คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยมิได้มีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้โจทก์รับเงินค่าที่ดินพร้อมตึกแถวและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยและมิได้เสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะอุทธรณ์ในประเด็นนี้ศาลจึงพิพากษาให้ไม่ได้

ย่อยาว

คดี สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น รวม พิจารณา พิพากษา เข้า ด้วยกัน
สำนวน แรก โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2531 จำเลยทำ สัญญา จะซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 73119 พร้อม ตึกแถว เลขที่ 48/31 ซึ่งปลูก อยู่ ใน ที่ดิน ดังกล่าว จาก โจทก์ ราคา 280,000 บาท ใน วัน ทำ สัญญาจำเลย วางเงิน มัดจำ 25,000 บาท ส่วน ที่ เหลือ 255,000 บาท ผ่อนชำระ 120 เดือน เดือน ละ 3,733 บาท เริ่ม ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน2531 มี เงื่อนไข ว่า หาก จำเลย ผิดนัด 2 งวด ไม่ว่า จะ ติดต่อ กัน หรือไม่ให้ ถือว่า จำเลย ผิดนัด ชำระ ค่างวด และ ให้ ถือว่า เงินมัดจำ และ เงินค่างวด ที่ ชำระ แล้ว นั้น ตกเป็น ของ โจทก์ และ จำเลย จะ ต้อง ขนย้าย ทรัพย์สินและ บริวาร ออก ไป จาก ตึกแถว ใน ที่ดิน ดังกล่าว ภายใน 30 วัน นับ จากวัน ผิดนัด จำเลย ผิดนัด ไม่ชำระ ค่างวด ตั้งแต่ เดือน พฤษภาคม ถึง เดือนกันยายน 2532 เป็น เวลา 5 เดือน ติดต่อ กัน โจทก์ จึง ให้ ทนายความมี หนังสือ บอกเลิก สัญญาจะซื้อขาย และ บอกกล่าว ให้ จำเลย ขนย้ายทรัพย์สิน และ บริวาร ออก ไป จาก ตึกแถว จำเลย เพิกเฉย ทำให้ โจทก์เสียหาย โจทก์ สามารถ นำ ตึกแถว ไป ให้ ผู้อื่น เช่า ได้ ใน อัตรา ค่าเช่าเดือน ละ 5,000 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ขนย้าย ทรัพย์สินและ บริวาร ออก ไป จาก ตึกแถว เลขที่ 48/31 ตาม ฟ้อง และ ส่งมอบตึกแถว ให้ โจทก์ ใน สภาพ เรียบร้อย ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์เดือน ละ 5,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลย จะ ขนย้าย ทรัพย์สินและ บริวาร ออก ไป จาก ตึกแถว
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ทำ สัญญา จะซื้อ ที่ดิน พร้อม ตึกแถว จาก โจทก์จริง จำเลย ชำระ เงิน ค่างวด ประจำ เดือน เมษายน 2532 แก่ โจทก์และ จำเลย แจ้ง โจทก์ ว่า จำเลย จะ กู้เงิน จาก ธนาคาร มา ชำระ ราคา ส่วนที่ เหลือ ตั้งแต่ง วดเดือน พฤษภาคม 2532 จน ถึง งวด สุดท้าย ซึ่ง โจทก์ทราบ และ ยินยอม ต่อมา ธนาคาร อนุมัติ ให้ จำเลย กู้เงิน ได้ 260,000 บาทโจทก์ จำเลย จึง ตกลง จะ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ใน วันที่4 กรกฎาคม 2532 แต่ โจทก์ กลับ ไม่ยอม รับ เงิน และ บิดพลิ้ว ไม่ยอม โอนที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง แก่ จำเลย จำเลย ติดต่อ ให้ โจทก์ รับ เงินและ โอน ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง แก่ จำเลย หลาย ครั้ง โจทก์ เพิกเฉย และกลับ มี หนังสือ บอกเลิก สัญญา ถึง จำเลย โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญาขอให้ ยกฟ้อง
