คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2493

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่หญิงมีสามีฟ้องเรียกหนี้และส่วนมรดกของบุตรสาวที่ตายจากบุตรเขยนั้น เกี่ยวกับการเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1469 จะต้องได้รับอนุญาตจากสามีเมื่อสามีร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วมขอรับชำระหนี้และส่วนมรดกด้วยนั้น พอถือว่าเป็๋นหลักฐานที่สามีอนุญาต
ทนายโจทก์ที่ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องนั้น แม้จะยื่นในชื่อของทนายเองก็ใช้ได้ เพราะเป็นการทำการแทนโจทก์

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องว่า จำเลยได้สมรสกับ ต.บุตรสาวโจทก์ ต.มีสินเดิมหลายอย่าง โจทก์ได้ออกเงินทดรองเซ้งห้องให้ ต.และโจทก์ได้ฝากเงินไว้กับจำเลยและ ต.กับผ้า ๓ ไม้ ต.ตาย จำเลยไม่ยอมชำระและไม่ยอมแบ่งมรดก ต.มีคำขอท้ายฟ้องให้จำลเยคืนค่าเซ้งห้องและเงินฝากกับส่นมรดก ต. ๒๓๑๗ บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ย ถ้าสินเดิมของ ต.หมดไปแล้วก็ขอให้หักสินสมรสใช้และหักสินเดิมใช้หนี้เงินฝากแก่โจทก์ ผู้ร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมอ้างว่าเป็นสามีโจทก์และบิดา ต. มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากจำเลยและรับมรดก ต. จำเลยต่อสู้หลายประการ
ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกับศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า ต.มีสินเดิมดังโจทก์ว่า จำเลยมีสินเดิม ๑,๐๐๐ บาท สินสมรสมีบางอย่าง โจทก์ฝากเงินไว้ ๓,๙๒๗ บาทและเป็นเจ้าหนี้ค่าเซ้งห้อง ๔,๐๐๐ บาท ที่จำเลยว่าดจทก์เอาของในร้านไป ไม่วินิจฉัยเพราะจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง พิพากษาให้ขายทอดตลาดสินสมรส หักใช้หนี้เงินฝมกและค่าเซ้งห้องถ้าไม่พอให้จำลเยใช้ ถ้าเหลือให้หักเงินใช้สินเดิมของต. และจำเลย เหลืออีกเท่าใดให้แบ่งให้ ต. และจำเลยคนละครึ่ง รวมมรดก ต.แบ่งเป็น ๔ ส่วน ให้โจทก์ ๒ คน ๆ ละส่วน จำเลยได้ ๑ ส่น อีกส่วนหนึ่งเป็นของบุตร ต. ซึ่ง ขายตกได้แก่จำเลย
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า (๑) เป็นคดีเกี่ยวกับเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามมาตรา ๑๔๖๙ โจทก์ผู้เป็นหญิงมีสามีจะฟ้องได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสามี เพราะไม่เข้าข้อยกเว้น แต่ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา ๕๖ ไม่ได้กำหนดวิธีให้อนุญาตหรือแบบแห่งคำอนุญาต จึงเพยีงแต่ให้มีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความว่า สามีอนุญาตก็พอ เห็นว่าคำร้องสอดของผู้ร้องที่ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม เป็นหลักฐานเพียงพอแล้ว
๒ เรื่องสินเดิมศาลล่างฟังมาชอบแล้ว
๓ คำร้องเพิ่มเติมฟ้องที่ทนายโจทก์ยื่มนั้น แม้จะยื่นในชื่อของทนายแทนที่ที่จะยื่นในชื่อของตัวโจทก์ก็ใช้ได้ เพราะเป็นเรื่องทำแทนตัวโจทก์ และ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา ๑(๑๑) ให้ถือว่า ทนายของคู่ความเป็นคู่ความด้วย
๔ ค่าเซ้งห้อง โจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เช่าห้องคนเดิมไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ให้ ต.หรือจำเลย จึงไม่ใช่สัญญายืม และไม่ต้องด้วย ป.ม.แพ่งฯมาตรา ๖๕๓ ที่ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
๕. เรื่องผ้าโจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาจึงยุติ ส่วนเรื่องเงินฝากนั้น ปรากฏบัญขีที่ ต.จดไว้ว่า “ส่วนของแม่ให้ขอยืม” ไม่ใช้เรื่องฝากดังโจทก์ฟ้อง ทั้งเชื่อว่า คงให้ยืมเป็นทุน เมื่อเป็นการยืมต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่ ต.และจำเลยไม่ได้ลงนามในเอกสารนี้ จึงบังคับไม่ได้ ข้อความต่อมามีอีกว่า ฝากไว้อีกหนึ่งร้อย จึงฟังได้ฝากเพียงร้อยบาท
๖. ตามฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ให้จำเลยรับผิดในค่าเซ้งและเงินฝากเป็นส่วนตัวด้วย ที่ศาลให้สินสมรสทั้งหมดรับผิดในการชำระหนี้ เป็นผลดีแก่จำเลยอยู่แล้ว
พิพากษาแก้เฉพาะหนี้เงินฝาก ให้เป็นเพียง ๑๐๐ บาท

Share