยมิได้โต้เถียงในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติว่า โจทก์ที่ 1 ถึงที่10 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3096 แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 65 ตารางวา โดยรับการยกให้จากนายกิมเซ็ก แซ่เต็ง และนายยุ้น แซ่เต๋ง ตามโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.1 โจทก์ที่ 10 และที่ 12 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่3747 แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.2 จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3478 แขวงบางหว้าเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามโฉนดที่ดินเอกสารหมาย ล.7 ที่ดินทั้ง 3 แปลงดังกล่าวเป็นสวนอยู่ติดกันตามแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.4ที่ดินโฉนดที่ 3096 และ 3747 ด้านที่ติดกับที่ดินโฉนดที่ 3478 ของจำเลยลำกระโดงโดยรอบลำกระโดงดังกล่าวอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์จำเลยได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสร้างรั้วคอนกรีตจากจุดกึ่งกลางลำกระโดงด้านที่ติดกับที่ดินด้านทิศเหนือของจำเลย และถมลำกระโดงดังกล่าวกับถมลำกระโดงด้านที่ติดกับที่ดินด้านทิศตะวันตกของจำเลยจนเต็มถึงกึ่งกลางลำกระโดงแต่ละด้าน คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ในชั้นนี้เพียงว่า จำเลยได้ครอบครองในที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 หรือไม่ ข้อนี้จำเลยนำสืบว่าที่ดินของจำเลยซื้อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2492 ได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินตลอดมาจนถึงปัจจุบันและนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้วถนนทรัพย์สินบางขุนเทียนเดิมเป็นคลองสาธารณประโยชน์ ถมเป็นถนนเมื่อ พ.ศ. 2508 เมื่อมีถนนจำเลยจึงสร้างรั้วสังกะสีตรงกึ่งกลางลำกระโดงจากด้านทิศเหนือมาทางทิศใต้เป็นหลักฐานในทะเบียนทางแผนที่ เหตุที่มีหลักเขตทั้ง 3 หลักนี้เพราะโจทก์ขอรังวัดสอบเขตหลักเจ้าของที่ดินข้างเคียงคัดค้าน การรังวัดสอบเขตนั้นจึงเลิกไปโดยไม่ได้ถอนหลักเขตดังกล่าวออก การปักหลักเขตลงในที่ดินเจ้าของที่ดินต้องยินยอมหลักเขตที่ดินเมื่อปักไว้แล้ว ถ้าจะมีการเพิกถอนเจ้าพนักงานที่ดินจะต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าของที่ดินทราบ ทั้งเมื่อพิเคราะห์แผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.4 แล้วปรากฏว่าหลักเขต54836 ปักอยู่บนเส้นสีเขียวซึ่งอยู่ภายในกรอบเส้นสีแดง ซึ่งโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 10 นำชี้ว่าเป็นเขตที่ดินของตน และหลักเขต54986 ปักอยู่บนเส้นสีเขียวซึ่งอยู่ภายในกรอบเส้นสีม่วง ซึ่งโจทก์ที่ 11 และที่ 12 นำชี้ว่าเป็นแนวเขตที่ดินของตน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าฝ่ายโจทก์ได้เคยขอรังวัดที่ดินทั้ง 2 โฉนดของโจทก์มาก่อน เมื่อ พ.ศ. 2511 และมีการปักหลักเขตดังกล่าวในที่ดินของโจทก์ด้วยความยินยอมของเจ้าของที่ดิน ศาลฎีกาเห็ฯว่า คำพยานจำเลยมีน้ำหนักยิ่งกว่าพยานโจทก์น่าเชื่อว่าจำเลยถือว่าลำกระโดงด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลยเป็นของจำเลยกึ่งหนึ่งมาโดยตลอดตั้งแต่ พ.ศ. 2511 นั้นแล้ว และเมื่อโจทก์ขอรังวัดที่ดินโฉนดที่ 3096 เมื่อ พ.ศ. 2525 จำเลยจึงชี้แนวเขตที่ดินของจำเลยที่กึ่งกลางลำกระโดง แสดงว่าจำเลยได้ยึดถือลำกระโดงทั้งสองด้านของโจทก์ว่าเป็นของตนถึงกึ่งกลางลำกระโดงแต่ละด้าน จำเลยได้ครอบครองลำกระโดงนั้นมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้วจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครองรุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382แม้โจทก์จะได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 11 มกราคม2526 ว่า จำเลยก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์ตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีตามเอกสารหมาย จ.5 ก็เป็นเวลาภายหลังที่กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยรุกล้ำได้ตกเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่จำเลยรุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
ที่โจทก์ฎีกาอีกข้อหนึ่งว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีนี้ โดยให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในลำกระโดงกึ่งหนึ่งโดยการครอบครองปรปักษ์เป็นการพิพากษาที่ขัดต่อกฎหมายและพิพากษาเกินและนอกเหนือคำขอและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ถ้ามิได้จดทะเบียนการได้มาจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 นั้นศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าไม่ได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ หากรุกล้ำจำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งศาลชั้นต้นได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งและเสียค่าขึ้นศาลมาก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ก็เพียงพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์หาได้พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 ไม่ คดีนี้ปรากฏว่าโจทก์ได้รับการยกที่ดินให้ และได้รับมรดกจากนายกิมเซ็ก นายยุ้นและนายเลี้ยนโดยมิได้เสียค่าตอบแทน ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แม้จะยังมิได้จดทะเบียนก็ตามย่อมยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้เพราะโจทก์ถึงจะจดทะเบียนโดยสุจริต แต่ก็มิได้เสียค่าตอบแทนแต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน”
พิพากษายืน.

Share