คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4766/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยนำภาพถ่ายของ ม. มาตัดให้พอดีกับภาพถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชนของ น. ที่แท้จริงแล้วนำภาพถ่ายที่ตัดแล้วปิดทับภาพถ่ายของ น. ที่ติดอยู่ในบัตรประจำตัวประชาชนของ น. ดังกล่าวแล้วถ่ายภาพบัตรและนำภาพถ่ายดังกล่าวอัดพลาสติกมอบให้ ม.โดยคิดค่าทำ15บาทถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาเพื่อให้ผู้พบเห็นบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวหลงเชื่อว่าภาพถ่ายของม. ในบัตรประจำตัวประชาชนที่ถ่ายมาเป็นภาพถ่ายของ น.โดยมีวันเดือนปีเกิดและภูมิลำเนาตามที่ระบุไว้ในบัตรดังกล่าวเป็นบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานสำนักทะเบียนบัตรประชาชนกระทรวงมหาดไทยได้ทำขึ้นจึงเป็นเอกสารราชการตามนิยามของประมวลกฎหมายอาญามาตรา1(8) แม้บัตรประชาชนที่จำเลยทำปลอมขึ้นนั้นจะเป็นเพียงภาพถ่ายเอกสารแต่การกระทำของจำเลยมีลักษณะเพื่อการใช้อย่างบัตรประจำตัวประชาชนฉบับที่แท้จริงจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรกอย่างไรก็ตามแม้จะเป็นคดีที่คู่ความฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265, 32,33 ริบของกลาง คือ บัตรประจำตัวประชาชน ปลอม ของ นาย นพดล และ นาย บุญเทียม เครื่องถ่ายเอกสาร ยี่ห้อ แคนนอน 1 เครื่อง เครื่อง เคลือบ บัตร ยี่ห้อ ซีเอมพี 1 เครื่อง เครื่องตัดกระดาษ ยี่ห้อ โรต้าทิม 1 เครื่อง กรรไกร 1 อัน และ คืน ธนบัตร ฉบับ ละ 500 บาท ของกลาง แก่ เจ้าของ
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 จำคุก 1 ปี คืน ธนบัตร ฉบับ ละ 500 บาทแก่ เจ้าของ ของกลาง อื่น นอกนั้น ให้ริบ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ในปัญหาข้อกฎหมาย มี ว่า การกระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด ฐาน ปลอมเอกสารหรือไม่ จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย ไม่ได้ เติม หรือ ตัด ทอน ข้อความ หรือ แก้ไขด้วย ประการใด ใน บัตรประจำตัวประชาชน เอกสาร หมายเลข จ. 3 เพียงแต่จำเลย นำ ภาพถ่าย ปิด ลง ไป แทน แล้ว ถ่าย เอกสาร และ นำ ไป เคลือบ พลาสติกเท่านั้น ทั้ง จำเลย ไม่ได้ ทำให้ ปรากฏ ความหมาย ด้วย ตัวอักษร ตัวเลขผัง หรือ แผน แบบ อย่างอื่น อัน จะ ถือว่า เป็น เอกสาร ตาม คำ นิยาม ของ กฎหมายจำเลย จึง ไม่มี ความผิด ฐาน ปลอมเอกสาร เห็นว่า ข้อเท็จจริง ยุติ ตามที่ ศาลอุทธรณ์ ฟัง มา ว่า จำเลย เป็น ผู้นำ ภาพถ่าย ที่นาย เมาอี มอบ ให้ มา ตัด ให้ พอดี กับ ภาพถ่าย ใน บัตรประจำตัวประชาชน ของ นาย นพดล สังข์ทอง ที่ แท้จริง ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 แล้ว นำ ภาพถ่าย ที่ ตัด แล้ว ปิด ทับ ภาพถ่ายของ นาย นพดล ที่ ติด อยู่ ใน บัตรประจำตัวประชาชน ของ นาย นพดล ดังกล่าว แล้ว ถ่าย ภาพ บัตร และ นำ ภาพถ่าย ดังกล่าว อัด พลาสติก มอบ ให้ นาย เมาอี ตาม ภาพถ่าย เอกสาร หมาย จ. 2 โดย คิด ค่า ทำ 15 บาท ข้อเท็จจริง ดังกล่าวมา ถือได้ว่า จำเลย กระทำ โดย มี เจตนา เพื่อ ให้ ผู้ พบ เห็น บัตร ประจำตัวประชาชน เอกสาร หมาย จ. 2 หลงเชื่อ ว่า ภาพถ่าย ของ นาย เมาอี ใน บัตร ประชาชน เอกสาร หมาย จ. 2 ที่ ถ่าย เอกสาร มา เป็น ภาพถ่าย ของนาย นพดล โดย มี วัน เดือน ปี เกิด และ ภูมิลำเนา ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน บัตร ดังกล่าว เป็น บัตรประจำตัวประชาชน ที่ แท้จริง จึง เป็น ความผิด ฐานปลอมเอกสาร และ บัตรประจำตัวประชาชน เป็น เอกสาร ซึ่ง เจ้าพนักงานสำนัก ทะเบียน บัตร ประชาชน กระทรวงมหาดไทย ได้ ทำ ขึ้น จึง เป็น เอกสารราชการ ตาม นิยาม ของ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8) แม้ บัตร ประชาชนที่ จำเลย ทำ ปลอม ขึ้น มา จะ เป็น เพียง ภาพถ่าย เอกสาร แต่ การกระทำ ของจำเลย ดังกล่าว มี ลักษณะ เพื่อ การ ใช้ อย่าง บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับ ต้นฉบับที่ แท้จริง จึง เป็น เอกสารราชการ จำเลย จึง มี ความผิด ฐาน ปลอมเอกสารราชการ ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น
ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ขอให้ ลงโทษ สถาน เบา และ รอการลงโทษ จำเลย นั้นคดี นี้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ลงโทษ จำคุกจำเลย มี กำหนด 1 ปี ฎีกา ของ จำเลย ใน ข้อ นี้ เป็น ฎีกา โต้เถียง ดุลพินิจใน การ ลงโทษ ของ ศาล เป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก อย่างไร ก็ ดีแม้ จะ เป็น คดี ที่ คู่ความ ฎีกา ได้ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย หาก ศาลฎีกา เห็นว่าศาลล่าง ลงโทษ จำเลย หนัก เกิน ไป ก็ ย่อม มีอำนาจ ที่ จะ พิพากษา ลงโทษ จำเลยให้ เหมาะสม แก่ ความผิด ได้ ศาลฎีกา เห็นว่า จำเลย เป็น หญิง อายุ 65 ปีไม่ปรากฏ จำเลย ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน และ เงิน ที่ จำเลย ได้รับ มี จำนวนเพียง 15 บาท สมควร รอการลงโทษ จำเลย โดย ให้ ลงโทษ ปรับ ไว้ ด้วย ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ลงโทษ ปรับ จำเลย 4,000 บาท อีก สถาน หนึ่งโทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share