สำนวน หลัง โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทำ สัญญาจะขาย ที่ดิน พร้อมตึกแถว พิพาท แก่ โจทก์ มี ข้อตกลง ว่า หาก โจทก์ ผู้จะซื้อ ประสงค์จะ ชำระ ราคา ที่ เหลือ ก่อน ครบ กำหนด ผ่อนชำระ จำเลย ผู้จะขาย ก็ยินยอม และ พร้อม จะ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน และ ตึกแถว แก่ โจทก์ ต่อมา โจทก์ชำระ เงิน ค่างวด ประจำ เดือน เมษายน 2532 แก่ จำเลย และ แจ้ง จำเลยว่า จะ ขอ ชำระ ราคา ส่วน ที่ เหลือ ตั้งแต่ เดือน พฤษภาคม 2532 จน ถึง งวดสุดท้าย รวมเป็น เงิน 245,326 บาท แก่ จำเลย โดย โจทก์ จะ กู้เงินจาก ธนาคาร มา ชำระ ให้ ซึ่ง จำเลย ก็ ยินยอม ครั้น โจทก์ ขอ กู้เงินจาก ธนาคาร ได้ จำเลย กลับ บิดพลิ้ว ไม่ โอน ที่ดิน และ ตึกแถว พิพาท แก่โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย รับ เงิน ส่วน ที่ เหลือ 245,326 บาท และ ให้จำเลย โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน พร้อม ตึกแถว พิพาท แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ผิดนัด ไม่ชำระ เงิน ค่างวด ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม ถึง เดือน กันยายน 2532 เป็น เวลา 5 เดือน ติดต่อ กัน เมื่อโจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา เช่นนี้ จึง ไม่มี สิทธิอาศัย สัญญาจะซื้อขายข้อ 2 ที่ ให้สิทธิ โจทก์ ชำระ เงิน ที่ ค้าง ทั้งหมด คราว เดียว ก็ ได้ เพราะจะ ใช้ สิทธิ เช่นนี้ ได้ จะ ต้อง ไม่เป็น ผู้ผิดนัด ทั้ง จำเลย ก็ ไม่เคยยินยอม ให้ โจทก์ ชำระ เงิน ส่วน ที่ ค้าง ทั้งหมด ให้ คราว เดียว โจทก์เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น เรียก โจทก์ ใน สำนวน แรก ซึ่ง เป็น จำเลย ใน สำนวน หลังว่า โจทก์ และ เรียก จำเลย ใน สำนวน แรก ซึ่ง เป็น โจทก์ ใน สำนวน หลังว่า จำเลย
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ขนย้าย ทรัพย์สิน และบริวาร ออก ไป จาก ตึกแถว พิพาท และ ส่งมอบ ตึกแถว พิพาท ให้ โจทก์ ในสภาพ เรียบร้อย ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 2,500 บาทนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลย จะ ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวาร ออก ไป จากตึกแถว พิพาท และ ส่งมอบ ตึกแถว พิพาท ให้ โจทก์ ใน สภาพ เรียบร้อย ให้ยกฟ้อง ของ จำเลย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์ ให้ โจทก์ รับ ชำระ เงิน จากจำเลย จำนวน 245,326 บาท แล้ว ให้ โจทก์ โอน ขาย ที่ดิน พร้อม ตึกแถวพิพาท ให้ จำเลย ถ้า โจทก์ ไม่ไป โอน ก็ ให้ จำเลย นำ เงิน จำนวน ดังกล่าววางศาล แล้ว ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ โจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เห็นว่า สำนวน แรก เป็น คดี ที่ โจทก์ ฟ้องขับไล่ จำเลย ออกจาก ตึกแถว พิพาท จึง ต้องห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ในข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองดังนั้น ศาลฎีกา จึง ไม่รับ วินิจฉัย ฎีกา ของ โจทก์ ใน สำนวน แรก แต่ ใน สำนวนหลัง เป็น คดี ที่ ราคา ทรัพย์สิน หรือ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา เกิน 200,000 บาท ไม่ต้องห้าม ฎีกา โจทก์ ฎีกา ว่า ฟ้องอุทธรณ์ของ จำเลย มิได้ ระบุ ขอให้ โจทก์ ไป จดทะเบียน กรรมสิทธิ์ ขาย ที่ดินและ ตึกแถว พิพาท ศาลอุทธรณ์ ไม่อาจ บังคับ ให้ ได้ เมื่อ ศาลอุทธรณ์พิพากษา