คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ศาลอุทธรณ์ภาค1กำหนดเวลาให้ผู้ร้องวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมถึง7วันทั้งศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าผู้ร้องไม่ใช่คนยากจนโดยไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์แล้วการที่ผู้ร้องกลับมาขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาลชั้นต้นว่าผู้ร้องเป็นคนยากจนระยะเวลาที่กำหนดให้ไม่เพียงพอจึงมีลักษณะเป็นการประวิงคดีถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขอให้ขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความให้ จำเลย ทั้ง หก ชำระ เงิน 1,019,925 บาท พร้อม ดอกเบี้ย และค่าฤชาธรรมเนียม แต่ จำเลย ทั้ง หก ไม่ชำระ โจทก์ จึง ขอ หมาย บังคับคดีและ นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึด ที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก. ) โดย อ้างว่า เป็น ทรัพย์ ของ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 5 เพื่อบังคับ ชำระหนี้ ตาม คำพิพากษา ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง และ แก้ไข คำร้องขอให้ปล่อย ทรัพย์ ที่ ยึด โดย อ้างว่า เป็น ทรัพย์ ของ ผู้ร้อง ศาลชั้นต้นพิจารณา แล้ว พิพากษายก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์ พร้อม ทั้ง ยื่น คำร้องขอ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ยกคำร้อง ขอ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถาให้ ผู้ร้อง นำ เงิน ค่าธรรมเนียม มา ชำระ ภายใน 7 วัน
ผู้ร้อง อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 มี คำสั่ง ยกคำร้อง อุทธรณ์ คำสั่ง หาก ผู้ร้องติดใจ อุทธรณ์ คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ผู้ร้อง นำ เงิน ค่าธรรมเนียมมา ชำระ ต่อ ศาลชั้นต้น ภายใน กำหนด 7 วัน นับแต่ วัน ทราบ คำสั่ง
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ค่าฤชาธรรมเนียม ที่ ผู้ร้อง จะ ต้อง นำ มาวาง ต่อ ศาล เป็น เงิน จำนวน สูง และ ระยะเวลา ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1กำหนด ก็ สั้น ขอ ขยายเวลา การ วาง ค่าฤชาธรรมเนียม ออก ไป 30 วัน
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ยกคำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ ผู้ร้อง ฎีกา ว่า ค่าฤชาธรรมเนียม ที่ ต้องนำ มา วาง ต่อ ศาลชั้นต้น นั้น ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 กำหนด เวลา ให้ สั้น เกิน ไปผู้ร้อง จะ ต้อง หยิบ ยืมเงิน หรือ กู้เงิน จาก ผู้อื่น ผู้ร้อง ยากจนการ หยิบ ยืมเงิน ไม่ใช่ เรื่อง ง่าย ระยะเวลา ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1กำหนด ให้ จึง ไม่ เพียงพอ ศาลฎีกา เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 กำหนด เวลาให้ ผู้ร้อง วางเงิน ค่าฤชาธรรมเนียม ให้ ผู้ร้อง ถึง 7 วันทั้ง ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ฟัง ข้อเท็จจริง เป็น ยุติ แล้ว ว่า ผู้ร้อง ไม่ใช่คน ยากจน โดย ไม่อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา ใน ชั้นอุทธรณ์ แล้วการ ที่ ผู้ร้อง กลับมา ขอ ขยาย ระยะเวลา วางเงิน ค่าฤชาธรรมเนียม ต่อ ศาลจึง มี ลักษณะ เป็น การ ประวิงคดี จึง ถือไม่ได้ว่า มี พฤติการณ์ พิเศษที่ จะ ขอให้ ศาล สั่ง ขยาย ระยะเวลา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 คำสั่งศาล อุทธรณ์ ภาค 1 ชอบแล้ว ฎีกา ผู้ร้อง ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

Share