คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์เคยซื้อหุ้นตามคำสั่งของจำเลยและได้โอนหุ้นให้โดยยังไม่ได้ใส่ชื่อจำเลยหรือที่เรียกว่าโอนลอยให้แก่จำเลยหลายครั้งจำเลยไม่เคยทักท้วงการกระทำดังกล่าวแสดงอยู่ว่าคู่กรณีซื้อขายหุ้นกันเพื่อประสงค์จะขายต่อไปในทันทีในเมื่อมีกำไรไม่ประสงค์จะซื้อเก็บไว้เป็นกรรมสิทธิ์อย่างจริงจังนิติกรรมดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายและไม่ใช่เป็นการพนันขันต่อแต่อย่างใด.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ รับ อนุญาต ให้ ประกอบ ธุรกิจ ตัวแทนนายหน้า ซื้อ ขาย หลักทรัพย์ จำเลย ตั้ง โจทก์ เป็น นายหน้า และ ตัวแทนเพื่อ ซื้อ ขาย หลักทรัพย์ และ ได้ สั่ง ให้ โจทก์ ซื้อ ขาย หุ้น ในตลาดหลักทรัพย์ หลาย ครั้ง โดย จำเลย ต้อง วาง เงิน ไว้ เป็น ประกันการ ชำระ หนี้ ใน อัตราส่วน ไม่ น้อยกว่า ร้อยละ 30 ของ ยอดหนี้ ครั้งสุดท้าย เมื่อ หัก เงิน ประกัน ของ จำเลย และ เงิน ค่า ซื้อ หุ้น และค่านายหน้า แล้ว จำเลย คง เป็น หนี้ โจทก์ 85,056 บาท 05 สตางค์ ขอ ให้บังคับ จำเลย ชำระ ต้นเงิน พร้อม ดอกเบี้ย และ ค่าเสียหาย นับแต่ วันนัดจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า การ ซื้อขาย หุ้น ของ โจทก์ เป็น การ พนัน ขันต่อเป็น โมฆะ โจทก์ กระทำ ผิด ข้อบังคับ ตลาดหลักทรัพย์ และ กระทำ ผิดแบบ ของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน ตาม ฟ้อง ทั้ง ให้ ใช่ ค่าฤชาธรรมเนียม แทน โจทก์ โดย กำหนด ค่าทนายความ 3,000 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ให้ จำเลย ใช้ ค่าทนายความ ชั้น อุทธรณ์ แทนโจทก์ 1,500 บาท
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ที่ ว่า การ โอน หุ้น ใน คดี นี้ ซึ่งมิได้ เป็น ไป ตาม มาตรา 1129 วรรคสอง แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ขัดต่อ กฎหมาย หรือไม่ และ มี ลักษณะ เป็น การ พนัน ขันต่อ หรือไม่นั้น เห็นว่า เมื่อ ข้อเท็จจริง ยุติ ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยไว้ แล้ว ว่า โจทก์ เป็น สมาชิก ตลาดหลักทรัพย์ โจทก์ จำเลย ต่าง เคยปฏิบัติ การ เช่นนี้ กล่าวคือ การ ซื้อ หุ้น ของ โจทก์ ตาม คำสั่งจำเลย และ ได้ โอน หุ้น ให้ แก่ จำเลย โดย ยัง ไม่ ได้ ใส่ ชื่อ จำเลยหรือ อีก นัย หนึ่ง เป็น การ โอน ลอย นั้น ได้ กระทำ กัน มา หลาย ครั้งแล้ว จำเลย ไม่ เคย ทักท้วง การ กระทำ ดังกล่าว แสดง อยู่ ว่า คู่กรณีซื้อขาย หุ้น กัน เพื่อ ประสงค์ จะ ขาย ต่อไป ทันที ใน เมื่อ กำไร ไม่ประสงค์ จะ ซื้อ เก็บ ไว้ เป็น กรรมสิทธิ์ อย่าง จริงจัง นิติกรรมดังกล่าว ระหว่าง โจทก์ จำเลย จึง ยัง ไม่ เป็น การ ขัดต่อ กฎหมายและ เป็น ธุรกิจ ที่ คู่กรณี กระทำ ขึ้น เพื่อ แสวงหา กำไร ประเภท หนึ่ง จึง ไม่ ใช่ เป็น การ พนัน ขันต่อ แต่ อย่างใด
พิพากษา ยืน โจทก์ ไม่ แก้ ฎีกา จึง ไม่ กำหนด ค่าทนายความ ให้

Share