แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
พ.ร.บ.สาธารณะสุข พ.ศ. 2484 มาตรา 68 ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งห้ามจำเลยมิให้ประกอบการค้านั้น ต่อไป ซึ่งเป็นการให้อำนาจศาลใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยตามเหตุการณ์แห่งคดี ถือว่าเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ. 2484 มาตรา 7, 8, 68 ปรับ 100 บาท ส่วนคำขอให้ห้ามจำเลยประกอบการค้าทำเต้าหู้ต่อไปนั้น ไม่บังคับให้ แต่ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ให้ห้ามจำเลยทำการค้าเต้าหู้ต่อไป ดังนี้ จำเลยจะฎีกาในข้อห้ามทำการค้าเต้าหู้ ไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาข้อเท็จจริง
ย่อยาว
คดีนี้ โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยบังอาจประกอบการค้าเต้าหู้ อันเป็นที่รังเกียจและอาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพภายในเขตเทศบาลกรุงเทพฯ โดยไม่ได้รับอนุญาต ฯลฯ ขอให้ลงโทษ
จำเลยรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. สาธารณสุข พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๗, ๘, ๖๘ ปรับ ๑๐๐ บาท ลดฐานรับสารภาพตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๕๙ กึ่งหนึ่ง คงปรับ ๕๐ บาท ส่วนคำให้ห้ามจำเลยประกอบการค้าทำเต้าหู้ต่อไปนั้น เป็นคำขอทางแพ่ง โจทก์ไม่เสียค่าธรรมเนียม จึงไม่บังคับให้
โจทก์อุทธรณ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ให้ห้ามจำเลยทำการค้าทำเต้าหู้ต่อไป
ศาลฎีกาเห็นว่า ตาม พ.ร.บ.สาธารณะสุข พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๖๘ ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งห้ามจำเลยมิให้ประกอบการค้าต่อไปนั้น ซึ่งเป็นการให้อำนาจศาลใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยตามเหตุการณ์แห่งคดี ถือว่าเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
คดีนี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษา แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อย จำเลยจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
จึงให้ยกฎีกาจำเลย
์