คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2505

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

นายเสริฒผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเคยไกล่เกลี่ยเรื่องจำเลยกับผู้อื่นพิพาทกันเรื่องบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ แต่ให้ตกลงกัน ต่อมานายถ่ายกำนัน นายหันผู้ใหญ่บ้าน มาดูที่เกิดเหตุและพูดไกล่เกลี่ยอีก จำเลยกับคู่กรณีไม่ยอมตกลงกัน จำเลยพูดต่หน้านายถ่ายและนายหันว่า ผู้ใหญ่เสริมไม่มีศีลธรรม ไม่ซื่อตรง จะกินเงินผม และศาลฟังข้อเท็จจริงว่า นายเสริมได้พูดเรียกร้องเงิน 50 บาทจากจำเลยเกี่ยวกับการพิพาทของจำเลยจริง ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยดูหมิ่นนายเสริมผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานต่อหน้านายถ่ายกับพวกว่า ผู้ใหญ่เสริมไม่มีศีลธรรม ไม่ซื่อตรง จะกินเงินผม เนื่องจากนายเสริมไกล่เกลี่ยคีดนายครึนหาว่าจำเลยบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖
จำเลยให้การปฏิเสธแล้วกลับรับว่าพูดว่าผู้เสียหายจริง แต่พูดตามความจริง ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นฟังว่า นายเสริมเรียกร้องเงินจากจำเลยจำเลยกล่าวตามความจริงโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมป้องกันตนตามคลองธรรม ได้รับยกเว้นโทษตาม มาตรา ๓๒๙ และ ๓๓๐ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยกล่าวแสดงไปโดยสุจริตตามมาตรา ๓๒๙ (๑) ไม่มีความผิด พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้ว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา๒๑๘, ๒๒๒ ศาลอุทธรณ์ฟังว่า นายเสริมได้เรียกร้องเอาเงินจากจำเลยจริง ตามที่จำเลยพูดว่านายเสริมต่อนายถ่าย จึงเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามตคลองธรรม ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา ๓๒๙ (๑) เมื่อวินิจฉัยเช่นนี้แล้ว ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่มีสิทธิพิสูจน์ความจริงจึงตกไป พิพากษายืน

Share