บังคับ ให้ โจทก์ ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ขาย ที่ดิน และ ตึกแถวพิพาท ให้ แก่ จำเลย ย่อม เป็น การ พิพากษา เกิน ไป กว่า หรือ นอกจากที่ ปรากฏ ใน ฟ้องอุทธรณ์ ของ จำเลย คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ จึง ไม่ชอบและ จำเลย เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา นั้น เห็นว่า ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 142 ซึ่ง บัญญัติ ว่า คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ของ ศาล ที่ชี้ขาด คดี ต้อง ตัดสิน ตาม ข้อหา ใน คำฟ้อง ทุก ข้อ แต่ ห้าม มิให้ พิพากษา หรือทำ คำสั่ง ใน สิ่ง ใด ๆ เกิน ไป กว่า หรือ นอกจาก ที่ ปรากฎ ใน คำฟ้อง ฟ้องอุทธรณ์ ของ จำเลย แม้ ได้ กล่าว ตอนหนึ่ง ว่า จำเลย ให้ ทนายความ มี หนังสือเตือน ให้ โจทก์ มา รับ เงิน ค่าที่ดิน พร้อม ตึกแถว พิพาท ที่ ค้างชำระ และ ให้โจทก์ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ให้ จำเลย ก็ เป็น เพียง เหตุ ประกอบข้อโต้แย้ง คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น เพื่อ ชี้ ประเด็น ว่า จำเลย มิได้เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา นอกจาก นี้ ใน ขณะที่ จำเลย ยื่นฟ้อง อุทธรณ์ จำเลย ก็มิได้ เสีย ค่าธรรมเนียมศาล ใน สำนวน หลัง ที่ จำเลย เป็น โจทก์ ท้ายฟ้องอุทธรณ์ ของ จำเลย คง มี คำขอ ให้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ คำพิพากษา ของศาลชั้นต้น เท่านั้น จึง เห็น เจตนา ของ จำเลย ได้ว่า จำเลย ประสงค์อุทธรณ์ เฉพาะ สำนวน แรก สำหรับ คดี สำนวน หลัง ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา และ พิพากษา ให้ โจทก์ รับ ชำระ เงินจาก จำเลย จำนวน 245,326 บาท แล้ว บังคับ ให้ โจทก์ โอน ขาย ที่ดินพร้อม ตึกแถว พิพาท ให้ จำเลย ถ้า โจทก์ ไม่ไป โอน ก็ ให้ จำเลย นำ เงินจำนวน ดังกล่าว วางศาล และ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดงเจตนา ของ โจทก์ จึง เป็น เรื่อง นอกฟ้อง อุทธรณ์ ของ จำเลย ซึ่ง เป็น โจทก์สำนวน หลัง ขัด ต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 เป็น การไม่ชอบ ฎีกา ของ โจทก์ ส่วน นี้ ฟังขึ้น ส่วน ฎีกา โจทก์ ใน ข้อ ที่ ว่า จำเลยเป็น ฝ่าย ผิดสัญญา นั้น เมื่อ วินิจฉัย ดังกล่าว แล้ว ฟ้องอุทธรณ์ สำนวนหลัง ไม่อาจ ขึ้น มา สู่ ศาลฎีกา ได้ ดังนั้น ปัญหา ที่ ว่า จำเลย เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา หรือไม่ นั้น จึง เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่ากล่าว ใน สำนวน หลังมา โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ไม่บังคับ ใน สำนวน หลัง ที่ ให้ โจทก์รับ ชำระ เงิน จาก จำเลย จำนวน 245,326 บาท และ ให้ โจทก์ โอน ขายที่ดิน พร้อม ตึกแถว พิพาท ให้ จำเลย ถ้า โจทก์ ไม่ไป โอน ก็ ให้ จำเลยนำ เงิน จำนวน ดังกล่าว วางศาล และ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดงเจตนา ของ โจทก์ เสีย นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ยก ฎีกา ของ โจทก์ ใน สำนวน แรก แต่ ทั้งนี้ ไม่ ตัด สิทธิ ของ จำเลย ที่ จะยื่นฟ้อง โจทก์ ขอให้ บังคับ โจทก์ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน พร้อม ตึกแถว พิพาท

Share