แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
บทบัญญัติของกฎหมายเรื่องการเรียกดอกเบี้ย เกินอัตรา หรือการคิดดอกเบี้ย ทบต้นเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่กรณีจะทำความตกลง ยกเว้นหาได้ไม่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีข้อหนึ่งมีข้อความว่า “ลูกค้าขอให้สัญญาว่าเมื่อมีการหักทอนบัญชีเดินสะพัดและธนาคารได้ เรียกร้องให้ลูกค้าชำระหนี้แล้ว ลูกค้าก็ยังคงยอมรับชำระดอกเบี้ย ทบต้นตาม จำนวนที่ปรากฏในบัญชีเดินสะพัดจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่ธนาคาร… และขอสละสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ในเรื่องการคิดดอกเบี้ย ทบต้นนับแต่วันผิดนัดขึ้นเป็นข้อต่อสู้ธนาคารด้วย” เป็นข้อสัญญาที่ตกลง ยกเว้นบทกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตก เป็นโมฆะไม่มีผลใช้ บังคับ ดังนั้น เมื่อหักทอนบัญชีและเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว หากยังมีหนี้ต่อ กันธนาคารโจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเพียงดอกเบี้ย ธรรมดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๒๒๔
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อความว่า การเบิกเกินบัญชีจะมากหรือน้อยกว่าจำนวนที่ตกลง กันไว้ก็ได้ สุดแต่ ธนาคารโจทก์จะพิจารณาเห็นสมควร ไม่ใช่สัญญาที่มีเงื่อนไข ใช้ บังคับได้
สัญญาค้ำประกันที่ไม่ระบุจำนวนหนี้ของลูกหนี้ก็มีผลใช้ บังคับได้ เมื่อหนี้ที่ค้ำประกันสมบูรณ์ ยกเว้นเรื่องการคิดดอกเบี้ย ทบต้นหลังจากบัญชีเดินสะพัดได้ เลิกแล้วเท่านั้น ผู้ค้ำประกันจึงต้อง ผูกพันตาม สัญญาค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชำระหนี้ที่จำเลยที่ ๑เป็นผู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ ๒ ถึง ที่ ๖ เป็นผู้ค้ำประกันเป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ ๑ และที่ ๓เท่านั้นที่ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยทุกคนต้อง รับผิดน้อยกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนด ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึง จำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วย.