แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยที่ 3 ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า ฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จึงไม่รับ
จำเลยที่ 3 เห็นว่า ฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นฎีกาในปัญหา ข้อกฎหมาย โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยที่ 3ไว้พิจารณา พิพากษาต่อไป
หมายเหตุ ไม่ปรากฎว่าโจทก์ทั้งสองได้รับสำเนาคำร้องหรือไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสี่กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 4 คนละ 1 เดือน ปรับคนละ 1,500 บาท โทษจำคุกจำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 4 ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนดคนละ 1 ปี ลงโทษปรับจำเลยที่ 3 เป็นเงิน 1,500 บาท ฯลฯ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,83,90 นอกจากที่แก้ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 3 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา(ตอน 2 อันดับ 15)
จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องดังกล่าว (ตอน 2 อันดับ 17)
คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลอยู่เฉย ๆ ไม่ได้กระทำด้วยตนเอง การที่จำเลยที่ 2กรรมการของจำเลยที่ 3 กระทำไปมิได้มีการประชุมคณะกรรมการของ จำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำไปในลักษณะเป็นส่วนตัวของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดและที่ฎีกาว่าการที่จำเลยที่ 3 กระทำไปเป็นประโยชน์ต่อมวล สมาชิกและทางราชการ จึงไม่ผิดกฎหมาย นั้น เห็นว่าปัญหาดังกล่าวแม้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เป็น ข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย จึงต้อง ห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลชั้นต้นสั่ง ไม่รับฎีกาของจำเลยชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง